คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1024

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัท กรณีเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบ
แม้บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) เอกสารหมาย จ.1 ซึ่งตรงกับเอกสารที่แนบท้ายสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเอกสารหมาย จ.11 และตรงกับเอกสารหมาย ล.19 ที่ออกเอกสารวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 และข้อมูลในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นหน้า 44 ระบุว่า ในปี 2561 โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 นอกจากนี้ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการตามมาตรา 1024 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่ไม่เด็ดขาด คู่ความมีสิทธินำสืบหักล้างได้ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายได้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัท อ. มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทำการเปลี่ยนหุ้นในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ย่อมมีผลกระทบต่อจำนวนหุ้นของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการประชุมบริษัทพิสูจน์ไม่ได้ถึงการประชุมจริง อำนาจกรรมการใหม่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ฟ้องร้องเป็นโมฆะ
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1024 จะบัญญัติว่า ในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันก็ดี ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการก็ตาม แต่เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมานั้นมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าไม่มีการประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์ ตามรายงานการประชุมของบริษัท ดังนั้นการที่รายงานการประชุมของบริษัทระบุว่า ที่ประชุมลงมติให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ส.และป.ลาออกจากตำแหน่งกรรมการและแต่งตั้งกรรมการใหม่ 4 คน คือ ฮ. น. จ.และ ช. จึงไม่ถูกต้อง แม้จะมีการนำรายงานการประชุมดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ก็เป็นการไม่ชอบ หาทำให้กรรมการใหม่ทั้งสี่คนดังกล่าวเป็นกรรมการโจทก์ไม่ กรรมการใหม่ดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจบริหารงานของบริษัทโจทก์และกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ การที่ ฮ.และ จ.กรรมการใหม่ร่วมกันลงนามและประทับตราบริษัทโจทก์แต่งตั้ง ร.เป็นทนายความดำเนินการฟ้องร้องคดีนี้ จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้การเปลี่ยนแปลงกรรมการเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024 จะบัญญัติว่าในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันก็ดี ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการก็ตาม แต่เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมานั้นมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าไม่มีการประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์ ตามรายงานการประชุมของบริษัท ดังนั้นการที่รายงานการประชุมของบริษัทระบุว่าที่ประชุมลงมติให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ส. และ ป.ลาออกจากตำแหน่งกรรมการและแต่งตั้งกรรมการใหม่ 4 คนคือ ฮ.น.จ.และช. จึงไม่ถูกต้อง แม้จะมีการนำรายงานการประชุมดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ก็เป็นการไม่ชอบ หาทำให้กรรมการใหม่ทั้งสี่คนดังกล่าวเป็นกรรมการโจทก์ไม่ กรรมการใหม่ดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจบริหารงานของบริษัทโจทก์และกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้การที่ ฮ. และ จ. กรรมการใหม่ร่วมกันลงนามและประทับตราบริษัทโจทก์แต่งตั้ง ร.เป็นทนายความดำเนินการฟ้องร้องคดีนี้จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าหุ้น, เอกสารหลักฐาน, อายุความ และการฟ้องล้มละลาย: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น
ผู้ร้องฎีกาว่าพยานหลักฐานผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานผู้ร้องฟังได้ว่าผู้ร้องได้ชำระค่าหุ้นเต็มตามมูลค่าครบถ้วนแล้วเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกามาก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บัญชีผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญเป็นเอกสารที่จำเลยจัดทำส่งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องตรงกับ สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1141ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น พยานหลักฐานอันถูกต้องและตามมาตรา1024ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการการที่พยานผู้ร้องเบิกความว่าผู้ร้องชำระค่าหุ้นตามมูลค่าแล้วโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดสนับสนุนจึงไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าบัญชีผู้ถือหุ้นเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงผู้ร้องต้องรับผิดในหนี้ที่ค้างชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันหนี้ไป การที่บริษัทจะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120หาใช่จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด10ปีนับแต่วันที่ผู้ร้องเข้าชื่อจองซื้อหุ้นไม่ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในการเรียกให้ผู้ร้องส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ค้างชำระนับแต่วันทำสัญญาเข้าชื่อจองซื้อหุ้นแม้จะเกิน10ปีก็ ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของหุ้นส่วนออกจากห้างหุ้นส่วนและการแจ้งการประเมินภาษีอากรเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม2527 และนำไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2528 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2528และโจทก์ไม่ได้แจ้งการประเมินภาษีอากรให้จำเลยที่ 2 ทราบคงแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในขณะนั้น ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2529 และวันที่ 2 เมษายน 2530 เพื่อให้ชำระเงินภาษีที่ค้างอยู่โดยหนังสือเตือนดังกล่าวไม่ปรากฏว่าได้ระบุแจ้งผลการประเมินตามรายการอากรสำแดง หรือมีรายการแยกแยะเป็นรายละเอียดภาษีอากรที่จะชำระเอาไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการแจ้งการประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แต่เป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามปกติดังเช่นหนี้ทั่วไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2530 อันเป็นเวลาภายหลัง2 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการรู้ถึงการตายของลูกหนี้: การสะดุดหยุดของอายุความเมื่อได้รับแจ้งการตายและหลักฐานการชำระหนี้
