พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินต่างจากสิทธิยึดหน่วง ต้องมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวกับทรัพย์สิน
จำเลยผู้เป็นลูกหนี้เงินกู้มอบโฉนดที่ดินให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืนโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวนั้นเอง แต่สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเป็นเพียงบุคคลสิทธิบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาไม่สามารถใช้ยันแก่บุคคลอื่นได้ ส่วนสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 หมายถึง การที่ผู้ครอบครองได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นหนี้ที่ผู้ร้องมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่ผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้คืนเท่านั้นหาได้เป็นคุณแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยที่ดินโฉนดดังกล่าวไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดิน
ข้อเท็จจริงที่ว่าจะมีการนำโฉนดที่ดินที่มอบให้ผู้ร้องยึดถือไปจำนองเป็นประกันการกู้เงินตามหนังสือสัญญากู้นั้นด้วย เป็นข้ออ้างว่าผู้ร้องมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยโฉนดที่ดิน ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงตามกฎหมาย ที่จะสนับสนุนว่าผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วง ผู้ร้องต้องอ้างมาในคำร้องด้วย จะนำสืบในชั้นไต่สวนคำร้องหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นเพียงรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในคำร้องของผู้ร้องแม้จะเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยก็ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ข้อเท็จจริงที่ว่าจะมีการนำโฉนดที่ดินที่มอบให้ผู้ร้องยึดถือไปจำนองเป็นประกันการกู้เงินตามหนังสือสัญญากู้นั้นด้วย เป็นข้ออ้างว่าผู้ร้องมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยโฉนดที่ดิน ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงตามกฎหมาย ที่จะสนับสนุนว่าผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วง ผู้ร้องต้องอ้างมาในคำร้องด้วย จะนำสืบในชั้นไต่สวนคำร้องหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นเพียงรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในคำร้องของผู้ร้องแม้จะเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยก็ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ, ศาลแก้ไขคำพิพากษาได้เฉพาะในชั้นฎีกา
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ เมื่อตามคำสั่งและประกาศของโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี แม้จะบวกค่าอัตราความเสี่ยงร้อยละ 2 ต่อปี ก็เป็นอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี มิใช่อัตราร้อยละ 16.5ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากจำเลยได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีเท่านั้น
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่า ผู้กู้ยืมยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ยืมให้แก่ผู้ให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นโดยตกลงคิดดอกเบี้ยขณะทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
แม้ในทางปฏิบัติโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญามิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3(ก) ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้เพียงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43052 และ 43053 ออกขายทอดตลาด เป็นให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43051และ 43052 ออกขายทอดตลาด แต่ขณะโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวโจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143วรรคหนึ่ง มิใช่อำนาจของศาลชั้นต้น
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่า ผู้กู้ยืมยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ยืมให้แก่ผู้ให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นโดยตกลงคิดดอกเบี้ยขณะทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
แม้ในทางปฏิบัติโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญามิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3(ก) ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้เพียงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43052 และ 43053 ออกขายทอดตลาด เป็นให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43051และ 43052 ออกขายทอดตลาด แต่ขณะโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวโจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143วรรคหนึ่ง มิใช่อำนาจของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยกู้ยืมเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ ศาลแก้ไขคำพิพากษาการบังคับจำนอง
สัญญากู้ยืมเงินระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ที่โจทก์กำหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ความจริงตกลงคิดดอกเบี้ยขณะทำสัญญาไม่ถึงอัตราดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ในทางปฏิบัติที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิเสธการชำระหนี้ตามสัญญา มิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกขณะทำสัญญาเกินอัตราตามประกาศของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ดอกเบี้ยตามสัญญาจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุหมายเลขโฉนดที่ดินซึ่งให้บังคับจำนองผิดพลาด โจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้น
