คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สำรวจ อุดมทวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7140/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีเช่าซื้อ: ศาลพิจารณาจากมูลคดีและความเสียหาย มิใช่ผลประโยชน์โจทก์
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในครั้งแรก โจทย์ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาอีกฉบับหนึ่ง และศาลชั้นต้นได้ยกคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้นทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวฉบับที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสาม การที่ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉินย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 ใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาอย่างวิธีธรรมดาซึ่งเป็นฉบับที่สองได้อีก แม้ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องฉบับที่สองนั้น โจทก์จะได้ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเข้ามาอีก และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในวันเดียวกันนั้นเอง ก็มีผลเป็นการยกคำขอในเหตุฉุกเฉินและทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วยเท่านั้น จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเช่นดียวกันนั้นอีก ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งเป็นฉบับที่สองที่โจทก์ยื่นไว้ก่อนได้ กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7140/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา แม้ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉินแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิยื่นคำขอใหม่ได้ หากมีมูลเหตุแห่งการคุ้มครอง
เดิมโจทก์ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นยกคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวฉบับที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสาม การที่ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉินย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 นั้นใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับใหม่ลงวันที่ 9 เมษายน 2544 เข้ามาได้อีก แม้ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องฉบับดังกล่าว โจทก์จะได้ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับลงวันที่ 11 เมษายน 2544 เข้ามาอีก และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในวันเดียวกันนั้นเอง ก็มีผลเป็นการยกคำขอในเหตุฉุกเฉินและทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วยเท่านั้น จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเช่นเดียวกันนั้นอีก ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2544 ที่โจทก์ยื่นไว้ก่อนได้ กรณีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
อนึ่ง จำเลยผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้กระทำการยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ ซึ่งโจทก์ผู้เช่าซื้ออ้างว่าเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาเช่าซื้อและทำให้โจทก์เสียหาย เมื่อคดีของโจทก์มีมูลและมีเหตุผลเพียงพอ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) หาจำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-จดข้อความเท็จในเอกสารราชการ การกระทำผิดครอบคลุมบันทึกถ้อยคำ แม้โจทก์ไม่ได้ระบุโดยตรง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แต่การดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็เป็นการดำเนินการสืบเนื่องจากบันทึกถ้อยคำ ในเมื่อทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบันทึกถ้อยคำต่างเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารทั้งหมดที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการในการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเช่นนี้ คำว่าสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างในฟ้องจึงย่อมมีความหมายอยู่ในตัวถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งบันทึกถ้อยคำด้วย เมื่อข้อความในบันทึกถ้อยคำมีข้อความอันเป็นเท็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ความมุ่งหมายของความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคือเพื่อคุ้มครองความเด็ดขาดของอำนาจรัฐแม้กฎหมายกำหนดให้ถือเอาความเสียหายที่อาจมีแก่ผู้อื่นเป็นองค์ประกอบของความผิดอยู่ด้วย แต่ความเสียหายดังกล่าวก็ต้องเป็นความเสียหายในตัวเองจากการแจ้งความเท็จหรือจากการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จนั้นมิใช่ความเสียหายอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ/จดข้อความเท็จ: ความเสียหายในตัวของผู้ถูกอ้างถึง เป็นหลัก แม้จำเลยมีวิธีอื่น และโจทก์อาจได้ประโยชน์
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน มิได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกถ้อยคำ แต่การดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน ก็เป็นการดำเนินการสืบเนื่องจากบันทึกถ้อยคำ ในเมื่อทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบันทึกถ้อยคำต่างเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารทั้งหมดที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการในการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเช่นนี้ คำว่าสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างในฟ้องจึงย่อมมีความหมายอยู่ในตัวถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งบันทึกถ้อยคำด้วย เมื่อการให้ถ้อยคำในบันทึกถ้อยคำเป็นการให้ถ้อยคำในฐานะผู้ซื้อที่ดินซึ่งเป็นบริษัทจำกัด โดยในบันทึกถ้อยคำดังกล่าวระบุว่าประสงค์จะซื้อที่ดินและจดแจ้งด้วยว่าได้ยื่นเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท การให้ถ้อยคำดังกล่าวย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าการดำเนินการของบริษัทได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทตามเอกสารที่ยื่นนั่นเอง ดังนั้นแม้ข้อความในบันทึกถ้อยคำจะมิได้มีข้อความระบุการเข้าประชุมของโจทก์ก็ถือได้ว่ามีการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและมีการแจ้งข้อความให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จแล้ว
ความมุ่งหมายของความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคือ เพื่อคุ้มครองความเด็ดขาดของอำนาจรัฐ แม้กฎหมายกำหนดให้ถือเอาความเสียหายที่อาจมีแก่ผู้อื่นเป็นองค์ประกอบของความผิดอยู่ด้วย แต่ความเสียหายดังกล่าวก็ต้องเป็นความเสียหายในตัวเองจากการแจ้งความเท็จหรือจากการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จนั้น มิใช่ความเสียหายอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล โจทก์ในฐานะเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยทั้งสองอ้างต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โจทก์ย่อมเสียหายอยู่ในตัวแล้ว โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองมีวิธีอื่นที่จะให้ได้มาซึ่งมติของคณะกรรมการบริษัทโดยไม่ต้องปลอมรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือไม่ และโจทก์จะได้รับผลประโยชน์จากการกระทำของจำเลยทั้งสองในรูปของกำไรหรือการลดภาระภาษีหรือไม่ หาเป็นข้อสำคัญแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและบทบัญญัติเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ ศาลฎีกายกข้อกฎหมายเกี่ยวกับโทษสามเท่าที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างประจำของศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบทกำแพงเพชร กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดหนัก จึงมิใช่พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 ไม่อาจลงโทษจำเลยตามกฎหมายมาตราดังกล่าวโดยระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6766/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลจากผู้ต้องหาช่วยคลี่คลายคดียาเสพติด ศาลลดโทษตามเหตุผลพิเศษ
