คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 38

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า การใช้เสียงเรียกขานเป็นสาระสำคัญ และอำนาจฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ใช้ชื่อและชื่อสกุลโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะที่ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยหรือไม่มีความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดาได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 7(1)โดยโจทก์โฆษณาสินค้าของโจทก์โดยใช้คำว่า RYKIEL เป็นเครื่องหมายการค้าจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้กันแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศคำว่าRYKELจึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ขอจดทะเบียนไว้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ขอจดทะเบียนคำว่า RYKELซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งชุดว่า RYKELHOMMEBIS ขึ้นเปรียบเทียบกับคำว่า RYKIELที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งชุดว่า SONIARYKIEL ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วว่าคล้ายหรือเหมือนกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดสินค้าจึงเป็นการชอบแล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาถ้อยคำว่า RYKIEL และ RYKELแล้วจะเห็นได้ว่าลักษณะตัวอักษรที่ใช้และการเรียงตัวเหมือนกันคงแตกต่างกันที่จำนวนตัวอักษรและคำทั้งสองยังมีสำเนียงการอ่านหรือเสียงเรียกขานเป็นอย่างเดียวกันว่า "ไรเคิ้ล" หรือ"ไรเคล"เมื่อเสียงเรียกขานส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยพ้องกับเสียงเรียกขานส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมก่อให้สาธารณชนที่เลือกซื้อสินค้าซึ่งจะรับฟังเสียงเรียกขานเป็นสำคัญเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6(3),8(11) และ 13ของผู้ยื่นคำขอ รวมทั้ง นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534เป็นผู้ใช้ดุลพินิจว่าจะรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำขอของบุคคลอื่นที่ยื่นเข้ามาเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนการค้านั้นๆนายทะเบียนฯจึงเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และเป็นผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้เสียประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือผู้คัดค้านโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องนายทะเบียนฯ ห้ามรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ขอจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 38 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน: ศาลฎีกาตัดสินว่าเครื่องหมาย 'GIAN FERRENTE' ไม่คล้ายกับ 'GIANFRANCO FERRE' และโจทก์มีสิทธิจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนเป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาคำว่า "GIANFERRENTE" อ่านว่า "เจียนเฟอร์รองเต้" หรือ "จิอองเฟอร์รองเต้" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัทจิอองฟรังโก้เฟอร์รี่เอส.พี.เอ. จำกัด ซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า "GIANFRANCOFERRE" อ่านว่า "จิอองฟรังโก้เฟอร์รี่" แม้จะเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีตัวอักษรโรมันสองคำเช่นเดียวกันและในภาคส่วนแรก ประกอบด้วยอักษรโรมัน 4 ตัวแรกเหมือนกันก็ตาม แต่อักษรโรมันคำอื่นที่ประกอบเป็นคำแตกต่างกันโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า "GIAN" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 4 ตัวส่วนของบริษัทจิอองฟรังโก้ฯ ผู้คัดค้านคือคำว่า"GIANFRANCO" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัว และภาคส่วนท้าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า "FERRENTE" ประกอบด้วย อักษรโรมัน 8 ตัว ส่วนของผู้คัดค้านใช้คำว่า "FERRE" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 5 ตัว ทั้งการเรียกขานเครื่องหมายการค้า ของทั้งสองเครื่องหมายแตกต่างกัน ดังนั้นรูปลักษณะของ ตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำ จำนวนตัวอักษรโรมันทั้งหมด กับการวางรูปคำ เสียงเรียกขานเครื่องหมายของทั้งสองฝ่าย แตกต่างกันเป็นส่วนมาก ทำให้ลักษณะของคำและการเรียกขาน เครื่องหมายการค้าทั้งสองมีจุดสังเกตข้อแตกต่างได้ชัด น่าเชื่อว่าสาธารณชนจะมองเห็นความแตกต่างกันได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือ คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัทจิอองฟรังโก้ฯ จนถึงกับเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิด ในความเป็นเจ้าของสินค้า โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า "GIANFERRENTE" คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าที่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้า "GIANFERRENTE" คล้ายกับเครื่องหมาย "GIANFRANCOFERRE" และสั่งระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่ชอบ ตามคำบรรยายฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษา เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าโดยฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 38 วรรคสอง และเมื่อศาล มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิ จดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ แล้วมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ เมื่อศาล วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามฟ้องแล้ว ขั้นตอนดำเนินการต่อไปมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วซึ่งนายทะเบียน จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับ ขั้นตอนและเงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่จะรับจดทะเบียนให้ได้โดยทันที และกรณียังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับ การปฏิบัติในขั้นตอนดังกล่าวแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาล บังคับให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปเลย ปัญหานี้ เป็นปัญหาอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้การจดทะเบียนถูกเพิกถอน
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้และครบสิบปีแล้วจำเลยไม่ต่ออายุของการจดทะเบียนซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 27 ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่จำเลยยังใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งกันจดทะเบียน, การเพิกถอน, และสิทธิโดยพฤตินัย
โจทก์จำเลยต่างแย่งกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปมดซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากไม่ต่ออายุการจดทะเบียนก็ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น เมื่อจำเลยยัง ใช้เครื่องหมายการค้าอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนจำเลยย่อมมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าที่ไม่ต่ออายุการจดทะเบียนจนนายทะเบียนเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเสียจากทะเบียนนั้นทำให้ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนยังคงมีอยู่ อีกทั้งหากมีการแสดงเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนหรือขายหรือเสนอขายสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นความเท็จย่อมมีความผิดและอาจรับโทษตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ได้ ดังนั้น การที่กฎหมาย กำหนดเรื่องอายุการจดทะเบียน การต่ออายุและการจดทะเบียนไว้หาได้ไร้ประโยชน์เสียทีเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งจดทะเบียน, การเพิกถอน, และสิทธิโดยพฤตินัย
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนตามบทกฎหมายก็ถือได้เพียงว่า จำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่เมื่อจำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ จำเลยจึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าที่ไม่ต่ออายุการจดทะเบียนจนนายทะเบียนเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเสียจากทะเบียนนั้น ทำให้ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนยังคงมีอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การโต้แย้งคำวินิจฉัยคณะกรรมการฯ ต้องแสดงเหตุความไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่ความเห็นต่าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการฯ มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนฯ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการฯไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ถูกนายทะเบียนฯเพิกถอนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯ วินิจฉัยว่า การเพิกถอนเครื่องหมายการค้ายังไม่ครบ 12 เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนฯสั่งเพิกถอน จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าของจะใช้สิทธิยื่นขอจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 38 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ถูกเพิกถอนแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้และคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและความเห็นในเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าไม่ถูกต้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของคำวินิจฉัยดังกล่าวอาทิ ความบกพร่องของการเป็นกรรมการ ความไม่ชอบของการประชุมหรือการออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 19 เบญจวรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: การโต้แย้งคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องไม่เกินขอบเขต
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มี ลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าคณะกรรมการฯ มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนฯ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการฯ ไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพราะเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ถูกนายทะเบียนฯ เพิกถอนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯวินิจฉัยว่า การเพิกถอนเครื่องหมายการค้ายังไม่ครบ 12 เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนฯ สั่งเพิกถอน จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าของจะใช้สิทธิยื่นขอจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 38 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ถูกเพิกถอนแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้ และคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเห็นในเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าไม่ถูกต้อง โจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของคำวินิจฉัยดังกล่าว อาทิความบกพร่องของการเป็นกรรมการ ความไม่ชอบของการประชุมหรือการออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.