พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6800/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้า: ศาลใช้ราคาออกจากโรงงานผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ หากราคาสำแดงและประเมินเดิมไม่สมเหตุสมผล
จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลยจึงได้ประเมินราคาใหม่ตามราคาแท้จริงในท้องตลาดประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าสินค้าของโจทก์มีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด แม้จำเลยจะให้การไว้ว่าได้ประเมินราคาใหม่โดยเปรียบเทียบราคาสินค้าของโจทก์กับบัญชีราคาสินค้า ซึ่งถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดก็ตาม จำเลยก็สามารถนำสืบหักล้างพยานโจทก์ให้เห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เนื่องจากราคาสินค้าของโจทก์มีราคาที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 71 สูงกว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ได้ เมื่อศาลเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้และราคาที่จำเลยได้ประเมินใหม่ตามคำให้การมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดมีราคาตามที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตซึ่งมีราคาสูงกว่าที่โจทก์สำแดงและต่ำกว่าที่จำเลยประเมินใหม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ ศาลก็ย่อมรับฟังราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 71 มาเป็นราคากำหนดในการประเมินอากรขาเข้าให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามประเด็นที่โจทก์จำเลยโต้แย้งกันนั่นเองเมื่อจำเลยประเมินอากรขาเข้าของสินค้าโจทก์เกินกว่าที่โจทก์ต้องชำระ ศาลก็ย่อมพิพากษาเพิกถอนส่วนที่ประเมินเกินไปนั้น และกำหนดให้ประเมินอากรขาเข้าในส่วนที่โจทก์จะต้องชำระให้ถูกต้องได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร: การเปรียบเทียบราคาจากใบขนสินค้าที่นำเข้าวันเดียวกัน และการพิจารณาเกรดสินค้า
วันนำสินค้าเข้านั้น หมายถึงวันที่ยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่วันที่ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าเพื่อชำระภาษีอากร เมื่อสินค้าของโจทก์และของบริษัท ท. นำเข้าวันเดียวกันโดยเรือลำเดียวกัน แม้โจทก์จะยื่นใบขนสินค้าก่อนก็ไม่ถือว่าโจทก์และบริษัท ท. ได้นำสินค้าเข้ามาต่างวันกันการเปรียบเทียบราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ากับราคาสินค้าที่บริษัท ท.นำเข้าซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนโจทก์จึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ต้องอ้างอิงราคาตลาดจริงและบทวิเคราะห์ใน พ.ร.บ.ศุลกากร ไม่ใช่แค่ระเบียบภายใน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจออกข้อบังคับสำหรับกรมตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและบังคับการให้เป็นไปตามนั้น นั้น ตามบทบัญญัติมาตรานี้ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรออกข้อบังคับเพื่อควบคุมบรรดาพนักงานทั้งหลายในกรมศุลกากรในฐานะอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้บังคับบัญชาเท่านั้น มิได้ให้อำนาจออกระเบียบปฏิบัติกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาของโดยไม่คำนึงถึงบทกฎหมายมาตราอื่น ดังนั้น คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 จึงจะนำมาเป็นข้อกำหนดในการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์เพียงลำพังไม่ได้ จะต้องปฏิบัติตามบทวิเคราะห์ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นหลัก และที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2464มาตรา 13 ได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรมศุลกากรเป็นผู้ทำการตีราคาของเพื่อประเมินภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตีราคาก็จะต้องนำหลักเกณฑ์ตามบทวิเคราะห์ในมาตรา2 วรรคสิบสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปฏิบัติ จะตีราคาตามอำเภอใจไม่ได้ ส่วนคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ที่ 47/2531 คำสั่งกองประเมินอากร ที่ 12/2519 คำสั่งร่วมกองพิธีการและประเมินอากรและกองวิเคราะห์ราคา ที่ 1/2527 และที่ 2/2527 และรายงานการประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาเกี่ยวกับราคาก็เป็นระเบียบปฏิบัติภายในของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ตีหรือประเมินไปนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำราคาอะไหล่ยานยนต์ประเภทและชนิดเดียวกัน