พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากร และการประเมินภาษีที่ถูกต้องตามระเบียบ
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ได้ตรวจสอบและทราบการตายของ อ. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 และโจทก์ที่ 1 โดยรองอธิบดีฝ่ายที่ 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ทราบการตายของ อ. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2545 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ที่ 1 ทราบการตายของ อ. ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงอยู่ในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม
ในขณะที่ อ. นำเข้ารถยนต์คันพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ประเมินอากรไม่ให้ใช้ราคาตาม PRICE LIST เดิมเป็นราคามาตรฐานกลางและเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรต่อไป แต่ให้รอราคาประเมินตามที่คณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินกำหนดเสียก่อน การที่เจ้าหน้าที่ประเมินอากรเห็นว่าราคาที่ อ. สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงสั่งตีราคาโดยใช้เกณฑ์การรับราคาตาม PRICE LIST ปีก่อน และกำหนดให้วางเงินประกันจึงไม่ขัดต่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 เมื่อต่อมาคณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นฐานราคาในการคำนวณราคาประเมิน ซึ่งอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าหน้าที่ประเมินอากรย่อมมีอำนาจที่จะประเมินราคารถยนต์ที่ อ. นำเข้าและประเมินค่าภาษีอากรเสียใหม่ได้ การประเมินจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่ อ. นำเข้ารถยนต์คันพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ประเมินอากรไม่ให้ใช้ราคาตาม PRICE LIST เดิมเป็นราคามาตรฐานกลางและเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรต่อไป แต่ให้รอราคาประเมินตามที่คณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินกำหนดเสียก่อน การที่เจ้าหน้าที่ประเมินอากรเห็นว่าราคาที่ อ. สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงสั่งตีราคาโดยใช้เกณฑ์การรับราคาตาม PRICE LIST ปีก่อน และกำหนดให้วางเงินประกันจึงไม่ขัดต่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 เมื่อต่อมาคณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นฐานราคาในการคำนวณราคาประเมิน ซึ่งอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าหน้าที่ประเมินอากรย่อมมีอำนาจที่จะประเมินราคารถยนต์ที่ อ. นำเข้าและประเมินค่าภาษีอากรเสียใหม่ได้ การประเมินจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12199/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีต้องอาศัยราคาสินค้าจริง หากราคาที่สำแดงถูกต้อง การประเมินเพิ่มเติมจึงไม่ชอบ
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 30 แม้อธิบดีกรมสรรพากร โจทก์ที่ 2 จะมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร และจำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบว่า การประเมินของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
การคำนวณภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยฐานจากราคาสินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อราคาใบชาอันแท้จริงในท้องตลาดตรงตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าซึ่งจำเลยได้เสียภาษีอากรให้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว การแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 ที่ให้จำเลยเสียอากร ขาเข้าเพิ่มเติมนั้นไม่ชอบจึงไม่มีฐานราคาสินค้าที่จะประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมจากจำเลยอีกตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2547)
การคำนวณภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยฐานจากราคาสินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อราคาใบชาอันแท้จริงในท้องตลาดตรงตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าซึ่งจำเลยได้เสียภาษีอากรให้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว การแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 ที่ให้จำเลยเสียอากร ขาเข้าเพิ่มเติมนั้นไม่ชอบจึงไม่มีฐานราคาสินค้าที่จะประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมจากจำเลยอีกตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าศุลกากร: การประเมินราคาต้องอาศัยหลักฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินโดยมิพิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคท้าย บัญญัติว่า "สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..." หมายถึง ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112,112 ทวิโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ได้ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไปในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม2541 และได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่พ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอากรขาเข้าใหม่โดยศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสำแดงไม่ตรงกับราคาตลาด
โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มภายหลังนำของไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินอากรที่ชำระเพิ่มคืนก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดศุลกากร: เทียบเคียงราคาต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน
คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531 เป็นระเบียบภายในของจำเลยเท่านั้น จะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้มีหรือประเมินราคาไปนั้น เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยไม่คำนึงถึงบทกฎหมายไม่ได้ เพราะ "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" มีบทวิเคราะห์ศัพท์ใน พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง เมื่อสินค้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเทียบเคียงราคากับสินค้าพิพาทไม่ได้เป็นเหล็กประเภทและชนิดเดียวกัน ขนาดหน้าตัดและความยาวของเหล็กก็ต่างกันมาก ไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้ ย่อมไม่อาจหักล้างว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องเป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยเทียบเคียงกับสินค้าประเภทเดียวกัน
คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่47/2531เป็นระเบียบภายในของจำเลยเท่านั้นจะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้มีหรือประเมินราคาไปนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยไม่คำนึ่งถึงบทกฎหมายไม่ได้เพราะ"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"มีบทวิเคราะห์ศัพท์ในพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2วรรคสิบสองเมื่อสินค้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเทียบเคียงราคากับสินค้าพิพาทไม่ได้เป็นเหล็กประเภทและชนิดเดียวกันขนาดหน้าตัดและความยาวของเหล็กก็ต่างกันมาไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้ย่อมไม่อาจหักล้างว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การประเมินราคาศุลกากร, อายุความค่าอากร, ราคาอันแท้จริง
