คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9710/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและขอบเขตคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ป. เป็นจำเลยที่ 2 ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น ต่อมาคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ซึ่งคดีที่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ต้องเป็นกรณีที่มีคู่ความเดียวกันหรือเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความคนก่อนรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ผลของคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นพิพาทในคดีนี้ที่เป็นประเด็นเดียวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ย่อมเป็นที่สุด คงเหลือประเด็นพิพาทข้ออื่น ๆ ซึ่ง คู่ความจะต้องนำสืบพยานหลักฐานให้จบสิ้นกระแสความเสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวด้วยการสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาคดีกรรมสิทธิ์ต่อสัญญาซื้อขายฝาก
เมื่อคำพิพากษาในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยฟังว่า พ. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ที่ตกทอดแก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ อ. และ จ. จึงมีสิทธิดีกว่า พ. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาขายฝากระหว่าง พ. กับโจทก์ โดยฟังว่าโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริตและจดทะเบียนไว้โดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาทเพราะ พ. ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่จะไปทำสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. และ จ. ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอันเป็นเอกสารสิทธิของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ได้ และการยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีภาระจำยอมที่ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว การฟ้องร้องประเด็นเดิมจึงเป็นฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
โจทก์และจำเลยในคดีนี้ต่างเป็นจำเลยและโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นคู่ความเดียวกัน คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ให้เปิดทางภาระจำยอมและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนที่ดินและใต้พื้นดินออกไปเสียจากบริเวณภาระจำยอมให้มีขนาดกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร ตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้ และปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบตามเดิม โจทก์ให้การว่าจำเลยใช้ทางภาระจำยอมเดินเข้าออกกว้างเพียง 3 เมตร ลึก 30 เมตร ตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว หากจำเลยจะมีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมก็ไม่ควรกว้างเกิน 3 เมตร ลึก 30 เมตร สิทธิเรียกร้องภาระจำยอมในส่วนที่เกินกว่าความกว้าง 3 เมตร ลึก 30 เมตร จึงเป็นอันขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ประเด็นสำคัญแห่งคดีก่อนจึงมีว่า โจทก์ต้องเปิดทางภาระจำยอมให้มีความกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร ตามที่จดทะเบียนต่อเจ้านักงานที่ดินไว้หรือไม่ คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เหตุที่จำเลยไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภาระจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ มิใช่เพราะจำเลยไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภาระจำยอม ภาระจำยอมส่วนที่เกินความกว้าง 3 เมตร ลึก 30 เมตร จึงหาได้สิ้นไปไม่ พิพากษาให้โจทก์และบริวารเปิดทางภาระจำยอมและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนพื้นดินและใต้ดินออกไปจากบริเวณภาระจำยอมให้มีขนาดกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร และปรับสภาพพื้นดินให้เรียบตามเดิม คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนและต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวอันถึงที่สุดมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นคดีนี้ โดยอ้างเหตุว่านับแต่วันที่จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากภาระจำยอมเต็มตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้ โดยจำเลยคงใช้ประโยชน์จากภาระจำยอม กว้างเพียง 3 เมตร ลึก 30 เมตร เท่านั้น เป็นการอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวข้างต้น และที่โจทก์อ้างเหตุอีกว่าจำเลยไม่มีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ภาระจำยอม เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ติดกันอยู่ก่อนและมีทางอื่นเดินเข้าออกอีก 2 ทาง นั้น ก็เป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำให้การในคดีก่อนแล้ว ดังนั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินของผู้เช่าทำนาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อมีการโอนสิทธิ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่าโจทก์คดีนี้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาจึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ เมื่อ ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาให้แก่ผู้ร้องสอด (จำเลยที่ 13) ผู้ร้องสอด ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าว คดีถึงที่สุด ดังนั้น คำพิพากษาในคดีดังกล่าวที่วินิจฉัยว่าโจทก์เช่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ทำนาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 13 ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดี ดังกล่าวย่อมต้องผูกพันด้วย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า โจทก์เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา การที่ น. และ ย. โอนขาย ที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาจากเจ้าของเดิมให้แก่ ฉ. และ ธ. ต่อมา ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 13 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 13 ในคดีนี้ขอซื้อที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิในฐานะผู้เช่าที่นา ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9540/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความเดิม แม้ฐานะเปลี่ยนเป็นทายาท
คดีเดิมจำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านเข้าไปเป็นคู่ความในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำในฐานะตัวแทน ฮ. คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะทายาทของ ฮ. จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ซึ่งคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีเดิมย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น การที่โจทก์มาฟ้องกล่าวอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของบิดาโจทก์และโจทก์ จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432-7440/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนบ้านบนที่ดินสาธารณะ: ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากบ้านไม่ได้อยู่ติดที่ดินโจทก์
เดิมมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934-1936/2534 วินิจฉัยว่า ทางเดินหน้าบ้านจำเลยเป็นที่ดินของโจทก์นั้น ในชั้นฎีกาเป็นคดีที่โจทก์พิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับบ้านหลังอื่น ซึ่งไม่ใช่บ้านพิพาทของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แม้จำเลยที่ 4 เป็นคู่ความด้วยก็อยู่ในฐานะเจ้าของบ้านเลขที่ 31 ซึ่งเป็นคนละหลังกับบ้านพิพาทของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้แต่ในส่วนบ้านพิพาทคดีนี้โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและเจ้าของเดิมของบ้านพิพาทโดยอ้างเหตุว่าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดปลูกสร้างบนที่ดินโจทก์ คดีถึงที่สุดว่าที่ดินปลูกบ้านพิพาทและทางเดินหน้าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นที่สาธารณะ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ไม่ต้องนำมาตรา 145(2) มาใช้ ดังนั้นบ้านจำเลยทั้งเจ็ดไม่อยู่ติดต่อกับที่ดินโจทก์เพราะมีทางสาธารณะคั่นอยู่ บ้านจำเลยทั้งเจ็ดย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการที่โจทก์จะสร้างพนังกั้นน้ำหรือทำเขื่อนเพื่อป้องกันดินพังโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อถอนบ้านออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7478/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมค่าฤชาธรรมเนียมศาลชั้นต้น คำพิพากษาเดิมสิ้นผล
โจทก์และจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ กันในชั้นอุทธรณ์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความจำนวนเงิน404,005 บาท ที่จำเลยทั้งสี่ได้วางศาลใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ตกเป็นของโจทก์หรือคืนให้แก่จำเลยทั้งสี่ คงมีระบุไว้แต่เพียงว่า โจทก์และจำเลยทั้งสี่ติดใจเรียกร้องต่อกันเพียงนี้ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากส่วนที่ศาลจะสั่งคืนและค่าทนายความให้ตกเป็นพับกรณีไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสี่จะตกลงกันเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นดังนั้นข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมหมายความรวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์และจำเลยทั้งสี่แล้ว ถือได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ในกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาเพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยทั้งสี่วางศาลใช้แทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นของทายาทตามคำพิพากษา
ฟ้องโจทก์คดีนี้กับคดีที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อน มีประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอยู่ในประเด็นเดียวกันว่า ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์นั้นโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และต้องโอนกรรมสิทธิ์คืนผ. หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด คดีถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ซึ่งเป็นทายาทของผ.เมื่อการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ผ. และทายาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ คดีได้ความว่าโจทก์มิใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคดีต่อมา การไม่มีกรรมสิทธิ์ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ฟ้องโจทก์คดีนี้กับคดีที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อน มีประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอยู่ในประเด็นเดียวกันว่า ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์นั้น โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และต้องโอนกรรมสิทธิ์คืน ผ. หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด คดีถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ส. ซึ่งเป็นทายาทของ ผ. เมื่อการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ผ. และทายาทตามคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ คดีได้ความว่าโจทก์มิใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6841/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และการไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์และโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดนอกจากนี้อีก และโจทก์จำเลยยอมให้ค่าฤชา-ธรรมเนียมชั้นฎีกาเป็นพับ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลฎีกาและเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวแก่โจทก์และไม่ต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อใช้แทนโจทก์เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์
of 12