ณ เวลาและสถานที่ที่นำของเข้ามาจากที่เดียวกันมาเทียบเคียงแล้ว ก็ย่อมไม่อาจหักล้างได้ว่าราคาสินค้าตามที่โจทก์ที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ทั้งนี้ ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1ได้สำแดงราคาในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวตรงกับราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า และราคาดังกล่าวเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่โจทก์ที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งตรงกับราคาสินค้าในสัญญาซื้อขายและตรงกับราคาสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าที่บริษัทผู้ขายส่งมาให้ ทั้งไม่ปรากฏว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ได้มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด ราคาที่โจทก์ที่ 1 สำแดงจึงถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีศุลกากรตามราคาขายส่งเงินสด และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการปรับราคา
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสองและ 10 ทวิวรรคแรก ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำเข้าสำเร็จ และการคำนวณภาษีต้องถือตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย ส่วนราคาสินค้าที่จะคำนวณภาษีก็ต้องถือตามราคาขายส่งเงินสด โดยไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้า โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะซื้อสินค้าเหล่านั้นมาตามราคาที่แจ้งในใบกำกับสินค้าก็ตาม จำเลยทั้งสองก็รับว่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อมานั้น ผู้ขายลดราคาเพื่อให้หมดไปจากสต๊อกของผู้ขายซึ่งแสดงว่าราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อมามิใช่ราคาตามปกติ ย่อมจะถือเป็นราคาสินค้าที่นำเข้าเพื่อคำนวณภาษีหาได้ไม่ เพราะมิใช่ราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายณ เวลาและที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา นอกจากนี้สินค้าบางส่วนมีเครื่องหมายการค้าไม่ตรงกับที่จำเลยทั้งสองสำแดงไว้ในใบกำกับสินค้า เมื่อราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำไป เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้ ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประเมินราคาใหม่ โดยเปรียบเทียบกับบัญชีราคาสินค้าที่ตัวแทนจำหน่ายสินค้าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยนำเข้าแจ้งราคาไว้ต่อกรมศุลกากรเมื่อปี 2523 แม้จะเป็นราคาก่อนเวลาที่จำเลยทั้งสองนำเข้า แต่เป็นบัญชีราคาสินค้าที่มีผลใช้ได้จนถึงขณะที่จำเลยทั้งสองนำสินค้าเข้าดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นราคา ณ เวลาที่นำของเข้า ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินก็ถือเป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะจำเลยทั้งสอง การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1จึงเป็นการปฏิบัติโดยมีหลักเกณฑ์ภายในขอบอำนาจถูกต้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร: โจทก์มีสิทธิสืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ตรวจสอบพบว่าจำเลยสำแดงราคาตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยอาศัยข้อมูลราคาสินค้าประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่ผู้อื่นนำเข้า ประกอบกับบัตรราคาสินค้าของกองวิเคราะห์ราคากรมศุลกากรที่กำหนดราคากลางไว้ในระยะเวลาใกล้เคียงกันเป็นเกณฑ์รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยและลูกค้ารายต่าง ๆ ในประเทศไทย แหล่งข้อมูลดังกล่าวเมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบแล้วสามารถบ่งชี้ให้เห็นว่าสินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2วรรคสิบสอง เป็นจำนวนเท่าใด โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะนำสืบพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำฟ้องได้ คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ให้งดสืบพยานโจทก์ที่ 1 และพยานจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้ยกคำสั่งดังกล่าวและยกคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ให้ศาลภาษีอากรกลางทำการสืบพยานโจทก์ที่ 1 และพยานจำเลยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แล้วมีคำพิพากษาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่ลดหย่อนไม่ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาต้องเปรียบเทียบกับราคาตลาด
