คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว: ผลกระทบต่อฎีกาที่ยื่นไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ดังนั้น โจทก์ย่อมขอถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านแล้ว การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ไม่อาจที่จะนำฎีกาของจำเลยทั้งสองมาพิจารณาได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทายาทในหนี้ของผู้ตาย แม้มีการยึดทรัพย์สินบางส่วนไปชำระหนี้แล้ว
คดีก่อนเป็นคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กับขอให้จำเลยคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้หักไว้ ณ ที่จ่ายเกินตลอดจนขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนให้การต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิด แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ในคดีก่อนนั้น ส. ยังมิได้ชำระแก่โจทก์โดยครบถ้วน และ ส. ได้ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. มีหน้าที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์โดยจะต้องนำทรัพย์สินกองมรดกของ ส. ที่ตกทอดแก่จำเลยทั้งห้ามาชำระหนี้แก่โจทก์ และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทของ ส. ร่วมกันชำระค่าภาษีอากรที่ ส. ยังมิได้ชำระแก่โจทก์ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับประเด็นในคดีก่อนที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และแม้จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. ผู้ตาย แต่สภาพแห่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. ให้รับผิดในหนี้ที่ ส. มีอยู่แล้วแก่โจทก์ซึ่งเป็นความรับผิดของทายาท โดยเฉพาะต่อกองมรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมิใช่เรื่องที่คู่ความเดียวกันจะรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนอันถึงที่สุดแล้ว และแม้คดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าว ศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว โดยที่พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง โดยให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่ ส. โจทก์ในคดีนั้นทั้งหมด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้เองตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา แต่ก็หามีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปไม่ ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ผู้ตายก็เพื่อให้ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรค้างของ ส. ที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิดในฐานะทายาทของ ส. เจ้ามรดก และหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้ารับผิดเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานได้ประเมินให้ ส. ชำระ ส. ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว ส. ก็ได้อุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางโดยฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยขอให้ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดโดยพิพากษาแก้เพียงให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่ ส. ทั้งหมด หนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเป็นหนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นผู้มีหน้าที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรดังกล่าวโดยเด็ดขาดแล้วและคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์คดีนี้และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาในคดีนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทของ ส. ซึ่งต้องรับไปซึ่งทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ อันเป็นกองมรดกของผู้ตาย และอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ อันเป็นกองมรดกของผู้ตาย และอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานของโจทก์ดุจเดียวกัน
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ผู้ตายซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทของ ส. ให้รับผิดในหนี้ของ ส. ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใดหรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจสั่งยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดีต่อไป จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทรับผิดหนี้ภาษีอากรของผู้ตาย แม้ไม่มีทรัพย์มรดก หรือได้รับมรดกไม่ครบถ้วน
เดิม ส. เคยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ และเป็นประเด็นที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิด แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ยังมิได้ชำระและ ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวโดยนำทรัพย์สินกองมรดกที่ตกทอดแก่จำเลยทั้งห้ามาชำระหนี้แก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีอากรของ ส. แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับในคดีก่อน แม้จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. ผู้ตายก็ตาม แต่สภาพแห่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. ให้รับผิดในหนี้ที่ ส. มีอยู่แล้วแก่โจทก์ ซึ่งเป็นความรับผิดของทายาทโดยเฉพาะต่อกองมรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมิใช่เป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีเดิมที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยถึงที่สุด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์ไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปโดยรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ก็เพื่อให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์ เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของ ส. โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดชำระหนี้ภาษีอากรค้างของ ส. ได้ และคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์ และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งดุจเดียวกัน คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งห้าล้วนเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินทั้งสิ้น การที่จำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นแห่งคดีได้
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าโดยไม่ต้องคำนึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดี จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ หากไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์เท่านั้น ศาลชั้นต้นไม่สามารถเพิกถอนได้
โจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไขหากเข้ากรณีตาม ป.วิ.พ. 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาตามยอมก็ถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าคำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินมาทั้งหมดแล้วยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้น ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาของศาลนั้นเองไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุที่ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน และการวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์ในคดีขับไล่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารของจำเลย ปรากฏว่าคดีก่อนโจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินซึ่งเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ผู้ร้องและบิดาผู้ร้องเช่าจากผู้แทนโจทก์ ผู้ร้องให้การต่อสู้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยการครอบครองทำประโยชน์ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2517 จนถึงปัจจุบัน ผู้ร้องและบิดาผู้ร้องไม่เคยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของผู้ร้องและพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาดังกล่าวได้ ที่ผู้ร้องมิได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องในคดีก่อนด้วยก็มีผลเพียงว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์เท่านั้น แต่หากผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคดี นอกจากศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วก็ยังจะต้องมีคำพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามฟ้องแย้งด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้ร้องและตามคำคัดค้านของโจทก์คดีนี้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้เช่นนี้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวในคดีก่อนซึ่งผูกพันโจทก์และผู้ร้องมาฟังในคดีนี้เพื่อวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเดียวกันได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดไต่สวนพยานแล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องมิใช่บริวารของจำเลย โดยหยิบยกคำพิพากษาในคดีดังกล่าวมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีนี้โดยมิได้มีการไต่สวน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินจากการเช่าซื้อ สิทธิยันจำเลยร่วมได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกับโจทก์ ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงคืนจากจำเลยร่วม หากโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเสร็จสิ้น จำเลยร่วมยอมให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันที และจำเลยร่วมจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ หากไม่ไปให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด โจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยร่วมครบถ้วนเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2536 คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โดยผลแห่งข้อกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วม ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมตกเป็นของโจทก์ และเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1229 วรรคหนึ่ง ผลแห่งนิติกรรมดังกล่าวนี้แม้จะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็หามีผลทำให้นิติกรรม ตกเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์ดังเช่นนิติกรรมซื้อขาย แลกเปลี่ยนหรือให้อสังหาริมทรัพย์ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง มาตรา 519 และมาตรา 525 บัญญัติไว้เป็นพิเศษไม่ เพียงแต่ทำให้ไม่บริบูรณ์ถึงขั้นเป็นทรัพยสิทธิเท่านั้น แต่ระหว่างคู่กรณีย่อมมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ทำให้โจทก์มีสิทธิเข้ายึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงใช้ยันจำเลยร่วมได้
ส่วนการที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเสียภายในสิบปีตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หรือไม่ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังเช่นการบังคับคดีภายในสิบปี อันเป็นเหตุให้คดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ก็เป็นเพียงทำให้ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของโจทก์ยังไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิเท่านั้น แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมหามีสิทธิใดในที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันโจทก์ได้ไม่ เมื่อได้ความว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2534 ซึ่งพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในคดีที่โจทก์ร้องขัดทรัพย์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 แล้ว โจทก์ได้นำครูและนักเรียนเข้าปรับปรุงถางหญ้าในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตลอดมาเพื่อสร้างอาคารเรียนในลักษณะแสดงความเป็นเจ้าของโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ดังนี้การที่จำเลยเข้าไปปลูกเพิงในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา)
คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้น เพราะคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยร่วมจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์หรือไม่เท่านั้น ต่างกับคดีนี้ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องตั้งประเด็นในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงที่โจทก์ได้มาโดยสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
ส่วนในปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น แม้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังมีชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่สิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังคงมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อเตรียมก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่บนที่ดินพิพาท จนกระทั่งถูกจำเลยซึ่งเป็นบริวารของจำเลยร่วมบุกรุกเข้าไปก่อสร้างอาคารในที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 คดีโจทก์ในส่วนนี้เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำวินิจฉัยศาลในคดีจำนอง และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินมีโฉนดทั้งสองแปลงของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้ เพราะที่ดินทั้งสองแปลงจำเลยจดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาว่า หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2529 เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 นั้น เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ในการได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมด แล้วพิพากษาให้ในส่วนที่คงเหลือ จึงไม่ถูกต้อง เพราะในที่สุดอาจไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์หรือโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์อื่นของจำเลยอย่างเจ้าหนี้สามัญ หรือให้ชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาดอยู่จากการบังคับจำนองก็ได้ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ซ้ำซ้อนเกินกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง เพราะโดยอำนาจแห่งมูลหนี้โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เฉพาะหนี้ที่มีอยู่โดยสิ้นเชิงเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจำนองสมบูรณ์ แม้มีคำพิพากษาแบ่งสินสมรสคดีหย่า เพราะผลผูกพันเฉพาะคู่ความ
โจทก์และจำเลยถูกผู้ร้องฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองทรัพย์สินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย คดีถึงที่สุด โดยศาลวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับจำนองทรัพย์พิพาทไว้โดยไม่สุจริต ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนนิติกรรมจำนอง จึงพิพากษายกฟ้อง ผลของคดีดังกล่าวย่อมผูกพัน คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทได้ นิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์พิพาทได้ทั้งหมด เพราะสิทธิจำนองครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 716 และเป็นทรัพยสิทธิใช้ยันแก่บุคคลทั่วไปได้ ส่วนคดีที่ผู้ร้องฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาแม้ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่ผู้ร้องก็มีผลผูกพันเฉพาะผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว หามีผลต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันเงินสินสมรสส่วนของตนจากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจำนองเหนือสินสมรส: ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดและสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
โจทก์และจำเลยถูกผู้ร้องฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองทรัพย์สินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับจำนองทรัพย์พิพาทไว้โดยไม่สุจริต ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนนิติกรรมจำนองจึงพิพากษายกฟ้อง ผลของคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทได้ นิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์พิพาทได้ทั้งหมดเพราะสิทธิจำนองครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 และเป็นทรัพยสิทธิใช้ยันแก่บุคคลทั่วไปได้ ส่วนคดีที่ผู้ร้องฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาแม้ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่ผู้ร้องก็มีผลผูกพันเฉพาะผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว หามีผลต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันเงินสินสมรสส่วนของตนจากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองบังคับคดีได้เหนือทรัพย์สินแม้เป็นสินสมรส หากการจำนองสมบูรณ์และไม่มีเหตุเพิกถอน
ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีภริยากัน ระหว่างสมรสจำเลยซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์พิพาทจาก พ. และจำนองไว้กับบริษัทโจทก์โดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมเมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด นอกจากนี้โจทก์และจำเลยยังถูกผู้ร้องฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองทรัพย์พิพาทจนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าโจทก์รับจำนองทรัพย์พิพาทไว้โดยสุจริตไม่มีเหตุเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งผลคดีตามคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องไม่อาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทได้ นิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์พิพาทได้ทั้งหมด เพราะสิทธิจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 และเป็นทรัพยสิทธิใช้ยันแก่บุคคลทั่วไปได้ คำพิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางที่ให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่ผู้ร้อง ตามที่ผู้ร้องฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น ก็มีผลผูกพันเฉพาะผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดี หามีผลต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันเงินสินสมรสส่วนของตนจากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท
of 12