คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ม. 45

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฟอกเงินของเจ้าพนักงาน กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และฐานส่วนตัว โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน
จำเลยเป็นเจ้าอาวาสวัด ล. ซึ่งตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 บัญญัติให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความใน ป.อ. เมื่อจำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ล. ร่วมกับ น. เบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินโดยทุจริต และร่วมกระทำความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ราชการกระทำความผิด อันเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความในมาตรา 5 (1) (2) และมาตรา 9 ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จำเลยจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ทั้งนี้ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่จัดการทรัพย์สินเบียดบังเงินบริจาค – อำนาจฟ้อง – เหตุบรรเทาโทษ
แม้จำเลยเป็นเจ้าอาวาสของโจทก์ร่วมและได้รับเงินเดือนประจำที่เรียกว่านิตยภัตจากเงินงบประมาณของรัฐ แต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนประจำที่จะถือว่าเป็น "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งเจ้าอาวาสไม่อยู่ในความหมายดังกล่าว และในปัจจุบันวัดจัดตั้งขึ้นโดยวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ซึ่งกำหนดให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทน แต่ก็มีอำนาจอย่างจำกัดตามมาตรา 37 เฉพาะในการบำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม และอื่นๆ อันเป็นกิจการของสงฆ์โดยเฉพาะ ส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมการศาสนาและกระทรวงศึกษาธิการ วัดจึงหาใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ไม่ว่าในตำแหน่งเจ้าอาวาสหรือในตำแหน่งอื่นใดก็ตาม จึงหาได้อยู่ในความหมายของคำจำกัดความว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ส่วน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 45 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา" ก็เป็นเรื่องเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้นำบทบัญญัติลักษณะความผิดเกี่ยวกับการปกครองตามประมวลกฎหมายที่ต้องการให้นำบทบัญญัติลักษณะความผิดเกี่ยวกับการปกครองตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับแก่พระภิกษุบางตำแหน่งเท่านั้น และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และฉบับปัจจุบันบัญญัติให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขึ้น โดยบัญญัติถึงกระบวนการสอบสวนเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้เป็นกรณีพิเศษโดยใช้วิธีการไต่สวนเท่านั้น บุคคลอื่นๆ คงใช้กระบวนการสอบสวนตามปกติตาม ป.วิ.อ. ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนมิได้ส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
มาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) กำหนดให้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือนับตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนั้น ข้อความในมาตรา 233 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ แต่การที่จำเลยตอบคำถามก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยย่อมไม่อาจคาดหมายได้ว่าคำเบิกความของตนจะใช้รับฟังลงโทษตนเองได้ บทบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นโทษแก่จำเลย จึงไม่อาจมีผลย้อนหลัง และถือไม่ได้ว่าโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในมาตรา 40 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ข้อ 5 บัญญัติให้การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกิน 3,000 บาท ขึ้นไปให้เก็บรักษาโดยฝากกรมการศาสนา จังหวัด อำเภอ หรือธนาคาร หรือนิติบุคคลที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ให้ฝากในนามของวัด ดังนั้น การฝากเงินของวัดคือโจทก์ร่วมต้องฝากในนามของโจทก์ร่วมเท่านั้น หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวโดยเจตนาก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 ได้ ส่วนการจัดการทรัพย์สินของวัดก็ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเป็นสำคัญ แต่การนำเงินค่าผาติกรรมซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมอย่างหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของโจทก์ร่วม โดยมิได้เบียดบังเป็นของตนเองหรือผู้อื่น การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการใช้เงินผิดไปจากมติมหาเถรสมาคม หรือเป็นการใช้เงินผิดระเบียบเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการ (อนุโมทนาบัตร) และหนังสือราชการ มีความผิดหลายกระทง
ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบใจหรืออนุโมทนาบัตร พ.ศ. 2523 ข้อ 3 ระบุว่าเมื่อมีผู้บริจาคทรัพย์สินแก่วัดให้เจ้าอาวาสหรืออธิบดีเจ้าสังกัดตอบขอบใจหรืออนุโมทนา เห็นได้ว่าการออกอนุโมทนาบัตรจะต้องออกโดยเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ซึ่ง ป.อ. มาตรา 1 (8) ระบุว่า "เอกสารราชการ" หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายรวมถึงสำเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย และตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 บัญญัติไว้ให้ไวยาวัจกรและเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้นอนุโมทนาบัตรจึงเป็นเอกสารราชการ
