พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด, ความผิดของเจ้าพนักงาน, และการสนับสนุนความผิด – การพิพากษาโทษและขอบเขตความรับผิด
ความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.มาตราการในการปราบปรามผุ้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ที่ปรากฏตามหมายเหตุท้าย พ.ร.บ. นี้ว่า เพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายดังกล่าวนั้นโดยเฉพาะมาตราส่วนโทษสำหรับผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นการเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลตามมาตรา 10 เป็นมาตรการที่จะกำราบปราบปรามผู้กระทำผิดที่มีหน้าที่ต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นในสังคม จากความมุ่งหมายดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะอยู่ในระหว่างพักราชการแต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีฐานะเป็นราชการ จึงยังเป็นบุคคลตามมาตรา 10 ที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.พักราชการยังต้องระวางโทษสามเท่าคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการตำรวจ แม้ขณะเกิดเหตุถูกสั่งพักราชการ แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีฐานะเป็นข้าราชการอยู่มีหน้าที่ต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่โทษจำคุกอย่างสูงที่สุดต้องไม่เกินห้าสิบปี ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสและรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของบิดามารดาและการสืบสันดาน
แม้ตามสำเนาทะเบียนการสมรสจะปรากฏลายมือชื่อฝ่ายชายคือ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องขอจดทะเบียนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ในบันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรสดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 และผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกดังกล่าวได้ทำในวันและเวลาต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุถึงทำให้การจดทะเบียนสมรสไม่มีผลสมบูรณ์เป็นโมฆะแต่อย่างไร
ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า ถ้าผู้ที่บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ถ้าไม่มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ได้ และมาตรา 1585 (เดิม) บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 22 แล้วจะเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดแต่เพียงว่า การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเท่านั้น มิได้บังคับว่าคำยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างไร ดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 กับ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนหย่าและแยกกันอยู่โดยมีบันทึกหลังทะเบียนหย่าว่าให้จำเลยที่ 1 รับเลี้ยงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วน ม. รับเลี้ยงบุตรคนเล็ก และต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายและผู้ตายได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งจำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้แก่ผู้ตายโดยที่ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 บิดาเป็นผู้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแต่เพียงผู้เดียว โดยเห็นว่าตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่ามีผลทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แม้ข้อความในบันทึกหลังทะเบียนหย่ามิอาจถือได้ว่า ม. ตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏว่านับแต่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเวลากว่า 29 ปี ม. ก็มิได้ว่ากล่าวคัดค้านการรับบุตรบุญธรรม และยังทำหนังสือยืนยันว่าทราบเรื่องและให้ความยินยอมมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และเหตุที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เพราะขณะที่จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 ม. ตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในการเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงการให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวด้วยและไม่ขอคัดค้าน รวมทั้งยังขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยยืนยันการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม พฤติการณ์จึงฟังได้ว่า ม. ได้ให้ความยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรมของผู้ตาย การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า ถ้าผู้ที่บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ถ้าไม่มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ได้ และมาตรา 1585 (เดิม) บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 22 แล้วจะเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดแต่เพียงว่า การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเท่านั้น มิได้บังคับว่าคำยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างไร ดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 กับ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนหย่าและแยกกันอยู่โดยมีบันทึกหลังทะเบียนหย่าว่าให้จำเลยที่ 1 รับเลี้ยงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วน ม. รับเลี้ยงบุตรคนเล็ก และต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายและผู้ตายได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งจำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้แก่ผู้ตายโดยที่ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 บิดาเป็นผู้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแต่เพียงผู้เดียว โดยเห็นว่าตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่ามีผลทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แม้ข้อความในบันทึกหลังทะเบียนหย่ามิอาจถือได้ว่า ม. ตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏว่านับแต่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเวลากว่า 29 ปี ม. ก็มิได้ว่ากล่าวคัดค้านการรับบุตรบุญธรรม และยังทำหนังสือยืนยันว่าทราบเรื่องและให้ความยินยอมมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และเหตุที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เพราะขณะที่จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 ม. ตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในการเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงการให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวด้วยและไม่ขอคัดค้าน รวมทั้งยังขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยยืนยันการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม พฤติการณ์จึงฟังได้ว่า ม. ได้ให้ความยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรมของผู้ตาย การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการอนุมัติจัดซื้อที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ
จำเลยที่ 9 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ลงนามอนุมัติจัดซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นหนังสือประกอบหลักสูตรเท่านั้น โดยวิธีกรณีพิเศษ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อและซื้อจากร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ซึ่งมิใช่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อันเป็นการขัดระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2522 แม้หนังสือที่ขออนุมัติจัดซื้อได้ผ่านการตรวจสอบของจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำเลยร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นปลัดจังหวัด และจำเลยร่วมที่ 3 ซึ่งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นก็ตาม แต่จำเลยที่ 9 เป็นผู้อนุมัติชั้นสุดท้ายต้องไตร่ตรองให้ละเอียดรอบคอบ ไม่ใช่เพียงแต่ลงนามอนุมัติผ่านไปตามความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น เมื่อการอนุมัติจัดซื้อเป็นเหตุให้โจทก์ซื้อหนังสือพิพาทแพงไป การกระทำของจำเลยที่ 9 จึงเป็นความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ส่วนที่จำเลยที่ 9 ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ คดีสำหรับจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 9 ไม่อาจแก้อุทธรณ์เพื่อให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 9 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 9 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยที่ 9 ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ คดีสำหรับจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 9 ไม่อาจแก้อุทธรณ์เพื่อให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 9 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 9 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: ความร่วมมือในการจัดการมรดก และเหตุผลในการถอน
ป.พ.พ. มาตรา 1716 บัญญัติว่า หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว และมาตรา 1728 (2) บัญญัติว่า ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1716 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน คงมีแต่ฝ่ายผู้ร้องที่ขวนขวายจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกและติดต่อฝ่ายผู้คัดค้านเพียงฝ่ายเดียวแม้ผู้คัดค้านพอมีเหตุผลในข้อขัดข้อง โดยเฉพาะกรณีที่ไม่ไปตามนัดเพื่อร่วมจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพราะเหตุติดไปท่องเที่ยวตามที่ได้ซื้อตั๋วทัวร์ไว้ล่วงหน้า แต่เมื่อผู้คัดค้านตอบขัดข้องแล้ว ก็น่าจะเป็นฝ่ายกำหนดวันสะดวกแจ้งแก่ฝ่ายผู้ร้องบ้าง หาใช่ถือเป็นภาระหน้าที่ของผู้ร้องฝ่ายเดียวไม่ เพราะเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องร่วมมือกันกระทำภารกิจให้ลุล่วง นอกจากนี้เมื่อพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อผู้ร้องได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตายเสนอศาลชั้นต้น ซึ่งผู้คัดค้านได้ไปขอถ่ายสำเนาแล้วคงค้านแต่เพียงทรัพย์สินรายการเดียวว่าไม่ใช่มรดกของผู้ตาย หากเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านและเบิกความรับว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดอยู่ในความครอบครองของผู้ร้อง กับตอบคำถามค้านทนายผู้ร้องโดยรับว่าผู้คัดค้านไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องกับกิจการร้านค้าของผู้ตายนับแต่ปี 2541 และผู้คัดค้านมีอายุถึง 80 ปี ในปี 2547 แล้วเช่นนี้ หากยังคงให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การจัดการมรดกจะยังคงมีปัญหาและไม่ลุล่วงตามที่ควรกรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8589/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ยาเสพติด ลดโทษจากคำรับสารภาพ
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยร่วมกับพวกนำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7478/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ผลิตและขายยาปลอม ต้องลงโทษฐานผลิตยาปลอมตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด
ความผิดฐานผลิตยาแผนปัจจุบัน ยาปลอม และยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยากับความผิดฐานขายและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาปลอมและที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา เมื่อยาที่จำเลยผลิต ขาย และมีไว้เพื่อขายดังกล่าวล้วนเป็นจำนวนเดียวกันและถูกเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานผลิตยาปลอมตาม พ.ร.บ. ยาฯ มาตรา 117 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์เรียงกระทงลงโทษจำเลยมานั้นจึงเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7373/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทกรรมการบริษัท: ศาลฎีกายกประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้องและวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยโดยกลฉ้อฉลแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอุดรธานีว่า บริษัท อ. ได้ประชุมคณะกรรมการบริษัทและประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2537 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนเป็นจำเลยเพียงผู้เดียว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอุดรธานีจึงจดทะเบียนให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. และให้จำเลยเพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนตามคำขอของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. ดังเดิม จำเลยและจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยไม่เคยทำกลฉ้อฉลหรือหลักฐานเท็จ โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. ตามมติที่ประชุม คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกันว่า บริษัท อ. ได้ประชุมคณะกรรมการบริษัทและประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2537 หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท อ. ครั้งที่ 1/2537 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7373/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องในคดีเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยโดยกลฉ้อฉลแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอุดรธานีว่า บริษัท อ. ได้ประชุมคณะกรรมการบริษัทและประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2537 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนเป็นจำเลยเพียงผู้เดียว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอุดรธานีจึงจดทะเบียนให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. และให้จำเลยเพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนตามคำขอของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. ดังเดิม จำเลยและจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยไม่เคยทำกลฉ้อฉลหรือหลักฐานเท็จ โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. ตามมติที่ประชุม คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกันว่า บริษัท อ. ได้ประชุมคณะกรรมการบริษัทและประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2537 หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท อ. ครั้งที่ 1/2537 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติด: ข้อมูลสนับสนุนการขยายผลจับกุมต้องมีหลักฐานประกอบ จึงจะลดโทษได้
การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นลอยๆ โดยมิได้มีพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ และพนักงานสอบสวน อันจะเป็นเหตุที่จะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2