คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2511 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ปิดแสตมป์ ไม่เป็นหลักฐานทางแพ่ง, รื้อฟ้องคดีซ้ำต้องห้าม
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่ สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาดโจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิด ตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ยกฟ้องโจทก์เสียได้ เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน แก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อน มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับใน คดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ และการฟ้องซ้ำประเด็นที่ตัดสินแล้วในคดีอาญา
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 9
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดตามจำนวนที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน และอายุความฟ้องร้องหนี้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 บัญญัติว่า"ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม" สัญญาค้ำประกันมิได้มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนจึงเป็นนิติกรรมธรรมดา แม้สหกรณ์โจทก์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ค้ำประกันยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน ส่วนการที่จะให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกันนั้น ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันมาเป็นพยานหลักฐานอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดเต็มตามจำนวนที่ฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ แล้วทำเรื่องราวขอกู้เงินฉุกเฉินจากโจทก์ในนามของสมาชิกดังกล่าวรวมหลายคราวเป็นเงิน 728,070 บาทซึ่งโจทก์หลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของสมาชิกจริงจึงอนุมัติจ่ายให้ไป คำฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอเพียงแล้ว จำเลยที่ 1 จะปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ด้วยวิธีใด หลักฐานการปลอมแปลงมีหรือไม่และมีการตรวจสอบไปแล้วเพียงใดเป็นเรื่องรายละเอียด ไม่จำต้องบรรยายมา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกคืน และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.