คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1745

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6694/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก: ไม่เข้าข่ายกรรมสิทธิ์รวม
พ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. จึงมีอำนาจขายบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเอาเงินมาแบ่งให้ทายาทได้ มิใช่เป็นเรื่องตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1745 ซึ่งต้องนำมาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 ในเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6694/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก: ไม่ต้องใช้บทบัญญัติเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
พ.เป็นผู้จัดการมรดกของส. จึงมีอำนาจขายบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเอาเงินมาแบ่งให้ทายาทได้ มิใช่เป็นเรื่องตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745ซึ่งต้องนำมาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 ในเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6008/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อม แม้มิใช่ทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 นั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงไม่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นมารดาของ ส. และเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส.ส่วนส.ก็เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของธ. ผู้ตาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของธ.ที่จะตกได้แก่ส. และยังมิได้แบ่งปันกัน อันต้องถือว่าเป็นทรัพย์มรดกที่ทายาทยังมีสิทธิร่วมกันอยู่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองมรดก การขายทรัพย์ส่วนหนึ่ง และสิทธิในการแบ่งทรัพย์ของทายาทที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตร กับจำเลยที่ 2 และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นหลาน โดยโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้น เมื่อเจ้ามรดกตายที่พิพาทจึงตกได้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขอออก น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาท โดยใส่ชื่อจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้รับมรดกคนหนึ่งและเป็นพี่ของโจทก์ทั้งสองร่วมด้วย อันเป็นการเข้ารับมรดกแสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่พิพาทในฐานะทายาทตามพินัยกรรมและเป็นการเข้าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจึงยังคงเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกัน การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการขายเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1และที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 3 ได้สิทธิไปเท่าที่จำเลยที่ 1 และที่ 2มีอยู่การครอบครองที่พิพาทในส่วนของโจทก์ทั้งสองจะถือว่าเป็นการแย่งการครอบครองไม่ได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์นั้นได้และจะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของทายาทในการบังคับแบ่งทรัพย์มรดก แม้ผู้จัดการมรดกทำสัญญาจะขายทรัพย์สินไปแล้ว
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเพียงทำสัญญาจะขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับมรดกจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: สัญญาจะขายที่ดินยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ ทายาทมีสิทธิฟ้อง
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเพียงทำสัญญาจะขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับมรดกจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การเพิกถอนสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวม
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กับบุตรคนอื่นรวม 8 คนซึ่งเป็นทายาท การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวครอบครองที่ดินต่อมา ต้องถือว่าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่น จะครอบครองนานเท่าใดก็หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่ คำสั่งศาลในคดีแพ่งที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินโฉนดดังกล่าวทั้งแปลงไปให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อ โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1361 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตสัญญานั้นก็ไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ แม้โจทก์ทั้งสองกำลังฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยที่ 1 และศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ก็ตามแต่ที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตาย โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 มิใช่นับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในมรดก การเพิกถอนสัญญาเช่าซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กับบุตรคนอื่นรวม 8 คน ซึ่งเป็นทายาทการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวครอบครองที่ดินต่อมา ถือว่าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่น แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่ คำสั่งศาลในคดีแพ่งที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงไปให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อ โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตสัญญานั้นก็ไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ แม้โจทก์ทั้งสองกำลังฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยที่ 1และศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่ที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตายโจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 มิใช่นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องคดีมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผลกระทบต่ออายุความของทายาทโดยพินัยกรรม
การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วจึงยื่นคำร้องขอจัดการมรดกที่ดินพิพาท ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าว ถือได้ว่าครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754วรรคท้าย มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยพินัยกรรมของเจ้ามรดกหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองร่วม สิทธิในการขอออกโฉนดที่ดิน และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์ที่ 1 กับพวกและจำเลยเป็นทายาทของ พ.เมื่อพ. ตายจำเลยยื่นคำร้องขอรับมรดกในที่ดินพิพาท แต่ถูกโจทก์ที่ 1 กับพวกคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินให้คู่กรณีไปฟ้องร้องกันภายใน 60 วันเพราะตกลงกันไม่ได้ จำเลยมิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดจนเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 กับพวกและจำเลยเป็นผู้รับมรดกของ พ. ร่วมกัน ดังนี้ แม้จำเลยจะอยู่ในที่พิพาทตลอดมาก็แสดงว่าจำเลยยอมละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 วรรคแรก โจทก์ที่ 1 กับพวกมีสิทธิร่วมกับจำเลยในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ที่ 1 กับพวกขอออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะจำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วย ย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่ 1 กับพวกถูกกระทบกระเทือน และจำเลยมีหน้าที่ต้องอนุมัตตามความต้องการของเจ้าของส่วนข้างมาก โจทก์ที่ 1 มีสิทธิฟ้องขอให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยได้.
of 10