คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1745

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีแบ่งแยกที่ดิน ศาลฎีกาให้จำกัดสิทธิส่วนแบ่งให้เป็นไปตามคำขอเดิม
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่คนละ 80 ตารางวา การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 2 งาน ตามที่โจทก์ที่ 1 ปลูกสร้างบ้านอยู่และพิพากษายกฟ้องโจทก์คนอื่น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งที่ดินไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 1 ขอตามคำฟ้อง แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหาย จึงให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินจำนวน 80 ตารางวาส่วนที่ปลูกสร้างบ้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทฟ้องเรียกร้องหนี้สินกองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกอันเป็นการรักษาสิทธิอันจะพึงตกแก่กองมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทฟ้องเรียกหนี้กองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกอันเป็นการรักษาสิทธิอันจะพึงตกแก่กองมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4412/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนที่ดินโดยอ้างแทนมารดาและการสิทธิในกองมรดก: การนำสืบพยานและอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทบางส่วนโดยอ้างว่าจำเลยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ซ. เป็นการรับโอนแทนมารดาโจทก์บางส่วน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ส่วนการที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่แสดงในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นดีกว่าคนอื่นเท่านั้น มิใช่การทำนิติกรรมแต่อย่างใด โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลตามข้ออ้างของตนได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การเป็นตัวการตัวแทนไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทแทนมารดาโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปด้วยความตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมารดาโจทก์ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมใช้สิทธิเรียกร้องนั้นได้ในฐานะผู้รับมรดก การนำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เมื่อ ย. มารดาโจทก์ตายทรัพย์สินของ ย. ย่อมเป็นกองมรดกตกทอดแก่ทายาท ทายาททุกคนของ ย. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินของ ย. หากทรัพย์สินอันเป็นมรดกไปอยู่กับผู้ไม่มีสิทธิทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ในนามของตนเองทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบ มาตรา 1359 แต่ในระหว่างทายาทด้วยกันใครจะได้รับทรัพย์มรดกเท่าใดเป็นเรื่องภายในหมู่ทายาทกันเอง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างตัดสิทธิเรียกทรัพย์มรดกคืนเพื่อนำไปแบ่งปันทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท ออกเช็คแล้วไม่จ่าย ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ซ. มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกแล้วนำมาแบ่งให้แก่ทายาทของ ซ. เมื่อบรรดาทายาทได้ตกลงกันให้จำเลยขายที่ดินทรัพย์มรดก จำเลยขายได้แล้วจึงออกเช็คสั่งจ่ายเงินส่วนแบ่งล่วงหน้าให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของ ซ. ตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมแบ่งเงินที่ขายทรัพย์มรดกได้ให้แก่ผู้เสียหายและบรรดาทายาทของ ซ.และแม้จะปรากฏว่ายังมีที่ดินมรดกอีกส่วนหนึ่งยังขายไม่ได้แต่ก็ปรากฏว่า เมื่อจำเลยตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่บรรดาพี่น้องที่เป็นชายเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ผู้เสียหายและพี่น้องจึงไม่ติดใจทรัพย์มรดกส่วนนั้น ซึ่งหมายความว่าพร้อมใจกันยกให้แก่จำเลยนั่นเอง การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกขายทรัพย์มรดกได้แล้วตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ผู้เสียหายแล้ว และเมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะแบ่งให้แก่ผู้เสียหาย ดังนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คจากการไม่จ่ายเงินตามเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้จากการขายทรัพย์มรดก
จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ซ. จึงมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกแล้วนำมาแบ่งให้แก่ทายาทของ ซ. เมื่อบรรดาทายาทได้ตกลงกันให้จำเลยขายที่ดินทรัพย์มรดก จำเลยขายมาได้แล้วจึงออกเช็คสั่งจ่ายเงินส่วนแบ่งล่วงหน้าให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของ ซ. ตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมแบ่งเงินที่ขายทรัพย์มรดกได้ให้แก่ผู้เสียหายและบรรดาทายาทของ ซ. และแม้จะปรากฏว่ายังมีที่ดินมรดกอีกส่วนหนึ่งยังขายไม่ได้ แต่ก็ได้ปรากฏว่า เมื่อจำเลยตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่บรรดาพี่น้องที่เป็นชายเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ผู้เสียหายและพี่น้องจึงไม่ติดใจทรัพย์มรดกส่วนนั้น ซึ่งหมายความว่าพร้อมใจกันยกให้แก่จำเลยนั่นเอง การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดก ขายทรัพย์มรดกได้แล้วตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ผู้เสียหายแล้ว เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะแบ่งให้แก่ผู้เสียหายอย่างใดไม่ดังนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307-5308/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องบังคับให้โอนทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของทายาทที่ผิดสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินมัดจำส่วนเกิน
