พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันทุนการศึกษา: อำนาจผู้ลงนาม, การปฏิบัติตามสัญญา, และขอบเขตการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อคัดเลือกบุคคลไปศึกษา รัฐบาลไทยจึงมีส่วนได้เสียในทุนดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้สอบคัดเลือกได้และได้ทำสัญญาการรับทุนกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องรับผิดตามข้อความในสัญญาที่ทำไว้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชดใช้เงินตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ขณะทำสัญญา ผ. เป็นอธิบดีกรมโจทก์ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ช. รองอธิบดีรักษาราชการแทน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 44 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน ช.จึงมีอำนาจมอบให้ ช. ซึ่งเป็นวิทยากรพิเศษลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทน ช. จึงลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ สัญญาค้ำประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาต่อแม้จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการและรับเงินเดือนอยู่ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อมารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาการรับทุนจะต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญาการรับทุนทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม, อำนาจฟ้อง, และการประเมินภาษีที่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็น จำเลยแถลงคัดค้านและอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นว่า หากศาลเปิดโอกาสให้นำพยานหลักฐานที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบจะทำให้ศาลเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ เพราะราคาค่าซื้อขายไม้ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาคำนวณเป็นรายรับ เป็นไม้ที่จำเลยยังนำออกมาจำหน่ายไม่ได้ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 32/2532ห้ามเข้าทำไม้และเคลื่อนย้ายไม้โดยเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่า หากศาลอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยสามารถนำพยานเข้าสืบให้เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลได้ว่า ทรัพย์สินของจำเลยยังมีอยู่และมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท จำเลยจึงมิใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งเป็นเหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นแทนโจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จำเลยมิได้อุทธรณ์ การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับเอากับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การประเมินภาษีอากรถึงที่สุด การไม่โต้แย้งถือเป็นหนี้บังคับได้ และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงาน
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ไม่ชอบด้วยเหตุผลโดยให้เหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้ง คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1ย่อมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมสรรพากรโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่บัญญัติไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 42ฉะนั้นเมื่ออธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ แทนโจทก์โดยปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจจึงชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์แล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด และเมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจที่จะบังคับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติการประเมินภาษีของรองอธิบดีกรมสรรพากรที่รักษาราชการแทนอธิบดี ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ประมวลรัษฎากรจะเป็นกฎหมายพิเศษอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และตามมาตรา 49 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นโดยอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก็ตาม แต่ก็ไม่จำต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าผู้มีอำนาจอนุมัติจะต้องเป็นตัวอธิบดีกรมสรรพากรเองเท่านั้น เพราะตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน และตามข้อ 44 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนดังกล่าวมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน ดังนั้น รองอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ย่อมมีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ได้