พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6211/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประสานงานเสนอขายที่ดินให้หน่วยงานรัฐมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินให้เสนอขายที่ดินแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์คลังพัสดุและได้มีการยื่นซองประกวดราคาแล้ว ต่อมาจำเลยได้ขอให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการขายที่ดินดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินให้โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท ในวันที่ทำการโอนขายที่ดินให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลังจากนั้นจำเลยได้ทำข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าใช้จ่ายแก่โจทก์เพิ่มเป็นเงินจำนวน 8,000,000 บาท ในที่สุดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้เสนอขาย แต่ในการจัดซื้อที่ดิน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องปฏิบัติไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ. ศ. 2497 และข้อบังคับที่ออกสืบเนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าว การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรอยู่ในฐานะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีโอกาสเหนือกว่าเอกชนรายอื่นในการเสนอขายที่ดินให้แก่รัฐวิสาหกิจด้วยกัน ได้ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินดังกล่าวให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จึงมีความหมายยิ่งกว่าการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงธุรกิจ เมื่อโจทก์และ ศ. ซึ่งเป็นประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต่างเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการบริหารและยุติธรรมของวุฒิสภาด้วยกันโดยโจทก์ได้รับเลือกจาก ศ. ให้เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ดังนั้นสายสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ศ. จึงผูกพันลึกซึ้งยิ่งกว่าการรู้จักกันโดยปกติธรรมดาทั่วไป อาจทำให้เอกชนรายอื่นที่ต้องเสนอราคาแข่งขันกับจำเลย ตกเป็นผู้เสียเปรียบจำเลย ทั้งยังกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐที่อาจต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อที่ดินในราคาที่ขาดการแข่งขันตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพที่ดินนั้น ถือได้ว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์กรของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารราชการในองค์กรของรัฐ จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินตามที่จำเลยจะให้เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าสังหาริมทรัพย์: องค์การโทรศัพท์ฯ มีอำนาจค้าได้
แม้โจทก์จะมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการโทรศัพท์ เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน อันถือได้ว่าโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภค แต่โจทก์ก็มีอำนาจดำเนินกิจการได้หลายประการ เช่น มีอำนาจซื้อ เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รวมทั้งสามารถเข้าหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลใด ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจการของบุคคลจำพวกที่ค้าทั้งสิ้น การที่จำเลยเช่าคู่สายเคเบิลจากโจทก์เพื่อใช้บริการเครื่องเทเล็กซ์โดยโจทก์คิดค่าเช่าเป็นรายเดือนนั้น จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ฟ้องเรียกเอาค่าเช่าจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (6) มีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความบกพร่องในการบริการโทรศัพท์ การตัดฟิวส์โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
ค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ที่โจทก์ค้างชำระ เลยงวดการชำระหนี้หลายงวด และได้มีการชำระในงวดหลังหลายงวด บางงวดก็นานมากแล้วนอกจากนี้ยังเคยปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าเช่าและค่าบริการจากโจทก์ผิดพลาดมาก่อนถึง 2 ครั้ง ย่อมเป็นเหตุอันควรที่โจทก์จะสงสัยว่าได้ชำระไปแล้ว โจทก์มีสิทธิที่จะโต้แย้งและขอตรวจสอบได้. จำเลยที่ 3 ที่ 4 มิได้ตรวจสอบสำเนาใบแจ้งหนี้ตามคำขอของโจทก์และปรากฏว่าได้มีการส่งสำเนาใบแจ้งหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แล้ว ทั้งโจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ว่า หากมีหลักฐานว่าค้างชำระก็จะชำระให้ แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิเสธว่าจะไม่ชำระหนี้ที่ทวงถามโดยเด็ดขาด เมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นผ่านจำเลยที่ 4 เพื่อพิจารณา จนในที่สุดผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็มีคำสั่งปลดฟิวส์ มิให้โจทก์ใช้โทรศัพท์ เหตุที่มีการปลดฟิวส์ จึงเป็นผลจากการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 มุ่งแต่จะบีบบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ที่ค้าง ไม่สนใจที่จะแก้ข้อสงสัยที่มีเหตุอันควรสงสัยของโจทก์ ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้โดยง่าย ซึ่งการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ยอมแก้ข้อสงสัยของโจทก์เช่นนั้น จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์จะไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างและจะต้องถูกปลดฟิวส์ ซึ่งย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้โทรศัพท์ การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์มีหนังสือโต้แย้งเรื่องค่าเช่าและค่าบริการที่อ้างว่าโจทก์ค้างชำระไปยังจำเลยที่ 2 กลับเป็นว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการตามหนังสือแทนจำเลยที่ 2 เสียเองโดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แสดงว่าจำเลยที่ 2 บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 3 ที่ 4 พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 มาตรา 6มีวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วย การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้โจทก์ถูกตัดฟิวส์ โทรศัพท์ตามฟ้อง ถือว่ามิได้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการตัดฟิวส์โทรศัพท์โดยไม่ตรวจสอบข้อสงสัยของลูกหนี้ และความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ที่โจทก์ค้างชำระ เลยงวดการชำระหนี้หลายงวดและได้มีการชำระในงวดหลังหลายงวด บางงวดก็นานมากแล้ว นอกจากนี้ยังเคยปรากฏว่าจำเลยที่ 1เรียกเก็บค่าเช่าและค่าบริการจากโจทก์ผิดพลาดมาก่อนถึง 2 ครั้ง ย่อมเป็นเหตุอันควรที่โจทก์จะสงสัยว่าได้ชำระไปแล้ว โจทก์มีสิทธิที่จะโต้แย้งและขอตรวจสอบได้