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อผ. เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2แล้วก็ตามแต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทเหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนองจึงถือว่าจำเลยที่1และที่2ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเมื่อจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ซึ่งเป็นทายาทของศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ให้แก่โจทก์ได้แต่สำหรับจำเลยที่1ถึงที่3และที่6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่1ถึงที่3และที่6 ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผ.มี8คนคือจำเลยทั้งแปดที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น8ส่วนจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ได้คนละ1ส่วนจึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท4ส่วนใน8ส่วนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก และสิทธิของทายาทในการเรียกร้องทรัพย์มรดก
ในกรณีที่มี ทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้ แบ่งมรดกกันเสร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1745และมาตราดังกล่าวให้นำมาตรา1356ถึงมาตรา1366มาบังคับโดยไม่ขัดกับบทบัญญัติในบรรพ6ซึ่งตามมาตรา1363ก็บัญญัติให้สิทธิเจ้าของร่วมคนหนึ่งมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์ได้ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็น ทายาทจึงมีหน้าที่ต้องบอกทรัพย์มรดกตามที่รู้ทั้งหมดแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา1735แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของร่วมอยู่จำเลยก็ยังมิได้เป็นเจ้าของโดยเฉพาะเจาะจงและทายาทอื่นมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์ได้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยให้ส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมและส่งมอบใบจองกับโฉนดที่ดินเพื่อโจทก์จะนำไปแบ่งปันให้ทายาทต่อไปได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบการถือครองที่ดินและเอกสารใบจองและโฉนดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์เพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไปแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยแต่ก็ถือได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาที่ดินและใบจองกับโฉนดที่ดินจากจำเลยหรือจำเลยไม่ต้องส่งมอบใบจองและโฉนดที่ดินให้โจทก์เท่านั้นจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มิใช่เป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6818/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำสัญญาซื้อขายของภริยาผู้ตาย: สัญญาไม่ผูกพันกองมรดกหากไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดก
สัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาระหว่างนาย ฤ.โดยนาง บ. (จำเลยที่ 1) ผู้จะขายกับโจทก์ผู้จะซื้อ และข้อ 2.2 วรรคสองระบุว่าผู้จะขายตกลงไปขอจัดตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลเพื่อจะโอนที่ดินที่จะขายให้แสดงว่าโจทก์ทราบดีขณะทำสัญญาว่านาย ฤ. เจ้าของที่ดินถึงแก่กรรมแล้ว ดังนั้นการจัดการทรัพย์มรดกจะต้องทำโดยผู้จัดการมรดก จึงจะมีผลผูกพันกองมรดก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นภริยาของนาย ฤ. แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดก ไม่มีอำนาจทำสัญญารายพิพาทแทนนาย ฤ. ทั้งจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ทำในฐานะส่วนตัวก็ไม่ได้เพราะสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่าทำแทนนาย ฤ. สัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวหรือกองมรดกของนาย ฤ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6818/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหลังเจ้าของเสียชีวิต สัญญาไม่ผูกพันกองมรดก หากผู้ทำสัญญาไม่ใช่ผู้จัดการมรดก
สัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาระหว่างนายฤ.โดยนาง บ. (จำเลยที่ 1) ผู้จะขายกับโจทก์ผู้จะซื้อ และข้อ 2.2 วรรคสอง ระบุว่าผู้จะขายตกลงไปขอจัดตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลเพื่อจะโอนที่ดินที่จะขายให้แสดงว่าโจทก์ทราบดีขณะทำสัญญาว่านาย ฤ. เจ้าของที่ดินถึงแก่กรรมแล้ว ดังนั้นการจัดการทรัพย์มรดกจะต้องทำโดยผู้จัดการมรดก จึงจะมีผลผูกพันกองมรดก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นภริยาของนาย ฤ. แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจทำสัญญารายพิพาทแทนนาย ฤ. ทั้งจะฟังว่าจำเลยที่ 1ทำในฐานะส่วนตัวก็ไม่ได้ เพราะสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่าทำแทนนายฤ.สัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวหรือกองมรดกของนาย ฤ.
of 10