คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1745

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการเรียกร้องสิทธิในส่วนแบ่งมรดกของทายาท
จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกและครอบครองต่อมา ถือว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยโจทก์ทายาทคนหนึ่งฟ้องคดีเรียกร้องให้แบ่งที่ดินพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่โจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ดังนี้ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนรับโอนที่ดินแปลงพิพาทมาเป็นของตน ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยแจ้งเจตนาของตนให้โจทก์ทราบ ย่อมไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381จึงไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองเหนือที่ดินแปลงพิพาทส่วนของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกสินสมรสหลังการเสียชีวิต โดยพิจารณาจากสัดส่วนสินสมรสและส่วนแบ่งทายาท
จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินที่ได้มาระหว่างที่จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายม้วน เมื่อนายม้วนตายต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งจำเลยได้ 1 ส่วน นายม้วนได้ 2 ส่วน ส่วนของนายม้วนตกแก่ทายาททั้งหมดคือจำเลยในฐานะภริยาและทายาทอื่นรวมทั้งหมด 8 คน
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยไม่มีพินัยกรรม: สิทธิทายาทในหุ้นและทรัพย์สิน, วิธีการประมูล/ขายทอดตลาด
ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม หุ้นที่ดินและบ้านในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกเป็นของทายาทในทันทีการโอนหุ้นอันเป็นทรัพย์มรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 มาตรา 1132 และข้อบังคับของบริษัทฯ มิได้ห้ามโอนไว้จำเลยซึ่งเป็นภริยาผู้ตายและเป็นผู้จัดการมรดกจึงต้องโอนหุ้นให้โจทก์บิดาผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมตามส่วน จำเลยจะขอให้โจทก์รับหุ้นที่เป็นตัวเงินตามมูลค่าหุ้นหาได้ไม่ ส่วนการแบ่งทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและบ้าน ชอบที่จะให้ทายาทประมูลกันเองก่อน ได้เงินสุทธิเท่าใดก็แบ่งให้โจทก์ตามส่วนหากไม่อาจประมูลกันได้ในระหว่างทายาทให้นำออกขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินให้โจทก์ตามส่วนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364,1745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและยังไม่ได้แบ่งปัน ทำให้คดีไม่ขาดอายุความแม้ฟ้องเกิน 1 ปี
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ตกลงเรื่องทรัพย์มรดกโดยให้ขายที่ดินบางส่วนนำเงินมาทำศพเจ้ามรดกนอกจากนี้บุตรโจทก์ก็ได้เข้าไปไถที่นามรดก ถือได้ว่าโจทก์ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกกับจำเลย โดยยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกกันเป็นสัดส่วน แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844-1845/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินด้วยหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิการรับมรดก
เจ้ามรดกยกที่นาพิพาทให้โจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนโอนที่อำเภอ หนังสือมอบอำนาจมีลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดก แต่เจ้ามรดกผู้มอบอำนาจมิได้พิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเจ้ามรดกมิได้พิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำนิติกรรม การมอบอำนาจและการทำนิติกรรมโอนที่นาพิพาทให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบ นาพิพาทเป็นทรัพย์ที่ยังไม่ได้แบ่ง โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยคนหนึ่งไม่ได้ และจำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวเสียได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก & การละเมิดจากทายาท การครอบครองทรัพย์มรดกโดยไม่ยินยอม
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ และการละเมิดสิทธิในทรัพย์มรดก
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทร่วมกันและการแบ่งมรดกโดยอายุความไม่ตัดสิทธิ
หลังจากเจ้ามรดกตายโจทก์และมารดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ร่วมกันครอบครองที่มรดกระยะหนึ่ง แม้โจทก์จะออกจากที่พิพาทไปนานเท่าใดก็ถือว่ามารดาจำเลยครอบครองแทนโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงอยู่ในฐานะเดียวกับมารดา ถือว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทร่วมกันและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าว โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งตนเป็นเจ้าของรวมได้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทร่วมและการระงับอายุความในคดีแบ่งมรดก
หลังจากเจ้ามรดกตายโจทก์และมารดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ร่วมกันครอบครองที่มรดกระยะหนึ่ง แม้โจทก์จะออกจากที่พิพาทไปนานเท่าใดก็ถือว่ามารดาจำเลยครอบครองแทนโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงอยู่ในฐานะเดียวกับมารดา ถือว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทร่วมกันและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าว โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งตนเป็นเจ้าของรวมได้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องร้อง
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ทั้งสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินในกองมรดกซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดกถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่พิพาทนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ดังนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจึงจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทจากจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2528)
of 10