พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การไม่ปฏิบัติตามสัญญา, การยึดหน่วงค่าจ้าง, และการหักค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์มิได้ก่อสร้างห้องใต้ดินและถังน้ำใต้ดินตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร จำเลยทั้งสามชอบที่จะไม่ชำระสินจ้างในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ได้ แต่ในส่วนอื่นๆ ที่โจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ไว้แล้ว แต่ไม่แล้วเสร็จนั้น ถือว่างานก่อสร้างของโจทก์มีความชำรุดบกพร่องหลายรายการ จำเลยทั้งสามชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ไว้จนกว่าโจทก์จะซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องแล้วเสร็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 599 หากโจทก์ไม่จัดทำจนจำเลยทั้งสามบอกเลิกสัญญา จำเลยทั้งสามชอบที่จะหักเป็นค่าซ่อมแซมความเสียหายตามควรค่าแห่งการนั้นได้เท่านั้น หากมีสินจ้างเหลือก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ไป ไม่ชอบที่จำเลยทั้งสามจะไม่ชำระค่าสินจ้างเสียเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8705/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่นบนที่ดินที่เช่า แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรง
แม้โจทก์กับจำเลยจะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่พิพาทจากโจทก์ร่วมเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทไม่ได้ เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่พิพาทจากโจทก์ร่วมและสัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงก่อนหน้านี้ไม่ยอมออกไปจากที่พิพาทนั้นย่อมเป็นการรอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยโดยการยื่นคำฟ้องพร้อมกับขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 และ 549 ซึ่งโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) เมื่อโจทก์ร่วมยินยอมเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามที่โจทก์มีคำขอแล้ว ก็ย่อมมีผลทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8649/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยชดเชยเวนคืนที่ดินตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมสินแบบผันแปรตามช่วงเวลา
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ที่ 1 ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10.75 ต่อปี ซึ่งหมายความว่า ต้องคิดดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละช่วงตลอดเวลา หาใช่คิดดอกเบี้ยในอัตราเดียวตลอดไปจนครบ 12 เดือนไม่ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงก็จะมีการได้เปรียบเสียเปรียบกันของคู่ความทั้งสองฝ่ายในส่วนต่างของดอกเบี้ยในอัตราที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืน กรณีจำเลยจ่ายเงินให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของ
โจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินค่าทดแทนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ถูกเวนคืน หากแต่โต้แย้งว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง มิใช่บุคคลที่จำเลยทั้งสองได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้ไป จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 25 และ 26 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และกรณีนี้ไม่มี บทบัญญัติกฎหมายใดที่ให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ เมื่อการกระทำของ จำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (2) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ ม. ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของจึงไม่ชอบ
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสองประวิงคดี การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองไม่มีความสุจริต ขอให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้น เห็นว่าปัญหานี้โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (2) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ ม. ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของจึงไม่ชอบ
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสองประวิงคดี การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองไม่มีความสุจริต ขอให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้น เห็นว่าปัญหานี้โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอนาถาซ้ำ: ศาลไม่อนุญาตหากเคยมีคำสั่งยกคำร้องและไม่ได้อุทธรณ์
หลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์แล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมอีก ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ฉบับนี้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ กลับมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่อีกครั้ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7270/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ภูมิลำเนาทนายจำเลยที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากสถานที่ทำงานตามตำแหน่งหน้าที่
การที่ทนายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา แม้ยังต้องถือว่าทนายจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว เพราะเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ มิใช่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเพียงถิ่นอันเป็นที่ทำการชั่วคราว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่คำร้องของทนายจำเลยอ้างด้วยว่า เจ้าพนักงานศาลให้ นาย อ. พนักงานอัยการสำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วรับหมายนัดไว้แทนทนายจำเลย ในขณะที่นาย อ. ไปที่ศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานศาลมิได้ไปส่งหมายนัดที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องของทนายจำเลยดังกล่าว การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่ทนายจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมาย ณ ภูมิลำเนาของทนายจำเลยและมีผู้รับแทนโดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง หรือเป็นการส่งคำคู่ความที่ได้กระทำในศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 (2) ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนให้ได้ความว่าเจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแก่ทนายจำเลย และนาย อ. รับไว้แทนที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วหรือไม่ ก่อนมีคำสั่งยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายประมาทเอง ไม่มีสิทธิเรียกร้องความเสียหาย โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยจะขับรถจักรยานยนต์โดยประมาท ชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายตกจากรถ ศีรษะฟาดพื้นและถึงแก่ความตาย แต่เหตุรถชนกันเกิดขึ้นก็เพราะผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำโดยประมาท ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นสามีย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าว และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมข้อนี้และพิพากษาจำคุกจำเลยมาจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแข่งรถโดยประมาทและริบรถ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการริบรถ และยืนโทษเดิม
การที่จำเลยร่วมกับพวกขับรถจักรยานยนต์แข่งกันประมาณ 400 คัน ด้วยความคึกคะนองและด้วยความเร็วสูง แซงซ้ายแซงขวา โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น นอกจากจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับถนนที่จำเลยกับพวกขับรถแข่งกันแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่นอีกด้วย ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 20 ปี สมควรมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้ว ไม่มีเหตุรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
ความผิดฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่นและแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยตาม ป.อ. ตาม 90
ความผิดฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่นและแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยตาม ป.อ. ตาม 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถกีดขวางการจราจร – การพิพากษาโทษ – การนับโทษ – การรับสารภาพ
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกพ่วงอยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายโดยล้อหน้าอยู่บนไหล่ทาง และมีบางส่วนของตัวรถอยู่บนผิวช่องเดินรถ ซึ่งตรงกันข้ามกับคำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกพ่วงไว้กลางช่องเดินรถในลักษณะล้ำเข้ามาในช่องเดินรถอย่างมาก โดยไม่ชิดขอบถนนด้านซ้ายนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ทั้งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทด้วยการจอดรถในลักษณะกีดขวางจราจรโดยไม่ให้สัญญาณไฟใด ๆ ให้ผู้อื่นเห็นว่ามีรถจอดอยู่ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ชนท้ายรถที่จำเลยที่ 1 จอดไว้แล้วจำเลยที่ 1 หลบหนีไป มิใช่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตนและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43, 78, 157, 160 ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 เพียงให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และแม้คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ศาลจะสามารถพิพากษาคดีไปได้โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยานก็ตาม แต่หากโจทก์เห็นว่าคดีของโจทก์ยังมีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ โจทก์ก็สามารถนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบได้เพื่อให้คดีสมบูรณ์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จะนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทด้วยการจอดรถในลักษณะกีดขวางจราจรโดยไม่ให้สัญญาณไฟใด ๆ ให้ผู้อื่นเห็นว่ามีรถจอดอยู่ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ชนท้ายรถที่จำเลยที่ 1 จอดไว้แล้วจำเลยที่ 1 หลบหนีไป มิใช่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตนและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43, 78, 157, 160 ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 เพียงให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และแม้คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ศาลจะสามารถพิพากษาคดีไปได้โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยานก็ตาม แต่หากโจทก์เห็นว่าคดีของโจทก์ยังมีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ โจทก์ก็สามารถนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบได้เพื่อให้คดีสมบูรณ์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จะนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6519/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้ไม่มีเจตนาโดยตรง ก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาต่อผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยใช้ท่อนไม้ขว้างปาผู้เสียหายถูกบริเวณศีรษะทำให้ผู้เสียหายตกรถจักรยานยนต์ได้รับบาดเจ็บ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)