คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 343 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: การกระทำความผิดสำเร็จหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย
การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนไม่จำเป็นที่จำเลยที่ 1 จะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้นทุกครั้งเป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จำเลยที่ 1 แสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคน แต่เป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาให้จำเลยที่ 1 กู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว ข้อสำคัญที่ทำให้ความผิดสำเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูกหลอกลวง ดังนั้นการที่ผู้เสียหายแต่ละคนนำเงินมาให้กู้ยืมและจำเลยที่ 1 รับไว้ ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษจากยักยอกเป็นฉ้อโกงโดยไม่ชอบตามกฎหมาย และการพิจารณาประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์
โจทก์ บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้เสียหายโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกศาลลงโทษฐานยักยอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคหนึ่งจำคุก3ปีโจทก์ไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกดังนี้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีตามอุทธรณ์ของจำเลยเพียงว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอกหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนและการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343วรรคแรกให้จำคุก3ปีตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับบทลงโทษจำเลยว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดีคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค3พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243และ247ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดจากยักยอกเป็นฉ้อโกงประชาชน เกินกรอบการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 343 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้เสียหายโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกศาลลงโทษฐานยักยอกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคหนึ่ง จำคุก 3 ปี โจทก์ไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีตามอุทธรณ์ของจำเลย เพียงว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอกหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นการ-หลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนและการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก ให้จำคุก 3 ปีตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับบทลงโทษจำเลยว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี คดีนี้จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 และ 247ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนจากการหลอกลวงจัดหางาน แม้ไม่มีเจตนาจัดหางาน ก็ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยร่วมกับพวกชักชวนชาวบ้านให้ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียรับสมัครคนงานโดยเรียกค่าบริการและรับเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายคนละ 1,000 บาท ถึง 3,000 บาท โดยจำเลยกับพวกให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายกับพวกเดิน ทางไปทำงานแล้วไปปล่อยทิ้งไว้ที่จังหวัดยะลาโดยไม่มีงานในประเทศมาเลเซียที่จะให้ไปทำจริงดัง ที่ประกาศชักชวน การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 343วรรคหนึ่ง สภาพของความผิดที่จำเลยได้กระทำไปเป็นที่เห็นได้ว่าผู้กระทำผิดจะต้องเห็นได้ล่วงหน้าว่าเป็นการก่อให้เกิดความเดือด ร้อนเป็นทวีคูณแก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ซึ่งไม่มีงานทำอันเป็นความเดือด ร้อนอยู่แล้ว การแสวงหาผลประโยชน์โดยสุจริตที่อาศัยโอกาสจากการต้องการงานทำของผู้ว่างงานมาเป็นช่องทางให้กระทำสำเร็จได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุอันควรปราณีให้รอการลงโทษ คำฟ้องของโจทก์แม้จะได้บรรยายไว้ในตอนแรกว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยเรียกรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียนตามกฎหมายก็ตาม แต่ในคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในตอนต่อมากลับกล่าวว่า "จำเลยทั้งสามกับพวกไม่ได้มีเจตนาและไม่มีความสามารถที่จะติดต่อผู้ใดไปทำงาน..." เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาจัดหางานอันถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนากระทำความผิดสำหรับฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิด ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 ได้.