คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สำรวจ อุดมทวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6391/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การตรวจค้นและรับซื้อทรัพย์สินที่ได้จากการลักทรัพย์ โดยมีพยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับทรัพย์สินที่ถูกขโมย
การที่จำเลยที่ 1 รับอยู่แล้วว่าของกลางถูกยึดจากบ้านจำเลยที่ 1 ตามบันทึกการตรวจค้นก็ปรากฏมีลายมือชื่อผู้ครอบครองบ้านลงรับรองไว้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย โดยมิได้มีการบังคับขู่เข็ญ เหตุที่เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นบ้านจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ซัดทอดว่าลักเอาทรัพย์ไปขายให้แก่จำเลยที่ 1 การไปตรวจค้นบ้านจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นเรื่องของการกลั่นแกล้ง ส่วนการตรวจค้นจะมิชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เพราะเป็นการค้นโดยไม่มีหมายค้นเป็นเรื่องจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถเสพยาเสพติด: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและบทลงโทษที่เหมาะสม
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97ฯ และฉบับที่ 135ฯ ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทเอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทเอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยกับมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ จำเลยคงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้ต่อมามี พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 6)ฯ มาตรา 4 และมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 43 ทวิ และมาตรา 157 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 4)ฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน และมี พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ฉบับที่ 8)ฯ มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 127 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ฉบับที่ 4)ฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย แต่ก่อนการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 26 ยกเลิกความในมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ เป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิมจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยและให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเรียกสำนวนสอบสวนเพื่อวินิจฉัยคดีอาญา และสิทธิจำเลยในการซักค้านพยาน
ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 175 การดำเนินการของศาลดังกล่าวมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และเมื่อมิใช่การสืบพยาน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเรียกสำนวนสอบสวน, การรับฟังพยาน, และการโต้แย้งพยานหลักฐานในคดีอาญา
ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบคำวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 175 การดำเนินการของศาลดังกล่าวมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และเมื่อมิใช่การสืบพยาน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาสั่งจองรถ: การคืนรถยนต์และเงินมัดจำเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมตามกฎหมาย
โจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยได้วางเงินมัดจำเป็นเช็คจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งได้ตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ยกเลิกการสั่งจองและจำเลยได้คืนเงินมัดจำที่ได้รับไว้ตามเช็คให้แก่โจทก์แล้ว แสดงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเลิกสัญญาการจองรถที่มีอยู่ต่อกันนั้นโดยปริยาย กรณีเช่นนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยวางเงินมัดจำเป็นจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ยกเลิกการสั่งจอง จำเลยคืนเงินให้ 300,000 บาท ส่วนเงินอีก 400,000 บาท จำเลยไม่คืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน 400,000 บาทแก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาโดยชัดแจ้งว่าโจทก์นำรถไปแลกเปลี่ยนเพื่อให้จำเลยตีราคามูลค่าเป็นเงิน และในใบสั่งจองรถก็ระบุให้รถยนต์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยครั้งแรกเมื่อออกรถ แสดงให้เห็นว่าการที่โจทก์จำเลยตีราคารถยนต์บีเอ็มดับบลิวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย การที่จำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไว้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สละการครอบครองให้รถตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยเด็ดขาดในทันทีไม่ เมื่อผลของการเลิกสัญญาทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม และรถยนต์ที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยอันเป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยยังอยู่ที่จำเลยและอยู่ในวิสัยที่จะส่งมอบคืนแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องรับรถยนต์ดังกล่าวคืน แม้โจทก์มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ ศาลก็ชอบพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 391 ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหลังรวมกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุน: ผลผูกพันต่อลูกหนี้และข้อจำกัดทางกฎหมาย