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารราชการซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำขึ้น เมื่ออีกฝ่ายมิได้นำสืบว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องอย่างไร แม้ฝ่ายที่อ้างจะมิได้นำนายทะเบียนมาสืบก็รับฟังได้เมื่อผู้รับมอบอำนาจเบิกความยืนยันว่า กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อร่วมกันในหนังสือมอบอำนาจ มอบอำนาจให้ตนเป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยมีตราสำคัญของโจทก์ประทับ แม้จะไม่มีกรรมการผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจมาสืบ ก็ฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ในวันนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่ม เป็นการดำเนินการเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้ว ต่อเมื่อเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์นำเงินไปชำระและรับหลักประกันคืน เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนที่จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 40 อันจะถือได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกิน ในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า หากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่ต้องชำระ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่ม เพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของ เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
การซื้อสินค้าของโจทก์ในแต่ละเที่ยวที่นำเข้าเมื่อพิจารณาจากราคาที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ปรากฏว่าราคาสินค้าต่อหน่วยไม่เท่ากันในการนำเข้าแต่ละเที่ยว เจ้าพนักงานของจำเลยจึงได้ประเมินเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละเที่ยวเช่นเดียวกัน ราคาสินค้าทั้งที่โจทก์สำแดงและที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มมิได้คงที่ มีการปรับราคาอยู่เสมอ และการประเมินของเจ้าพนักงานโดยการปรับราคาก็ไม่แน่นอนว่าจะเพิ่มหรือลดลง แม้ว่าการประเมินดังกล่าวจะอาศัยตามประกาศกรมศุลกากรและคำสั่งกรมศุลกากรซึ่งให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาไม่เกิน 3 เดือนเป็นหลักในการประเมินแต่ประกาศและคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ แสดงว่าการกำหนดราคาซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายเป็นไปตามภาวะการตลาด หรือภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นราคาสินค้าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายจึงเป็นราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง
ในวันนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่ม เป็นการดำเนินการเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้ว ต่อเมื่อเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์นำเงินไปชำระและรับหลักประกันคืน เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนที่จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 40 อันจะถือได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกิน ในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า หากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่ต้องชำระ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่ม เพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของ เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
การซื้อสินค้าของโจทก์ในแต่ละเที่ยวที่นำเข้าเมื่อพิจารณาจากราคาที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ปรากฏว่าราคาสินค้าต่อหน่วยไม่เท่ากันในการนำเข้าแต่ละเที่ยว เจ้าพนักงานของจำเลยจึงได้ประเมินเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละเที่ยวเช่นเดียวกัน ราคาสินค้าทั้งที่โจทก์สำแดงและที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มมิได้คงที่ มีการปรับราคาอยู่เสมอ และการประเมินของเจ้าพนักงานโดยการปรับราคาก็ไม่แน่นอนว่าจะเพิ่มหรือลดลง แม้ว่าการประเมินดังกล่าวจะอาศัยตามประกาศกรมศุลกากรและคำสั่งกรมศุลกากรซึ่งให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาไม่เกิน 3 เดือนเป็นหลักในการประเมินแต่ประกาศและคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ แสดงว่าการกำหนดราคาซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายเป็นไปตามภาวะการตลาด หรือภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นราคาสินค้าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายจึงเป็นราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่แท้จริงนำเข้า: การเปรียบเทียบราคาตลาดเพื่อประเมินมูลค่า
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้าจึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทพิกัดอัตราศุลกากรและราคาประเมินสินค้า รถปั้นจั่นขนาดใหญ่จัดอยู่ในพิกัด 84.26 มิใช่ 87.05
โจทก์ฟ้องเฉพาะที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าว่ามิได้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานของจำเลยอ้าง มิได้ฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และศาลภาษีอากรกลางก็มิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากรต้องห้ามอุทธรณ์ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 นั้น สินค้าในพิกัดประเภทที่ 4.26 มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การยกหรือขนย้ายด้วยการยกของหนัก ๆ จากที่ที่ตั้งหรือวางอยู่ไปวาง ณ อีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มิได้มีความประสงค์ในการบรรทุกแล้วแล่นหรือเคลื่อนที่ไป ส่วนในพิกัดประเภท 7.05 นั้น เป็นสินค้าที่มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเป็นยานยนต์ ซึ่งใช้งานด้วยการบรรทุกสิ่งของแล้วแล่นไป ดังจะเห็นได้จากสินค้าที่ได้ยกตัวอย่างไว้ อันมี รถยกลากรถเสีย รถดับเพลิง รถผสมคอนกรีต รถกวาดถนนรถสำหรับฉีดพ่น เป็นต้น
สินค้าพิพาทเป็นรถปั้นจั่นขนาดใหญ่ มีความยาว 17. 5 เมตรเฉพาะตัวรถกว้าง 2. 5 เมตร มีเพลาล้อ เพลา ล้อ 32 ล้อ ตัวรถมีขาช้างและ
ตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 นั้น สินค้าในพิกัดประเภทที่ 4.26 มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การยกหรือขนย้ายด้วยการยกของหนัก ๆ จากที่ที่ตั้งหรือวางอยู่ไปวาง ณ อีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มิได้มีความประสงค์ในการบรรทุกแล้วแล่นหรือเคลื่อนที่ไป ส่วนในพิกัดประเภท 7.05 นั้น เป็นสินค้าที่มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเป็นยานยนต์ ซึ่งใช้งานด้วยการบรรทุกสิ่งของแล้วแล่นไป ดังจะเห็นได้จากสินค้าที่ได้ยกตัวอย่างไว้ อันมี รถยกลากรถเสีย รถดับเพลิง รถผสมคอนกรีต รถกวาดถนนรถสำหรับฉีดพ่น เป็นต้น
สินค้าพิพาทเป็นรถปั้นจั่นขนาดใหญ่ มีความยาว 17. 5 เมตรเฉพาะตัวรถกว้าง 2. 5 เมตร มีเพลาล้อ เพลา ล้อ 32 ล้อ ตัวรถมีขาช้างและ