คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สำรวจ อุดมทวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ต้องเพิ่มโทษปรับด้วย ศาลฎีกายกประเด็นความสงบเรียบร้อย
ความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ ที่มีโทษจำคุกและปรับนั้น มาตรา 100/1 กำหนดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ ดังนั้น การเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยตามมาตรา 97 ซึ่งให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง จึงต้องเพิ่มโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำคุกเพียงอย่างเดียวโดยไม่เพิ่มโทษปรับด้วยจึงไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาปัญหานี้จึงเพิ่มโทษปรับที่จะลงแก่จำเลยไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์ฎีกา: ค่าเสียหายแยกรายบุคคล, ข้อโต้แย้งข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกา
โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพัง ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำละเมิด แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ตามแต่ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นราย ๆ ไป ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทั้งสี่แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุมิใช่ด้วยการจ้างวานใช้สอยจากจำเลยที่ 2 เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาเช่นกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถา: การขยายเวลาสาบานตัว & การพิสูจน์ฐานะทางการเงิน
คำร้องขอขยายระยะเวลาสาบานตัวในการดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า จำเลยไม่สามารถมาสาบานพร้อมขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา จึงขอขยายระยะเวลาในการสาบานตัวออกไป 45 วัน โดยไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่สามารถมาสาบานตัวได้ กรณีถือได้ว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาให้ได้ ดังนั้น คำร้องขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย โดยจำเลยไม่ได้สาบานตัวให้คำชี้แจงว่า จำเลยไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและแจ้งเจ้าของรวม มิฉะนั้นไม่เกิดสิทธิ
จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. แบ่งที่ดินมรดกแก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ม. โดยให้เป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน 2 ไร่ 3 งาน5 ตารางวา และของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา คิดเป็นเงินรวม313,833.32 บาท แม้จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แยกกันเพราะเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งห้าตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมีราคา 313,833.32 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องแย้งจึงมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ละส่วนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก เจ้าของรวมสิทธิใช้ร่วมกัน การแบ่งแยกทรัพย์สินและอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดิน มีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกัน และเจ้าของรวมคนอื่นๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้นๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยัง ก. เจ้าของรวมว่า ไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์แทน ก. อีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เมื่อจำเลยทั้งห้ามมิได้บอกกล่าว จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทน ก. ผู้มีสิทธิครอบครองได้และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
อุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อโทษอาญา ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 มาตรา 26 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 มาตรา 67 และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ตามกฎหมายเดิมมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันถึงหนึ่งแสนบาท จะเห็นได้ว่าโทษจำคุกขั้นสูงตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91 เดิม แม้ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะได้กำหนดให้มีโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับแต่กต่างจากบทบัญญัติเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ กรณีโทษจำคุกจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยในส่วนนี้
ส่วนกำหนดโทษนั้น ตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่า แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขโทษยาเสพติด: ใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังได้ หากเป็นคุณแก่จำเลย และศาลล่างลงโทษไม่ตรงตามกฎหมายเดิม
ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ต้องตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) โดยลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 19 ที่ยกเลิกความในมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่งตามกฎหมายเดิม โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำคุกในคดีครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด: การพิจารณาโทษสามเท่าสำหรับข้าราชการและบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่
จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน 7,000 เม็ด น้ำหนัก 644.30 กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 143.67 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตแม้จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม),66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้นซึ่งคงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษทวีคูณและการแก้ไขโทษที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการ ซึ่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น คงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 50 ปี และที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวมีกำหนด 45 ปี นั้น ไม่ต้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) โดยลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
of 13