คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65 ทวิ (13)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากโรงงาน/สหกรณ์ที่หักจากค่าอ้อย ไม่เข้าข่ายเงินบริจาค/บำรุง ต้องเสียภาษี
สำหรับจำเลยที่ 1 โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า "สรรพากรจังหวัดกำแพงเพชร" อันเป็นการฟ้องบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวซึ่งย่อมหมายถึงผู้ดำรงตำแหน่งในขณะที่ฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 6โจทก์ระบุว่า "กรมสรรพากร" อันเป็นการฟ้องส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคลซึ่งย่อมต้องมีผู้แทนดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมายอยู่แล้ว แม้คำฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ดำรงตำแหน่งของจำเลยที่ 1 หรือผู้แทนของจำเลยที่ 6 ก็ไม่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดหรือเสียหายเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนที่เกี่ยวกับฐานะของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นสรรพากรจังหวัดกำแพงเพชร และจำเลยที่ 6 มีฐานะเป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นการแสดงแจ้งชัดแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่โรงงานน้ำตาลถือปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมโจทก์โดยคิดหักเงินจากน้ำหนักอ้อยที่ชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ขายให้แก่โรงงานน้ำตาล ตามอัตราที่เกิดจากข้อตกลง 3 ฝ่าย คือโจทก์กับโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยที่เป็นสมาชิกของโจทก์ นั้นก็เพื่อจัดสรรไว้ให้โจทก์ใช้ดำเนินการในกิจการส่วนรวม สำหรับใช้สอยทำประโยชน์สาธารณะและอื่น ๆ ร่วมกัน แสดงว่าชาวไร่อ้อยที่เป็นสมาชิกของโจทก์ต้องจ่ายเงินเช่นว่านั้นให้โจทก์ตามพันธะแห่งข้อบังคับของสมาคมโจทก์และข้อตกลงร่วมกัน 3 ฝ่ายดังกล่าวเพื่อเป็นการตอบแทนแก่การที่ชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์จะได้รับสิทธิประโยชน์จากสมาคมโจทก์ตามข้อตกลงและข้อบังคับของโจทก์นั่นเอง เงินที่โจทก์ได้รับจากการจัดสรรให้ของโรงงานน้ำตาลเช่นนี้ จึงมิใช่เงินที่ชาวไร่อ้อยสมาชิกของโจทก์ยินดีมอบให้แต่ฝ่ายเดียวอันจะเป็นการบริจาคหรือให้โดยเสน่หาแก่โจทก์ หากแต่เป็นเงินที่ถูกหักตามข้อบังคับของโจทก์เพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจอันเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องมารวมคำนวณเป็นรายได้ของโจทก์ตามมาตรา 65 ทวิ(13)ส่วนเงินได้จากสหกรณ์ชาวไร่อ้อยเมืองกำแพงเพชร ปรากฏว่าการให้เงินของสหกรณ์กระทำโดยโรงงานได้หักเงินค่าอ้อยของชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์แล้วส่งเงินไปให้โจทก์ ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับเงินที่โจทก์ได้รับจากการหักจากสมาชิก จึงถือไม่ได้ว่าเงินได้จากสหกรณ์ดังกล่าวเป็นเงินที่โจทก์ได้รับจากการรับบริจาคหรือให้โดยเสน่หา อันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีตามมาตรา 65 ทวิ(13) เช่นเดียวกัน สิ่งที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ(13) มีอยู่ 3 ประเภท คือ (1) เงินค่าลงทะเบียน (2) เงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก (3) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา โดยเป็นเงินหรือทรัพย์สินคนละประเภทแยกจากกัน เงินหรือทรัพย์สินรายหนึ่งรายใดจะเป็นได้แต่เพียงประเภทหนึ่งใน 3 ประเภทนี้เท่านั้น จะเป็นพร้อมกันหลายประเภทไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อตามคำบรรยายฟ้องทั้งหมดของโจทก์กล่าวถึงเงินได้พิพาทรายเดียวคือ เงินที่รับจากโรงงานน้ำตาลซึ่งหักมาจากสมาชิกของโจทก์ผู้นำอ้อยไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่า "เงินค่าบำรุงที่โจทก์ได้รับเป็นเงินที่สมาชิกบริจาคหรือให้โดยเสน่หา" ก็ย่อมมีความหมายเพียงว่าเงินที่สมาชิกบริจาคหรือให้โดยเสน่หาเพื่อเป็นการบำรุงกิจการของโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างโดยมีสาระสำคัญว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินที่ได้รับบริจาคหรือให้โดยเสน่หา อันเป็นเงินที่จัดอยู่ในประเภทที่ 3 เท่านั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าเงินจำนวนนี้เป็น"เงินค่าบำรุง" ตามความหมายของบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ทั้งตามข้อบังคับของสมาคมโจทก์ได้ระบุค่าบำรุงปีละ 50 บาท ไว้แล้วคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องเงินค่าบำรุงที่จำเลยทั้งหกจะต้องให้การต่อสู้ฟ้องของโจทก์อีก และการที่จำเลยทั้งหกให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าเงินได้พิพาทไม่ใช่เงินที่โจทก์ได้รับจากการรับบริจาคหรือการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้ตาม มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรจำเลยทั้งหกย่อมมีสิทธิสืบพยานได้ตามประเด็นที่ให้การต่อสู้ไว้ เมื่อยังมิได้มีการจัดตั้งศาลภาษีอากรจังหวัดและเปิดทำการในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีเขตอำนาจในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชรอันเป็นศาลแห่งท้องที่ที่พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรรับราชการประจำอยู่ด้วย คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งเป็นทนายจำเลยทั้งหกจึงมีอำนาจดำเนินคดีได้ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: เงินจากสมาชิก vs. เงินบริจาค/ให้โดยเสน่หา ต้องพิจารณาประเภทรายได้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
สำหรับจำเลยที่ 1 โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า "สรรพากรจังหวัด กำแพงเพชร" อันเป็นการฟ้องบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว ซึ่งย่อมหมายถึงผู้ดำรงตำแหน่งในขณะที่ฟ้อง ส่วนจำเลย ที่ 6 โจทก์ระบุว่า"กรมสรรพากร" อันเป็นการฟ้องส่วนราชการ ที่เป็นนิติบุคคลซึ่งย่อมต้องมีผู้แทนดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย อยู่แล้ว แม้คำฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ดำรงตำแหน่งของ จำเลยที่ 1 หรือผู้แทนของจำเลยที่ 6 ก็ไม่ทำให้จำเลยเข้าใจผิด หรือเสียหายเสียเปรียบ แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม เงินที่โรงงานน้ำตาลหักจากน้ำหนักอ้อยที่ชาวไร่อ้อยซึ่ง เป็น สมาชิกของสมาคมโจทก์ขายให้แก่โรงงานน้ำตาล ตามข้อบังคับ ของ โจทก์แล้วส่งมาให้โจทก์นั้นมิใช่เงินที่ชาวไร่อ้อยสมาชิก ของโจทก์ยินดีมอบให้แต่ฝ่ายเดียวอันจะเป็นการบริจาคหรือให้โดย เสน่หาแก่โจทก์ หากแต่เป็นเงินที่ถูกหักตามข้อบังคับของโจทก์ เพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจ อันเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากรจึงไม่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องมารวมคำนวณเป็น รายได้ของโจทก์ตามมาตรา 65 ทวิ (13) และเงินที่โจทก์ได้รับจาก สหกรณ์ก็เป็นเงินที่โรงงานได้หักเงินค่าอ้อยของชาวไร่อ้อยซึ่งเป็น สมาชิกของสหกรณ์แล้วส่งเงินไปให้โจทก์ ทำนองเดียวกับเงินที่โจทก์ ได้รับจากสมาชิกจึงถือไม่ได้ว่าเงินได้จากสหกรณ์ดังกล่าวเป็นเงิน ที่โจทก์ได้รับจากการรับบริจาคหรือให้โดยเสน่หาอันจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ เพื่อเสียภาษีตามมาตรา 65 ทวิ (13) เช่นเดียวกัน สิ่งที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ (13) มีอยู่ 3 ประเภท คือ (1) เงินค่าลงทะเบียน (2) เงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก (3) เงินหรือทรัพย์สิน ที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา โดยเป็นเงิน หรือทรัพย์สินคนละประเภทแยกจากกัน โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่า "เงินค่าบำรุงที่โจทก์ ได้ รับ เป็นเงินที่สมาชิกบริจาคหรือ ให้โดยเสน่หา" ย่อมมีความหมายเพียงว่า เงินเงินที่สมาชิกบริจาคหรือ ให้โดยเสน่หาเพื่อเป็นการบำรุงกิจการของโจทก์ อันเป็นเงินที่จัดอยู่ ในประเภทที่ 3 เท่านั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าเงินจำนวนนี้เป็น "เงินค่าบำรุง" ด้วย ทั้งตามข้อบังคับของสมาคมโจทก์ได้ระบุ ค่าบำรุงปีละ 50 บาทไว้แล้ว คดีจึงไม่มี ประเด็นประเด็นเรื่องเงินค่าบำรุง การที่จำเลยให้การปฏิเสธว่าเงินได้พิพาทไม่ใช่เงินที่โจทก์ ได้รับจากการรับบริจาคหรือการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้ตาม มาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร จำเลยย่อมมีสิทธิสืบพยานได้ ตามประเด็นที่ให้การต่อสู้ไว้ ตามมาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ บัญญัติว่า ในระหว่างที่ศาลภาษีอากรจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลภาษีอากรกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โดยเหตุนี้ เมื่อยัง มิได้มีการจัดตั้งศาลภาษีอากรจังหวัดและเปิดทำการในท้องที่ จังหวัดกำแพงเพชรศาลภาษีอากรกลางย่อมมีเขตอำนาจในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชรอันเป็นศาลแห่งท้องที่ ที่พนักงานอัยการจังหวัด กำแพงเพชร รับราชการประจำอยู่ด้วย เมื่อคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร พนักงานอัยการ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นทนายจำเลย จึงมีอำนาจดำเนินคดีได้ตามมาตรา 12แห่ง พระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีภาษีอากร และการยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดศาล
ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากรกำหนด ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ด้วยคงยกเว้นให้เฉพาะเงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค หรือการให้โดยเสน่หาตามมาตรา 65 ทวิ (13) เท่านั้น แม้ตามมาตรา 79 ตรี (8)(ข) จะยกเว้นให้ไม่ต้องนำรายรับจากการบริจาคสินค้าเป็นสาธารณประโยชน์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าก็ตาม แต่ก็ยกเว้นให้เฉพาะการบริจาคแก่องค์การ หรือสถานสาธารณกุศล ที่รัฐมนตรีกำหนดเท่านั้นประมวลรัษฎากรมิได้ยกเว้นไม่เก็บภาษี จาก สมาคมเสียทีเดียว แม้โจทก์จะมีฐานะเป็นสมาคม ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1274 บัญญัติ ว่ากิจการของโจทก์มิใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรมาแบ่งปันกันก็ตาม แต่ในเรื่องหน้าที่นำสืบประมวลรัษฎากรมิได้มีข้อสันนิษฐาน ไว้ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปของมาตรา 84 แห่งป.วิ.พ. เมื่อประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์มีรายได้ซึ่งต้อง เสีย ภาษี หรือได้รับยกเว้นการเสียภาษีหรือไม่นั้น โจทก์เป็นฝ่าย กล่าวอ้าง จำเลยให้การปฏิเสธ หน้าที่นำสืบจึงตกอยู่แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาอนุโลมใช้ได้ ก็ ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และข้อกำหนดคดีภาษีอากรตามมาตรา 20 บัญญัติ หรือ กำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น ดังนี้ เมื่อมีข้อกำหนดคดี ภาษีอากร ข้อ 8 กำหนด ว่าคู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล ก่อน วันชี้สองสถาน ไม่ น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ. มา อนุโลม ใช้ ในกรณีการยื่นบัญชีระบุพยาน คดีภาษีอากรได้ โจทก์อุทธรณ์เพียงขอให้เพิกถอนคำสั่งเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ กับ ขอให้สั่งให้โจทก์มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามบัญชีระบุพยานที่ยื่น ต่อ ศาลเป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณ เป็น ราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตาม ตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก) โจทก์เสียค่าขึ้นศาล อย่าง คดี ที่ มี คำขอ ให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ตาม ตาราง 1 ข้อ (1)(ก)จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน แก่โจทก์.