คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 46 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีศาลลบแก้ไขคำสั่ง และจำเลยไม่ทราบคำสั่งที่แก้ไข
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ของจำเลยลงวันที่ 8 ตุลาคม 2546 ปรากฏมีรอยลบด้วยหมึกสีขาวในตอนท้าย แล้วมีข้อความเขียนทับลงบนรอยลบดังกล่าวใหม่เป็นที่ประจักษ์ดังที่จำเลยกล่าวอ้าง อันเป็นการขูดลบโดยศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสอง เป็นการไม่ชอบ และตามสำนวนที่ปรากฏต่อมาว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมฉบับลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 อ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลได้ทันตามกำหนด อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดแย้งกับคำสั่งของศาลชั้นต้นบนรอยลบด้วยหมึกสีขาวที่มีข้อความสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไปแล้ว และเมื่อตามรูปคดีประกอบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ในส่วนไม่มีรอยลบด้วยหมึกสีขาวตอนแรกที่ว่า การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั้นเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งอาจมีผลให้จำเลยชนะคดีโจทก์ได้ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แล้ว ข้อความเดิมต่อจากข้อความดังกล่าวนี้ก็ไม่อาจจะเป็นอย่างอื่นได้นอกจากเป็นข้อความที่สั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 ภายหลังวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์เพียง 5 วัน พฤติการณ์แห่งคดีตามสำนวนที่ปรากฏแก่ศาลเช่นนี้ จึงมีเหตุอันควรแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำสั่งเดิมแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวดังที่กล่าวอ้างมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง มิฉะนั้นก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาวางต่อศาลได้ทันตามกำหนด
เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นนี้ ย่อมมีเหตุผลสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยหาจำต้องให้จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนเสียก่อนอีกไม่ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งแก้ไขกระบวนพิจารณาที่มิชอบของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสีย โดยเพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลเรื่องวันหยุดและพนักงานลาพัก ไม่เพียงพอต่อการขยายเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์วันที่5มีนาคม2539โจทก์ยื่นคำร้องขอถ่ายคำเบิกความพยานและคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้นศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตวันที่15เดือนเดียวกันวันที่4เมษายน2539โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์30วันโดยอ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับเอกสารที่ขอถ่ายศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์วันที่23เดือนเดียวกันซึ่งเมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ของระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้มีเวลาถึงประมาณ50วันโจทก์มีอาชีพเป็นทนายความสามารถทำอุทธรณ์ได้เองและยังแต่งตั้งทนายความอีกคนหากโจทก์หรือทนายโจทก์ตั้งใจจริงย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดทั้งรูปคดีไม่สลับซับซ้อนการที่โจทก์ปล่อยปละละเลยจนกระทั่งถึงวันครบกำหนดอุทธรณ์ที่ขยายให้แล้วจึงมายื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก10วันโดยอ้างเหตุว่านับแต่ต้นเดือนเมษายน2539มีวันหยุดราชการและวันหยุดตามประเพณีหลายวันพนักงานพิมพ์ดีดและพนักงานอื่นในสำนักงานของโจทก์ขอลาหยุดต่อเนื่องกันหลายวันทำให้คดีที่จะต้องเตรียมและจัดพิมพ์ค้างอยู่หลายคดีเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างลอยๆแม้ไม่มีพนักงานพิมพ์ดีดพิมพ์อุทธรณ์ให้โจทก์ก็สามารถเขียนด้วยหมึกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสองกรณีของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, อายุความ, และการรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่มีการตกเติมข้อความโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับดังที่จำเลยอ้าง เพราะไม่มีการตกเติมแต่ประการใด การเขียนด้วยปากกาหรือน้ำหมึกลงในช่องว่างที่เว้นไว้เพื่อระบุชื่อคนที่ถูกต้อง ไม่ต้องด้วยความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46วรรคสอง จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือนพนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, อายุความประกันภัยรถยนต์, การเปลี่ยนแปลงคำฟ้องในชั้นฎีกา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่มีการตกเติมข้อความโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับดังที่จำเลยอ้าง เพราะไม่มีการตกเติมแต่ประการใด การเขียนด้วยปากกาหรือน้ำหมึกลงในช่องว่างที่เว้นไว้เพื่อระบุชื่อคนที่ถูกต้อง ไม่ต้องด้วยความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสอง
จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน พนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซี่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1และที่ 2 ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 จึงไม่ขาดอายุความ