การกระทำของจำเลยที่กรอกข้อความลงในแบบอนุโมทนาบัตรจำนวน 38 ฉบับ กับปลอมหนังสือราชการของจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดร้อยเอ็ดรวม 3 ฉบับ เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำ หลายกรรมและผิดต่อกฎหมายรวม 41 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายเลียนแบบพระภิกษุ และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าอาวาส มีความผิดทางอาญาและกฎหมายคณะสงฆ์
คณะสงฆ์ผู้พิจารณาชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยให้จำเลยสึกจากการเป็นพระภิกษุ จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะสงฆ์ การยื่นอุทธรณ์จะกระทำโดยชอบหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งได้สึกจากการเป็นพระภิกษุไปแล้ว กลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก การที่จำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุ และไม่ยอมออกไปจากวัดตามคำสั่งของเจ้าอาวาสวัดดังกล่าว จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 208, 368 วรรคแรก พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 38 (1), 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าอาวาส ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
คณะสงฆ์ผู้พิจารณาชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยให้จำเลยลึกจากการเป็นพระภิกษุจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะสงฆ์การยื่นอุทธรณ์จะกระทำโดยชอบหรือไม่ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งได้ลึกจากการเป็นพระภิกษุไปแล้วกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีกการที่จำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุและไม่ยอมออกไปจากวัดตามคำสั่งของเจ้าอาวาสวัดดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา208,368วรรคแรกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา38(1),45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีของไวยาวัจกร: ผู้แทนวัดที่แท้จริงคือเจ้าอาวาส
วัดจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นตัวความ ดังนั้น ผู้ที่จะว่าความด้วยตนเองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของวัดจำเลยที่ 1 หรือจะตั้งแต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนวัดจำเลยที่ 1 ได้ก็คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 ส่วนไวยาวัจกรของวัดจำเลยที่ 1 นั้น ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 8(พ.ศ. 2506) ข้อ 3 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 45 เป็นคฤหัสถ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเจ้าอาวาสของวัดให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด หาได้เป็นผู้แทนของวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จะมีอำนาจว่าความด้วยตนเองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนวัดได้เพราะได้รับยกเว้นตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าอาวาสของพระภิกษุ ถือเป็นความผิดอาญาตามกฎหมาย
พระภิกษุจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส เวลาไปไหนไม่ลาเจ้าอาวาส นำบุคคลภายนอกและพระภิกษุวัดอื่นมาพำนักในกุฏิจำเลยโดยไม่บอกเจ้าอาวาสไม่ปฏิบัติกิจทางสงฆ์ตามที่เจ้าอาวาสบอก เจ้าอาวาสจึงออกคำสั่งให้จำเลยออกไปจากวัดภายใน 5 วัน จำเลยทราบแล้ว ครบกำหนดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าอาวาสของพระภิกษุ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
พระภิกษุจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส เวลาไปไหนไม่ลาเจ้าอาวาส นำบุคคลภายนอกและพระภิกษุวัดอื่นมาพำนักในกุฏิจำเลยโดยไม่บอกเจ้าอาวาสไม่ปฏิบัติกิจทางสงฆ์ตามที่เจ้าอาวาสบอก เจ้าอาวาสจึงออกคำสั่งให้จำเลยออกไปจากวัดภายใน 5 วัน จำเลยทราบแล้ว ครบกำหนดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนอธิกรณ์พระสงฆ์และการสั่งให้พระภิกษุออกจากวัด ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อความสงบสุขในวัด ไม่เป็นความผิดอาญา
โจทก์เป็นพระภิกษุในวัดที่จำเลยเป็นเจ้าอาวาส โจทก์ถูกกล่าวหาว่าได้เสพเมถุนธรรมกับหญิง จำเลยได้ตั้งกรรมการทำการสอบสวนโดยจำเลยเป็นประธานกรรมการ แม้ในการสอบสวนจำเลยจะทำการสอบสวนผู้กล่าวหาซึ่งเป็นพระภิกษุสามเณรพร้อม ๆ กัน ลับหลังโจทก์ โดยอนุญาตให้พระภิกษุบางองค์ตอบแทนกัน และไม่เรียกพยานของโจทก์มาทำการสอบสวน อันเป็นการไม่ต้องด้วยพระธรรมวินัย ระเบียบบังคับ และกฎของมหาเถรสมาคม และในที่สุดจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัดโดยที่การสอบสวนไม่ได้ความชัดว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นเรื่องผิดระเบียบการสอบสวนเท่านั้น และการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัด โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็เพื่อให้มีความสงบสุขในวัด มิใช่จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสในการสั่งออกจากวัดและการสอบสวนที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นพระภิกษุในวัดที่จำเลยเป็นเจ้าอาวาส โจทก์ถูกกล่าวหาว่าได้เสพเมถุนธรรมกับหญิง จำเลยได้ตั้งกรรมการทำการสอบสวนโดยจำเลยเป็นประธานกรรมการ แม้ในการสอบสวนจำเลยจะทำการสอบสวนผู้กล่าวหาซึ่งเป็นพระภิกษุสามเณรพร้อม ๆกันลับหลังโจทก์โดยอนุญาตให้พระภิกษุบางองค์ตอบแทนกัน และไม่เรียกพยานของโจทก์มาทำการสอบสวนอันเป็นการไม่ต้องด้วยพระธรรมวินัย ระเบียบบังคับ และกฎของมหาเถรสมาคมและในที่สุดจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัดโดยที่การสอบสวนไม่ได้ความชัดว่า โจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นเรื่องผิดระเบียบการสอบสวนเท่านั้น และการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัด โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็เพื่อให้มีความสงบสุขในวัด มิใช่จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
of 2