คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1745

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องขับไล่หลังประมูลทอดตลาด: สิทธิของเจ้าของรวมที่ประมูลได้ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้บุกรุก แม้ยังไม่วางเงินส่วนได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะส่วนตัวประมูลซื้อที่ดินพิพาทซึ่งตนถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ได้โดยสุจริตจากการประมูลระหว่างทายาทตามคำสั่งศาล แม้ศาลยังมิได้จัดการโอนทะเบียนมาเป็นชื่อโจทก์ก็ตาม โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกทายาทซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่นๆ ได้ ส่วนการวางเงินส่วนได้ของจำเลยเนื่องจากการประมูลขายทอดตลาดนั้นโจทก์จะวางก่อนหรือหลังจากที่ฟ้องขับไล่จำเลย ก็ไม่กระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์มรดก: ทายาทมีสิทธิแม้ไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่กรณีตามมาตรา 1382, 1383
โจทก์เป็นบุตรของ ร. ซึ่งเกิดจาก ส. มารดา ก่อนส. ถึงแก่กรรม ส. ได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ ร. และโจทก์ โดยระบุให้ ร. เป็นผู้จัดการมรดก ต่อมา ร. สมรสกับจำเลย และ ร. ได้ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่พิพาทไว้ในฐานะผู้จัดการมรดก ก่อน ร. ถึงแก่กรรม ร. ไม่ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ เพียงแต่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาว่าจะแบ่งทรัพย์ของตนให้แก่บุตร และให้โจทก์ลงชื่อไว้ในหนังสือด้วยเท่านั้น แล้ว ร. ได้จดทะเบียนยกที่พิพาทให้จำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวในส่วนที่เป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาส่วนของตนคืนได้เสมอ โดยไม่มีอายุความฟ้องร้อง เว้นแต่กรณีจะต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382, 1383 ฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล และมิใช่คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาซื้อหุ้น และการรับผิดในหนี้สิน กรณีผู้กู้ตัวจริงไม่ใช่ผู้ลงนามในสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญารู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส.ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ.ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพรางจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสารโดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางและเจตนาลวงในสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน การพิสูจน์เพื่อแสดงเจตนาที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญากู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส. ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ. ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้ แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพราง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสาร โดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการแบ่งค่าเช่าทรัพย์มรดกแก่ทายาท โดยมิพักรอการจัดการมรดกให้เสร็จสิ้น
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตายมรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนดผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ. มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย. มารดาของ ซ . ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย. คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิในที่ดิน, ค่าเช่า, และการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตาย มรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนด ผู้จัดการมรดกของ ฮ.มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ.มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย.มารดาของ ซซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย.คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย.ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย.ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย.ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาท ทายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของ ย.ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ.ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดก ย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ.จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1755 เมื่อ ซ.มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ.ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ.เป็นการกระทำแทน ซ.หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ.เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่า ซ.ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของ ย.เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว จึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่ง จะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ.ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิม ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479, 1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคน การจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ.ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ.ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ยัน ซ.ก็ไม่ได้เพราะ ซ.กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ.จึงยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ.ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแทนทายาทและการห้ามฟ้องซ้ำในคดีจัดการมรดก
การที่ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับการจัดการมรดก ถือว่าเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่น ๆ ด้วย
ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกคนก่อนว่าจัดการมรดกไปด้วยความทุจริต ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้ทายาทกองมรดกนั้นเสียหาย ศาลวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าผู้จัดการมรดกคนเก่านั้นได้กระทำไปด้วยความไม่สุจริตและประมาทเลินเล่อ การที่ผู้จัดการมรดกได้กระทำไปจึงผูกพันกองมรดก คดีถึงที่สุด ต่อมาผู้จัดการมรดกคนใหม่ซึ่งเข้ามาจัดการมรดกแทนผู้จัดการมรดกคนเก่าที่ถูกศาลพิพากษาเพิกถอน ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกคนเก่าในทำนองเดียวกันกับที่ทายาทได้ฟ้องในคดีก่อน และคดีถึงที่สุดแล้วนั้น ถือว่าเป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาฟ้องแทนทายาทอีกเป็นการใช้สิทธิของทายาทซึ่งเป็นตัวการที่ได้ฟ้องไปแล้วนั่นเอง จึงเป็นการฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในฐานะผู้จัดการมรดก: สิทธิของทายาทและการผูกพันของคำพิพากษา
การที่ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับการจัดการมรดก ถือว่าเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่นๆ ด้วย
ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกคนก่อนว่า จัดการมรดกไปด้วยความทุจริตประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้ทายาทกองมรดกนั้นเสียหาย ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าผู้จัดการมรดกคนเก่านั้นได้กระทำไปด้วยความไม่สุจริตและประมาทเลินเล่อการที่ผู้จัดการมรดกได้กระทำไปจึงผูกพันกองมรดกคดีถึงที่สุด ต่อมาผู้จัดการมรดกคนใหม่ซึ่งเข้ามาจัดการมรดกแทนผู้จัดการมรดกคนเก่าที่ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนได้ฟ้องผู้จัดการมรดกคนเก่าในทำนองเดียวกันกับที่ทายาทได้ฟ้องในคดีก่อน และคดีถึงที่สุดแล้วนั้นถือว่าเป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาฟ้องแทนทายาทอีก เป็นการใช้สิทธิของทายาทซึ่งเป็นตัวการที่ได้ฟ้องไปแล้วนั่นเอง จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกต่อเนื่องและการไม่สละสิทธิทำให้ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทย์ฟ้องหลังจากเจ้ามรดกตายหลายปีแล้ว แต่โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมมากับจำเลย ไม่เคยสละสิทธิเลย ดังนี้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ม. 1754.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกต่อเนื่องและการเรียกร้องสิทธิ
โจทก์ฟ้องหลังจากเจ้ามรดกตายหลายปีแล้วแต่โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมมากับจำเลย ไม่เคยสละสิทธิเลยดังนี้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม มาตรา1754
of 10