เมื่อถูกจับกุมแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมว่า จำเลยที่ 1 รับเงินจำนวน 140,000 บาท จาก จ. เพื่อไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากประเทศเพื่อนบ้านนำมาส่งมอบให้ที่บ้านของ จ. จึงมีการสอบสวนขยายผล จนในที่สุดสามารถติดตามไปจับกุม จ. จ. ไม่ยอมให้จับกุมแต่ได้ดื่มน้ำยาซักผ้าจนถึงแก่ความตายไปเสียก่อน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน กรณีมีเหตุสมควรลงโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มตรา 100/2
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพข้อหานำเข้าเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดทั้งในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวน แต่จำเลยที่ 1 กลับให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา จนเมื่อสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นประจักษ์พยานเสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 จึงขอถอนคำให้การเดิมเป็นรับสารภาพในข้อนี้ด้วย คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 จึงพอเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ที่ศาลลดโทษให้จำเลยที่ 1 หนึ่งในสามจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาเรื่องยาเสพติด: ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ และการลดโทษตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่าย เมทแอมเฟตามีน จำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสี่คนละตลอดชีวิต จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา นอกจากวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นลงโทษจำเลยทั้งสี่กระทงละ 25 ปี รวม 2 กระทง จำคุกคนละ 50 ปี ก็มิใช่การพิพากษายืน คดีนี้จึงยังไม่ถึงที่สุด จำเลยทั้งสี่มีสิทธิฎีกาได้ แต่ก็ต้องฎีกาในปัญหาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้ และปัญหาเรื่องขอให้ลงโทษสถานเบาซึ่งได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จะฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นมิได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และจำเลยที่ 4 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 รับสารภาพถือว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ข้อเท็จจริงยุติว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนจำนวน 22,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไป จับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 และยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และพนักงานสอบสวน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้อเท็จจริงขัดกับการรับสารภาพ และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดียาเสพติด
จำเลยให้การรับสารภาพฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ อันถือได้ว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเหตุให้สามารถยึดเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6465/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และการริบของกลางตามกฎหมาย
ความผิดฐานมี 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มาตรา 15 วรรคสอง (2) ที่แก้ไขใหม่ แตกต่างจากกฎหมายเดิมในมาตรา 15 วรรคสอง เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดดังกล่าวตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ สำหรับความผิดฐานจำหน่าย 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน บทความผิดสำหรับความผิดทั้งสองฐานจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้เป็นการมิชอบ คดีนี้ 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไปมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 20 กรัม ความผิดทั้งสองฐานต้องด้วยบทกำหนดโทษในมาตรา 66 วรรคสอง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกรณีโทษจำคุกเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายเดิมตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ส่วนโทษปรับตามกฎหมายเดิมมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอสำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกและปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยเช่นกัน เพราะในขณะจำเลยกระทำ ความผิดแม้มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะมีโทษจำคุกและปรับด้วย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า เมื่อไม่ลงโทษปรับย่อมไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายเดิม อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 บัญญัติว่า "?ให้ริบเสียทั้งสิ้น" และ ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น?" บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบวัตถุออกฤทธิ์ เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้โจทก์มิได้ขอให้ริบคีตามีนของกลาง แต่เมื่อโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องแล้วว่า เจ้าพนักงานได้ยึดคีตามีนของกลางไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งริบคีตามีนของกลางได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษแก่จำเลยไว้นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 ระยะเวลารอการลงโทษคือนับแต่วันที่พิพากษาเป็นต้นไป แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีดังกล่าว การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีที่รอการลงโทษมาบวกเข้ากับโทษคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6465/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ การริบของกลาง และการบวกโทษคดีเก่า การพิจารณาโทษที่เหมาะสม
คีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 116 บัญญัติว่า "บรรดาวัตถุออกฤทธิ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น" เมื่อคีตามีนถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และ ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่" บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทั้งที่เป็นบทเฉพาะและบททั่วไปมีความสอดคล้องต้องกัน แสดงให้เห็นว่ามีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบวัตถุออกฤทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ริบคีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่าเจ้าพนักงานได้ยึดคีตามีนของกลางไว้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งริบคีตามีนของกลางได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ริบคีตามีนของกลางด้วยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 13