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 จัตวา วรรคแรก บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการของบริษัทใดมีข้อเสนอจะควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่นหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่สถาบันการเงินอื่นเป็นการเร่งด่วน? ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องควบกิจการหรือโอนกิจการเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและประโยชน์ของประชาชน ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาอนุญาตให้ดำเนินการได้โดยจะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ มาตรา 67 ตรี วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรีแล้วให้ดำเนินการโอนกิจการได้โดยการโอนสิทธิเรียกร้อง ในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อได้ความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบการดำเนินการตามโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. โจทก์ และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 67 จัตวา และ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38 จัตวา จึงเป็นการรวมกิจการโดยผลของกฎหมาย มิใช่การรวมกิจการและโอนสิทธิเรียกร้องโดยทั่วไป ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306
แม้ประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมาย จ. 4 ระบุว่า ให้โอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ส. และข้อ 3 ระบุว่า เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 เสร็จสิ้น ให้โจทก์และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนให้แก่กระทรวงการคลัง เมื่อโอนสินทรัพย์และหนี้สินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 บัญญัติว่า "การธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น (ก) ให้สินเชื่อ (ข) ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด (ค) ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ "ให้สินเชื่อ" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว การเช่าซื้อจึงมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากการควบกิจการเงินทุนและข้อยกเว้นการบอกกล่าวหนี้สิน
การควบกิจการระหว่างบริษัทเงินทุน ว. กับโจกท์เป็นการรวมกิจการโดยผลของกฎหมาย มิใช่การรวมกิจการและโอนสิทธิเรียกร้องโดยทั่วไป ซึ่งมาตรา 67 ตรี วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินุทน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ บัญญัติว่าเมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรี (ว่าการกระทรวงการคลัง) แล้วให้ดำเนินการโอนกิจการได้โดยการโอนสิทธิเรียกร้อง ในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างบริษัทเงินทุน ว. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306
ธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.การพาณิชย์ฯ มาตรา 4 การเช่าซื้อมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้ ทั้งหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. มีข้อตกลงว่า สินทรัพย์ตามประกาศกระทรวงการคลังของโจทก์และรวมตลอดถึงสินทรัพย์ที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทเงินทุน 12 บริษัท ไม่รวมถึงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อและสิทธิเรียกร้องในเงินกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์ แสดงว่าโจทก์ไม่ได้โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ธนาคาร ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4927/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งริบของกลางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรอการลงโทษจำคุกโดยมีเงื่อนไข
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานผลิตกัญชาและมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ฟ้องฐานเสพกัญชา โจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบบ้องกัญชาที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานเสพกัญชาหาได้ไม่ แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบได้และควรคืนให้แก่เจ้าของ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบบ้องกัญชาของกลางนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่จากการเสพยาขณะขับรถ
แม้ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ จะมีผลใช้บังคับแล้วในวันที่จำเลยกระทำความผิด แต่มาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้กำหนดต่อไปว่า บทบัญญัติในหมวด 3 จะให้ใช้บังคับเมื่อใด ในท้องที่ใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ออกประกาศให้ใช้บังคับบทบัญญัติหมวด 3 แก่ท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมาซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2546 เป็นต้นไป แต่เมื่อในวันดังกล่าวจำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้วมิใช่เป็นเพียงผู้ต้องหากรณีของจำเลยจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 19 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในหมวด 3 ดังกล่าวได้ ดังนั้น จึงไม่อาจจะนำบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวมาใช้กับกรณีของจำเลย
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา... ด้วยเหตุนี้เองเมื่อจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับขี่ จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนดหกเดือนนับแต่วันพิพากษา จึงเป็นไปโดยชอบตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลรวมกรณีหนี้เกี่ยวข้องกัน: ธนาคารฟ้องหนี้หลายประเภทจากสินเชื่อเดียวกัน ชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์สูงสุดได้
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าซึ่งทำได้หลายวิธี จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับโจทก์แม้จะเรียกชื่อวิธีการก่อให้เกิดหนี้ แต่ก็ล้วนแต่เป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์นั่นเอง มูลหนี้ตามฟ้องทั้งสองประเภทจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงนำสินเชื่อทุกชนิดมารวมกันเป็นทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องมาเป็นคดีเดียวกันได้ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมโดยแยกเป็นมูลหนี้แต่ละประเภท จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย
of 13