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มิได้ตรวจสอบสำเนาใบแจ้งหนี้ตามคำขอของโจทก์ และปรากฏว่าได้มีการส่งสำเนาใบแจ้งหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แล้ว ทั้งโจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ว่า หากมีหลักฐานว่าค้างชำระก็จะชำระให้ แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิเสธว่าจะไม่ชำระหนี้ที่ทวงถามโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นผ่านจำเลยที่ 4เพื่อพิจารณา จนในที่สุดผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็มีคำสั่งปลดฟิวส์มิให้โจทก์ใช้โทรศัพท์เหตุที่มีการปลดฟิวส์จึงเป็นผลจากการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 มุ่งแต่จะบีบบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ที่ค้างไม่สนใจที่จะแก้ข้อสงสัยที่มีเหตุอันควรสงสัยของโจทก์ ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้โดยง่ายซึ่งการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ยอมแก้ข้อสงสัยของโจทก์เช่นนั้น จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์จะไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างและจะต้องถูกปลดฟิวส์ ซึ่งย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้โทรศัพท์ การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
เมื่อโจทก์มีหนังสือโต้แย้งเรื่องค่าเช่าและค่าบริการที่อ้างว่าโจทก์ค้างชำระไปยังจำเลยที่ 2 กลับเป็นว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการตามหนังสือแทนจำเลยที่ 2 เสียเองโดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แสดงว่าจำเลยที่ 2 บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 3 ที่ 4
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 6มีวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วย การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้โจทก์ถูกตัดฟิวส์โทรศัพท์ตามฟ้อง ถือว่ามิได้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มิได้ตรวจสอบสำเนาใบแจ้งหนี้ตามคำขอของโจทก์ และปรากฏว่าได้มีการส่งสำเนาใบแจ้งหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แล้ว ทั้งโจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ว่า หากมีหลักฐานว่าค้างชำระก็จะชำระให้ แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิเสธว่าจะไม่ชำระหนี้ที่ทวงถามโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นผ่านจำเลยที่ 4เพื่อพิจารณา จนในที่สุดผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็มีคำสั่งปลดฟิวส์มิให้โจทก์ใช้โทรศัพท์เหตุที่มีการปลดฟิวส์จึงเป็นผลจากการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 มุ่งแต่จะบีบบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ที่ค้างไม่สนใจที่จะแก้ข้อสงสัยที่มีเหตุอันควรสงสัยของโจทก์ ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้โดยง่ายซึ่งการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ยอมแก้ข้อสงสัยของโจทก์เช่นนั้น จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์จะไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างและจะต้องถูกปลดฟิวส์ ซึ่งย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้โทรศัพท์ การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
เมื่อโจทก์มีหนังสือโต้แย้งเรื่องค่าเช่าและค่าบริการที่อ้างว่าโจทก์ค้างชำระไปยังจำเลยที่ 2 กลับเป็นว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการตามหนังสือแทนจำเลยที่ 2 เสียเองโดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แสดงว่าจำเลยที่ 2 บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 3 ที่ 4
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 6มีวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วย การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้โจทก์ถูกตัดฟิวส์โทรศัพท์ตามฟ้อง ถือว่ามิได้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าบริการของรัฐวิสาหกิจ: พิจารณาจากฐานะผู้ค้าบริการตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2497 องค์การโทรศัพท์โจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์และธุรกิจที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกันหรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการโทรศัพท์ และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า เพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวในมาตรา 6 ให้องค์การโทรศัพท์มีอำนาจรวมถึง...(3) กำหนดอัตราค่าเช่า ค่าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ค่าบริหารอื่น ๆ ของกิจการโทรศัพท์และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าต่าง ๆ ดังกล่าว ดังนั้นการที่โจทก์เรียกค่าเช่าค่าบริการที่จำเลยค้างชำระจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ2 ปี ไม่ใช่อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166.