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้า จึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับรถใช้งานที่มีปั้นจั่น และการพิสูจน์ราคาอันแท้จริง
โจทก์ฟ้องเฉพาะที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าว่ามิได้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานของจำเลยอ้าง มิได้ฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและศาลภาษีอากรกลางก็มิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของมาตรา 30แห่งประมวลรัษฎากรต้องห้ามอุทธรณ์ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามพระราชกฤษฎีกา พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 นั้น สินค้าในพิกัดประเภทที่ 4.26 มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การยกหรือขนย้ายด้วยการยกของหนัก ๆ จากที่ที่ตั้งหรือวางอยู่ไปวาง ณ อีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มิได้มีความประสงค์ในการบรรทุกแล้วแล่นหรือเคลื่อนที่ไป ส่วนในพิกัดประเภท 7.05 นั้น เป็นสินค้าที่มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเป็นยานยนต์ ซึ่งใช้งานด้วยการบรรทุกสิ่งของแล้วแล่นไปดังจะเห็นได้จากสินค้าที่ได้ยกตัวอย่างไว้ อันมี รถยกลากรถเสียรถดับเพลิง รถผสมคอนกรีต รถกวาดถนน รถสำหรับฉีดพ่น เป็นต้น สินค้าพิพาทเป็นรถปั้นจั่นขนาดใหญ่ มีความยาว 17.5 เมตรเฉพาะตัวรถกว้าง 2.5 เมตร มีเพลาล้อ เพลาล้อ 32 ล้อ ตัวรถมีขาช้าง และก้านเหล็กทั้งซ้ายและขวา รวม 6 ตัว ซึ่งก้านด้านหน้าและด้านท้ายรถมีความยาวตลอดแนวจากซ้ายไปขวายาว .0 เมตร(รวมทั้งตัวรถ) ส่วนตัวกลางยาวตลอดแนวจากซ้ายไปขวา 11.73 เมตร(รวมทั้งตัวรถ) บนตัวรถมีห้องเครื่องบังคับการทำงานของตัวปั้นจั่นซึ่งมีก้านเหล็กยาววัดได้ 41 เมตร ก้านเหล็กนี้ใช้ยกโดยมีลวดสลิงยกของที่มีน้ำหนักมากจากเรือบรรทุกสินค้า รถรวมทั้งเครื่องจักรและก้านเหล็กมีน้ำหนัก 100 ตันเศษ ซึ่งเกินกว่าที่พระราชบัญญัติ จราจรกำหนดไว้ การเคลื่อนตัวของรถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งจะต้องยกขาช้างด้วยระบบไฮโดรลิก ส่วนก้านเหล็กขาช้าง ไม่สามารถที่จะพับเก็บได้ คงกางอยู่ตลอดเวลา สามารถยกน้ำหนักได้ถึง 350 ตัน และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปตามท้องถนนเหมือนรถดับเพลิงที่มีกระเช้ารถยกลากรถเสีย หรือรถสำหรับยกของการไฟฟ้า สินค้าพิพาทนี้เมื่อติดตั้งเสร็จและยกของเสร็จแล้วจะเคลื่อนไปยกยังอีกที่หนึ่ง สถานที่จะไปยกต่อนี้ต้องอยู่ห่างไม่เกิน5 ถึง 10 เมตร ถ้าจะเคลื่อนไปไกลกว่านี้จะต้องถอดตัวปั้นจั่นทั้งหมดออกพร้อมกับเก็บขาช้าง แล้วเคลื่อนที่ฐานไป เมื่อถึงที่ใหม่แล้วต้องประกอบใหม่ทั้งหมด เช่นนี้ สินค้าพิพาทจึงเป็นสินค้าที่มีความประสงค์ใช้ยกของหนักมาก ทำงานอยู่กับที่ไม่มีลักษณะเป็นยานยนต์อันมีสาระสำคัญอยู่ที่การเคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างคล่องตัวดังสินค้าในพิกัดประเภทที่ 87.05 สินค้าพิพาทจึงจัดว่าเป็นรถใช้งานที่มีปั้นจั่นติดอยู่ด้วย อันจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 84.26 ทั้งนี้แม้ว่าสินค้ารายพิพาทจะมี2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับบังคับการทำงานของปั้นจั่น อีกส่วนหนึ่งใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าในพิกัดประเภทที่ 87.05 ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ตรงกับราคาที่โจทก์กับผู้ขายตกลงกัน และตรงกับจำนวนเงินที่ระบุไว้ในคำขอการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะจำนวนเงินในเอกสารที่โจทก์กับผู้ขายตกลงกันก็ตรงกับจำนวนเงินที่ปรากฏในใบอนุญาตให้โจทก์นำเข้าสินค้ารายพิพาทด้วย และราคาที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าดังกล่าวข้างต้นนั้น จำเลยก็มิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์และบริษัทผู้ขายได้สมคบกันทำขึ้นโดยกำหนดราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริงแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะทำได้ ส่วนราคาตามที่เจ้าพนักงานจำเลยประเมิน นั้นเป็นการที่จำเลยนำเอาราคาสินค้าใหม่ยี่ห้อเดียวกับสินค้ารายพิพาทที่บริษัทช.นำเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2525 มาเป็นเกณฑ์แล้วหักค่าเสื่อมราคาออก จึงเป็นการนำเอาสินค้าคนละรุ่นและการใช้งานแตกต่างกัน ทั้งเป็นราคาสินค้าใหม่มาเป็นเกณฑ์คำนวณย่อมไม่อาจจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้ารายพิพาทได้