คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สำรวจ อุดมทวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์เพราะขาดลายมือชื่อโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ลงลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์ฟ้องแต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) และการที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากพิพากษายกฟ้องโจทก์ และมาตรา 161 หาได้เป็นบทบัญญัติซึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องเสียเมื่อใด ก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุดไม่ ทั้งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลต้องยกฟ้อง แม้จำเลยไม่โต้แย้ง
ฟ้องโจทก์ปรากฏแต่ลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์ฟ้องเท่านั้น ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)และการที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่งนั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นจนคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากพิพากษายกฟ้องโจทก์ และมาตรา 161 ก็หาได้เป็นบทบัญญัติซึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องเสียเมื่อใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุดไม่ ทั้งปัญหาว่าฟ้องโจทก์ที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลมีอำนาจลดจำนวนเบี้ยปรับได้ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากความเสียหายที่แท้จริง
แม้เบี้ยปรับจะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแต่ก็มิใช่ถือเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่เด็ดขาด เพราะหากเจ้าหนี้เห็นว่าเบี้ยปรับที่กำหนดไว้น้อยเกินไปก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 ขณะเดียวกันถ้าเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายเป็นเบี้ยปรับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็ให้อำนาจศาลที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงทางหนึ่งย่อมได้จากการนำสืบของคู่ความ เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่าการผิดสัญญาของจำเลยที่ไม่ส่งมอบลิฟท์ทำให้ระยะเวลาและแผนงานของโจทก์ที่กำหนดไว้เสียหาย โดยไม่มีรายละเอียดอื่นใดจึงหามีความชัดแจ้งพอกับความเสียหายที่แท้จริงที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับเบี้ยปรับเต็มตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญาไม่ แม้จำเลยจะมิได้ให้การและนำสืบหักล้าง แต่ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรรมสิทธิ์อยู่ที่ ส.ป.ก. ไม่ใช่ผู้ถือครอง
เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่จำเลยที่ 1 มีเพียงสิทธิถือครองเพราะยังไม่ได้มีการออกหนังสือแสดงสิทธิใด ๆ ให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงต้องถือว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ป. ก. ตามพ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทมาขายทอดตลาดเพื่อเอาชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตปฏิรูปฯ ยังเป็นกรรมสิทธิ์ ส.ป.ก. โจทก์ไม่มีสิทธิยึดเพื่อชำระหนี้
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 36 ทวิ บัญญัติว่าบรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แสดงว่าที่ดินใดอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและผู้ครอบครองไม่สามารถแสดงสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายที่ดินเหล่านั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ที่ดินที่โจทก์นำยึดอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงถือว่าเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 2 ซึ่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินฯ ให้อำนาจ ส.ป.ก. นำไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ตามมาตรา 8 กรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นของ ส.ป.ก. หาใช่ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดไม่ ทั้งยังถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ห้ามยึดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 อีกด้วย เมื่อที่ดินแปลงดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูป แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ถือครองแต่ก็หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 จะได้สิทธิในที่ดินไม่ เพราะเป็นเรื่องในอนาคต โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ยึดทรัพย์ที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรรมสิทธิ์เป็นของ ส.ป.ก. โจทก์ไม่มีสิทธิยึด
โจทก์ขอนำยึดที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่ทาง ส.ป.ก. ได้จัดไว้เพื่อให้ผู้ถือครองคือจำเลยซึ่งเป็นเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ขณะโจทก์นำยึดที่ดินยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 แก่จำเลย และพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูป แม้จำเลยจะเป็นผู้ถือครองแต่ก็หาใช่ว่าจำเลยจะได้สิทธิในที่ดินไม่เพราะเป็นเรื่องในอนาคต โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ยึดที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ และการนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นไต่สวน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ม. ถึง 250 หุ้น หุ้นละ 1,000 บาท จึงมีเงินพอเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ได้ มิได้ยากจนจริงจึงยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ใหม่ โดยจะนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. อีกต่อไป กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องในกรณีนี้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นชอบตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมใช้สิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ และการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งในกรณีนี้ไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ต้องคืนเงิน 200 บาท แก่จำเลย
เมื่อหนังสือรับรองของบริษัทและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. ซึ่งไม่มีชื่อจำเลยเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่จำเลยนำมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นนายทะเบียนออกให้ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย กรณีจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำเข้าสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาศาล ส่อเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า อันมีลักษณะประวิงคดี พฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาททางถนน: ผู้ขับชนท้ายต้องรับผิดชอบหากไม่ใช้ความระมัดระวังแม้ผู้ถูกชนกลับช่องทางไม่ปลอดภัย
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน ขณะที่คนขับรถยนต์คันที่บริษัทโจทก์รับประกันภัยไว้ขับรถแซงรถคันหน้าขึ้นไปแล้วกลับเข้ามาในช่องเดินรถเดิม จำเลยซึ่งขับรถอยู่ห่างจากรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ทางด้านหลัง ย่อมมองเห็นตลอดเวลาและควรใช้ความระมัดระวังชะลอความเร็วของรถลงเนื่องจากเป็นเวลาหลังฝนตกถนนลื่น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ การที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้แล่นกลับเข้ามาในช่องเดินรถเดิมและอยู่ห่างรถยนต์ที่จำเลยขับประมาณ2 เมตร แต่จำเลยไม่สามารถห้ามล้อหยุดรถได้ทัน เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับชนท้ายรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายประมาทยิ่งกว่าคนขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายสองในสามส่วนให้แก่โจทก์ที่รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นชำระหนี้จำนองครบถ้วนหรือไม่ เป็นประเด็นเดียวกันกับคดีก่อน แม้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากธนาคารจำเลยฐานละเมิด ซึ่งมีสาเหตุมาจากประเด็นข้อโต้เถียงว่าโจทก์ชำระหนี้จำนองให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วหรือไม่ โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนถอนจำนองด้วย แต่ศาลมีคำพิพากษายกคำขอที่ให้จดทะเบียนถอนจำนองเนื่องจากโจทก์ยังมีภาระดอกเบี้ยค้างชำระ จึงฟ้องบังคับให้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองไม่ได้ และแม้ว่าศาลในคดีก่อนจะวินิจฉัยว่าโจทก์ชำระหนี้ตามที่จำเลยทวงถาม ซึ่งย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้รับชำระดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วแต่ศาลก็ได้กล่าวต่อไปว่า การที่จำเลยเพิ่งจัดทำบัญชีคู่ขนานขึ้นมาเองในภายหลังโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่ามีความถูกต้องเพียงใด หาอาจนำขึ้นมาเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไม่ อันเป็นการแสดงว่าโจทก์ชำระหนี้ที่เหลือในส่วนดอกเบี้ยครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งเป็นเพียงการชี้ถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่แจ้งหนี้ส่วนดอกเบี้ยที่จำเลยอ้างว่าคิดผิดให้โจทก์ทราบ หาได้วินิจฉัยว่าโจทก์ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วแต่อย่างใดไม่ ส่วนคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็วินิจฉัยในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์ยังมีดอกเบี้ยค้างชำระแก่จำเลยอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้เพราะฎีกาไม่แจ้งชัดดังนั้นข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างว่าโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยยังไม่ครบถ้วน และเมื่อปรากฏว่าหลังจากมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์ไม่เคยชำระหนี้จำนองให้แก่จำเลยอีก ประเด็นที่ว่าโจทก์ชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้วหรือไม่จึงเป็นประเด็นเดียวกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับสถานะคนอนาถา ทำให้คำสั่งยุติ และคดีไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป
การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์เพราะศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาไต่สวนนั้นเท่ากับได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องแล้วว่าจำเลยไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ ซึ่งจำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายใน 7 วันนับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด โดยจำเลยอุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพียงอย่างเดียว และขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยต่อไป ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จึงยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาว่าสมควรอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพื่อทำการไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยต่อไปหรือไม่
of 13