คำว่า การได้รู้หรือควรได้รู้ตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายความว่า ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอนมีหลักฐานยืนยัน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบจากรายงานการเดินหมายของเจ้าหน้าที่ซึ่งได้นำหนังสือขอให้ชำระหนี้ไปส่งให้แก่นาย ผ.ว่าพบหญิงคนหนึ่งแจ้งว่านายผ. ได้เสียชีวิตไปแล้วก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมีหนังสือสอบถามไปยังนายทะเบียนท้องถิ่นตามภูมิลำเนาของนาย ผ.ก็ได้รับคำตอบว่า ได้แจ้งย้ายออกไปอยู่ ณ ที่แห่งอื่น ครั้นสอบถามไปยังนายทะเบียนท้องถิ่นที่ได้มีการแจ้งย้ายออกไปอยู่ดังกล่าวกลับได้รับแจ้งว่าไม่ปรากฏชื่อของนาย ผ. ในบ้านเลขที่ดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่า นาย ผ.ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วจริงหรือไม่ ต่อมาโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า นาย ผ. ถึงแก่กรรมแล้วพร้อมทั้งแสดงใบมรณบัตร และผู้ร้องเป็นทายาทของนาย ผ. ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงการตายของนาย ผ. แล้วนับแต่ได้รับแจ้งจากโจทก์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องในฐานะทายาทนาย ผ. ซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรรู้การตายของลูกหนี้ดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง หนี้ไม่ขาดอายุความ ตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่จำเลยยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่า นาย ผ. ถือหุ้นจำเลยอยู่ 200 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท ชำระเงินแล้วหุ้นละ 250 บาท ดังนี้เมื่อผู้ร้องนำสืบลอย ๆ ว่า นาย ผ. น่าจะได้ชำระค่าหุ้นครบถ้วนจึงไม่มีน้ำหนักหักล้างบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทวงหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: การรู้หรือควรรู้ถึงการเสียชีวิตเป็นเหตุสะดุดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก กรณีต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน โจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า เจ้ามรดกถึงแก่กรรมพร้อมทั้งแสดงใบมรณบัตรและมีผู้ร้องเป็นทายาท ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกนับแต่นั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องในฐานะทายาทของเจ้ามรดกซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปีนับแต่ได้รู้หรือควรรู้ถึงการตายของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดก จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ดังนี้หนี้ยังไม่ขาดอายุความ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1024 สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นและการชำระค่าหุ้น: สิทธิและหน้าที่ของผู้ถือหุ้นตามบัญชีรายชื่อและการสันนิษฐานตามกฎหมาย
ตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ในวันประชุมตั้งบริษัทจำเลยเอกสารหมาย จ.2 ปรากฎลายมือชื่อของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองลงชื่อจองหุ้น และค้างชำระค่าหุ้น อยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปและยังมีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ 1/2525 ที่บริษัทจำเลย ส่งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานครเอกสาร หมาย จ.9 เป็นพยานสนับสนุนอีกซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1024 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ ผู้ร้องคัดค้านไม่สามารถนำสืบหักล้างพยานหลักฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ดังนี้ฟังได้ว่า ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองยังคงถือหุ้นและค้างชำระค่าหุ้น และค้างชำระค่าหุ้นอยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทวงหนี้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัญชีผู้ถือหุ้นเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้น การพิสูจน์หักล้างภาระหน้าที่ชำระค่าหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024 บัญญัติว่า ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการ ดังนั้น บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่กรรมการของบริษัทจำเลยนำส่งต่อนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจึงเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง รับฟังได้ในเบื้องต้นว่าผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยและค้างชำระค่าหุ้นอยู่ตามนั้นจริง เว้นแต่ผู้ร้องจะพิสูจน์ได้เป็นประการอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะผู้ถือหุ้นและการชำระค่าหุ้น โดยใช้บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นหลักฐานเบื้องต้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024 บัญญัติว่า ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการ ดังนั้นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่กรรมการของบริษัทจำเลยนำส่งต่อนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจึงเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง รับฟังได้ในเบื้องต้นว่าผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยและค้างชำระค่าหุ้นอยู่ตามนั้นจริง เว้นแต่ผู้ร้องจะพิสูจน์ได้เป็นประการอื่น
of 2