ในทางปฏิบัติที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิเสธการชำระหนี้ตามสัญญา มิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกขณะทำสัญญาเกินอัตราตามประกาศของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ดอกเบี้ยตามสัญญาจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุหมายเลขโฉนดที่ดินซึ่งให้บังคับจำนองผิดพลาด โจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปัญหาทางการค้าของผู้ซื้อไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้ผู้ขายต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยซื้อผ้าไปจากโจทก์ การที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพราะผู้ซื้อผ้าจากจำเลยอีกทอดหนึ่งมีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย เป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้า ซึ่งการประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนเป็นปกติทางการค้าย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายผ้า: จำเลยต้องรับผิดชำระราคาผ้าคงเหลือ แม้จะอ้างปัญหาทางการค้าและเหตุสุดวิสัย
จำเลยผู้ซื้อได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ผู้ขายขอคืนผ้าแต่โจทก์ไม่ได้ทำคำสนองรับเพียงแต่โจทก์ให้จำเลยช่วยขายผ้าให้บุคคลอื่น โจทก์จะรับผ้าคืนก็ต่อเมื่อมีบุคคลหรือลูกค้าอื่นรับซื้อผ้าไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อโจทก์ขายผ้าได้บางส่วนจึงให้พนักงานของโจทก์มารับผ้าไปจากจำเลย ก็ไม่ได้หมายความว่า โจทก์รับคืนผ้าทั้งหมดเพียงแต่ตกลงกันว่าโจทก์จะรับผ้าไปเมื่อขายผ้าได้บางส่วนเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์ช่วยจำเลยขายผ้าส่วนที่เหลือ ไม่ได้ตกลงยินยอมรับคืนผ้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าผ้าที่เหลือให้แก่โจทก์
การที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้เนื่องจากบริษัท ธ. ผู้ซื้อผ้าจากจำเลยมีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย ก็เป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้าประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนอันเป็นปกติทางการค้าย่อมเกิดขึ้นได้เสมอไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้เนื่องจากบริษัท ธ. ผู้ซื้อผ้าจากจำเลยมีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย ก็เป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้าประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนอันเป็นปกติทางการค้าย่อมเกิดขึ้นได้เสมอไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางค่าธรรมเนียมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานจำเลยเพราะเหตุไม่มีพยานมาเบิกความ เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ด้วย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์มาวาง จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวหรือหลายกรรม: การทำลายทรัพย์สินและลักทรัพย์จากรถยนต์หลายคัน
ฎีกาของจำเลยที่ว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวแม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง,225
จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คัน ด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลากัน แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิด ในรถยนต์แต่ละคันก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคันมิใช่กรรมเดียว
จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คัน ด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลากัน แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิด ในรถยนต์แต่ละคันก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคันมิใช่กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ต่อรถยนต์หลายคันถือเป็นกรรมต่างกัน แม้จะเกิดจากเหตุเดียวกัน
จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ถึง 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คันดังกล่าวด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลา แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิดในรถยนต์แต่ละคันก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคัน มิใช่ความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานคดีแบ่งแยกที่ดินไม่ชอบ เพราะข้อเท็จจริงยังไม่ยุติและต้องมีการสืบพยานเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษาโดยสอบถามโจทก์และจำเลย โดยต่างคนต่างแถลงตามข้ออ้างและข้อเถียงของตน มิได้แถลงรับข้อเท็จจริงอันสำคัญในประเด็นที่โต้แย้ง ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติ และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคำให้การและคำแถลงของคู่ความยังไม่เพียงพอวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการหย่าเป็นพินัยกรรมตัดมรดกหรือไม่? ศาลฎีกาพิจารณาผลกระทบต่อการจัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่า ข้อตกลงการหย่ามีข้อความเป็นพินัยกรรมหรือไม่ ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่า ข้อตกลงการหย่าเป็นพินัยกรรมหรือไม่หรือหากจะฟังว่าเป็นพินัยกรรมอันจะทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย ผลของคดีที่ศาลไม่ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากผู้คัดค้านที่ 2 มิได้อุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่า ข้อตกลงการหย่าเป็นพินัยกรรมตัดผู้คัดค้านที่ 2 มิให้รับมรดกจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีสิทธิ์ฎีกาต่อมา