คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อในฐานะผู้แทนของหน่วยงาน
จำเลยให้การว่าจำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าการฟ้องคดีของพันตำรวจเอกร.เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่าที่พันตำรวจเอกร.ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้นพันตำรวจเอกร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลยเมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอกร.เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอกร.เสียหายและคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอกร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งคดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอกร.ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอกร.แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในสังกัด และสิทธิไล่เบี้ยของนิติบุคคล
จำเลยให้การว่า จำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่า การฟ้องคดีของพันตำรวจเอก ร. เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์ เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ ดังนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่า ที่พันตำรวจเอก ร. ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้น พันตำรวจเอก ร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลย เมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอก ร. เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอก ร. เสียหาย และคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอก ร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอก ร. ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอก ร. แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7973/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาในคดีที่คู่ความเป็นจำเลยร่วมกัน
คดีที่ธนาคารฟ้องโจทก์กับจำเลยคดีนี้ แม้โจทก์กับจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันในคดีดังกล่าวก็ตาม ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7973/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนกับคู่ความร่วม และสิทธิช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้เดิม
คดีที่ธนาคารฟ้องโจทก์กับจำเลยคดีนี้แม้โจทก์กับจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันในคดีดังกล่าวก็ตามก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วยคำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7480/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีขาดนัดและการวินิจฉัยอำนาจฟ้องจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
มูลคดีเดียวกัน จำเลยเคยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทและศาลได้พิพากษาขับไล่โจทก์แล้ว แม้คำพิพากษาในคดีดังกล่าวเป็นเรื่องคำพิพากษาในคดีขาดนัดและมีการขอให้พิจารณาใหม่ แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วจึงมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
ในคดีดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกับจำเลย เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ไถ่ถอน ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 จึงต้องฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และโจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลย เมื่อจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์เช่าต่อไป โจทก์ก็ต้องออกจากที่ดินพิพาท จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ ดังนี้แม้ประเด็นแห่งคดีทั้งสองจะเป็นคนละเรื่อง แต่ก็เกิดจากมูลคดีเดียวกัน ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นพิจารณาเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีโดยไม่จำต้องสืบพยานต่อไปและงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วศาลล่างทั้งสองนำเอาคำพิพากษาคดีดังกล่าวมาวินิจฉัยโดยเห็นว่าผูกพันคู่ความในคดีนี้ จึงชอบแล้ว
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลเมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้เพียงพอที่จะวินิจฉัยโดยไม่จำต้องสืบพยานต่อไป ศาลก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7480/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนหน้า & อำนาจฟ้องในคดีแพ่ง
มูลคดีเดียวกันจำเลยเคยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทและศาลได้พิพากษาขับไล่โจทก์แล้วแม้คำพิพากษาในคดีดังกล่าวเป็นเรื่องคำพิพากษาในคดีขาดนัดและมีการขอให้พิจารณาใหม่แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วจึงมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่ง ในคดีดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกับจำเลยเมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ไถ่ถอนที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา492จึงต้องฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและโจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยเมื่อจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์เช่าต่อไปโจทก์ก็ต้องออกจากที่ดินพิพาทจำเลยจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ดังนี้แม้ประเด็นแห่งคดีทั้งสองจะเป็นคนละเรื่องแต่ก็เกิดจากมูลคดีเดียวกันดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นพิจารณาเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีโดยไม่จำต้องสืบพยานต่อไปและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วศาลล่างทั้งสองนำเอาคำพิพากษาคดีดังกล่าวมาวินิจฉัยโดยเห็นว่าผูกพันคู่ความในคดีนี้จึงชอบแล้ว เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลเมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้เพียงพอที่จะวินิจฉัยโดยไม่จำต้องสืบพยานต่อไปศาลก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำที่ถูกห้ามตามกฎหมาย: ประเด็นสัญญาเช่าและการเช่าช่วง
โจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกับคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3772/2529 เมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยด้วยการนำตึกแถวพิพาทไปให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนั้นย่อมผูกพันโจทก์จำเลยและผู้ร้องสอดตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบและฎีกามาว่า การที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงตึกแถวพิพาท โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะมีบันทึกท้ายหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนด 25 ปี และสัญญาเช่าตึกแถวยินยอมให้โจทก์นำตึกแถวพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ และแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาตัวแทนที่ดูประหนึ่งว่ามิได้เกี่ยวกับประเด็นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3772/2529 ของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ตามเนื้อหาแห่งคดีที่โจทก์นำสืบและเนื้อความแห่งฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงว่าโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยในการที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าตึกแถวพิพาท ซึ่งเป็นการโต้เถียงในประเด็นเดียวกันกับในคดีดังกล่าวนั่นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ขาดประโยชน์ฟ้อง: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ ห้ามฟ้องประเด็นเดียวกันซ้ำ
โจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกับคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3772/2529 เมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยด้วยการนำตึกแถวพิพาทไปให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนั้นย่อมผูกพันโจทก์จำเลยและผู้ร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา145 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบและฎีกามาว่า การที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงตึกแถวพิพาท โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะมีบันทึกท้ายหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนด25 ปี และสัญญาเช่าตึกแถวยินยอมให้โจทก์นำตึกแถวพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ และแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาตัวแทนที่ดูประหนึ่งว่ามิได้เกี่ยวกับประเด็นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่3772/2529 ของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ตามเนื้อหาแห่งคดีที่โจทก์นำสืบและเนื้อความแห่งฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงว่าโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยในการที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าตึกแถวพิพาท ซึ่งเป็นการโต้เถียงประเด็นเดียวกันกับในคดีดังกล่าวนั่นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนอง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นลูกหนี้โจทก์ และคำพิพากษาคดีก่อนผูกพัน
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่า จำเลยที่ 1รับโอนที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันคู่ความจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสีย ดังนั้นในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 นำไปจำนองกับจำเลยที่ 3 ย่อมมิอาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มาใช้บังคับ โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทของจำเลยที่ 1 และการจำนองที่พิพาทของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาฎีกา: ฟ้องซ้ำ-ที่ดินพิพาทเดิม ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
ปัญหาว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันคู่ความในคดีนี้หรือไม่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้และยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ โดยกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นกรณีปรากฏเหตุที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้โดยไม่ต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดที่ 384 ศาลฎีกาพิพากษาคดีดังกล่าวว่านายชิตขายที่ดินให้โจทก์เฉพาะตามโฉนด ไม่ได้ขายที่พิพาทอันเป็นที่งอกให้แก่โจทก์ด้วย การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าเพิ่งทราบว่านายชิตมอบที่ดินให้ไม่ครบตามโฉนดจึงขอให้จำเลยสั่งมอบที่ดินให้ครบตามโฉนด แต่ในเนื้อหาของคำฟ้องยังบรรยายว่าหากมีที่งอกริมตลิ่งหน้าที่ดินโฉนดที่ 384 ก็ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เมื่อนายชิตขายที่ดินนี้ให้โจทก์ก็มิได้สงวนสิทธิในที่งอกนั้นที่งอกจึงรวมอยู่ในที่ดินที่ซื้อขายด้วยขอให้บังคับจำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่งอก แผนที่สังเขปท้ายฟ้องคดีนี้กับท้ายฟ้องคดีก่อนก็เหมือนกัน แสดงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยส่งมอบที่พิพาทอันเป็นที่งอกที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วนั้นแก่โจทก์อีกเช่นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกให้ถือว่าคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวผูกพันโจทก์จำเลย โจทก์จะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่นอีกดังเช่นคดีนี้หาได้ไม่
of 12