คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ขวัญชัย ปิ่นรอด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีบุกรุกทิ้งขยะซ้ำกับคดีดำเนินกิจการเก็บขนขยะโดยไม่ได้รับอนุญาต
ระยะเวลาเกิดเหตุและสถานที่เกิดเหตุในความผิดข้อหาดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับความผิดตามฟ้องคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ โดยจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้เสียหาย และนำขยะไปทิ้งในที่ดินดังกล่าวตรงกัน อีกทั้งการกระทำของจำเลยในทั้งสองคดีเป็นครั้งเดียวกัน แม้ฐานความผิดจะต่างกัน ก็เป็นความผิดกรรมเดียว เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดข้อหาดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจนศาลพิพากษาลงโทษปรับและคดีถึงที่สุดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก แม้จะไม่อ้างบทลงโทษตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุขฯ ก็เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกายบุพการี ไม่ถึงเจตนาฆ่า ลดโทษจากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยเข้าไปขอเงินและยืมรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายผู้เป็นบิดาของจำเลย แต่ผู้เสียหายปฏิเสธ จำเลยจึงใช้อาวุธมีเหน็บปลายแหลมฟันแทงผู้เสียหายที่หัวไหล่ด้านขวาและศีรษะอย่างละหนึ่งครั้ง แล้วแทงที่หลังของผู้เสียหายอีกหนึ่งครั้ง ยังไม่น่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาถึงขนาดจะต้องมุ่งประสงค์ต่อชีวิตของผู้เสียหาย ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยมีอาการมึนเมาสุรา แม้จะไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ก็ตาม แต่ก็เป็นพฤติการณ์แวดล้อมให้เห็นว่าการที่จำเลยใช้อาวุธมีดเหน็บปลายแหลมแทงผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้กระทำโดยแรง โดยจะเห็นชัดเจนว่า เมื่อจำเลยใช้มีดเหน็บปลายแหลมฟันแทงผู้เสียหายแล้ว ส. ผู้เป็นตาของจำเลยก็สามารถเข้าไปแย่งมีดจากจำเลยไว้ได้ จำเลยจึงวิ่งหลบหนีไป ขณะเกิดเหตุ ส. มีอายุถึง 73 ปี จำเลยมีอายุเพียง 24 ปี หากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้ว จำเลยก็น่าจะสามารถขัดขืนมิให้ ส. ผู้สูงอายุกว่าแย่งมีดเหน็ปลายแหลมไปได้ ประกอบลักษณะบาดแผลที่ศีรษะ หัวไหล่ด้านขวาและกลางหลัง แม้จะเป็นอวัยวะที่สำคัญ แต่แพทย์ก็ให้ความเห็นว่าถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะหายภายในสองสัปดาห์ อันแสดงว่าบาดแผลมิได้เกิดจากการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้ถึงแก่ความตาย เมื่อบาดแผลที่ผู้เสียหายผู้เป็นบิดาของจำเลยได้รับเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายบุพการีจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 296 นอกจากนี้แม้จำเลยจะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายผู้เป็นบุพการีจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็ให้การรับสารภาพแสดงให้เป็นว่าจำเลยได้รู้สำนึกในความผิดของตน และผู้เสียหายได้เบิกความว่า ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยเนื่องจากเป็นบุตรชายเพียงคนเดียว เมื่อจำเลยไม่เคยต้องรับโทษจำคุกมาก่อนจึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวเพื่อรักษาสายสัมพันธ์ทางครอบครัว อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่รับสารภาพในชั้นฎีกา และการลดโทษรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักของผู้เสียหายโดยการบุกรุกดังกล่าวจำเลยได้ใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายภายหลังจากการกระทำความผิดฐานบุกรุกสำเร็จแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างอีกด้วย ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นเจตนาทำร้ายร่างกาย เนื่องจากมิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 และ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มิได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวตามที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ในข้อนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกและการไม่รอการลงโทษในคดีทำร้ายร่างกาย แม้จำเลยจะปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 6 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยโดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้ง มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 , 30 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลย 1 เดือน ไม่ปรับ ไม่รอการลงโทษ และไม่คุมความประพฤติ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยได้ชำระค่าปรับและรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติอันเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นไม่ปรับ จำเลยย่อมขอรับเงินค่าปรับที่ชำระไปแล้วคืนได้ ส่วนการรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติเป็นวิธีการแก้ไขไม่ให้จำเลยไปกระทำความผิดอีก มิใช่การลงโทษตามกฎหมาย ไม่ถือว่าจำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นเกินกว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายหลายราย การรับสารภาพและขอบเขตการอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์บรรยายโดยชัดแจ้งว่า จำเลยทั้งสามกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยแยกเป็น 3 ข้อ คือ ฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายข้อหนึ่ง ฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายข้อหนึ่ง กับฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 3 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายอีกข้อหนึ่ง ซึ่งความผิดทั้งสามฐานเป็นคนละขั้นตอน อีกทั้งจำเลยทั้งสามก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนากระทำความผิดต่อผู้เสียหายทั้งสามแยกออกจากกัน ฉะนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพ และการลดโทษจากความสำนึกผิด
อุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยกระทำความผิดไปเพราะขาดความยั้งคิด เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย จึงถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดกระบวนพิจารณาที่ไม่จำเป็น เพื่อความรวดเร็วและยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ศาลมีอำนาจพิเคราะห์ว่า กระบวนพิจารณาใดจำเป็นจะต้องกระทำเพียงใดหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากระบวนพิจารณาใดเป็นการฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ศาลย่อมมีอำนาจงดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง คดีนี้จำเลยขอเลื่อนนัดไต่สวนมาหลายนัดแล้ว ประกอบกับการเดินเผชิญสืบอาคารพิพาทก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ทั้งการออกคำสั่งกำหนดเดินเผชิญสืบก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลโดยเฉพาะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 99 วรรคแรก เมื่อศาลชั้นต้นไม่เห็นประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนพยานจำเลยต่อไปโดยเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว การเดินเผชิญสืบตามคำขอของจำเลยก็มีแต่จะทำให้เกิดความล่าช้า ประวิง และยุ่งยาก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนคำร้องและไม่อนุญาตให้เดินเผชิญสืบอาคารพิพาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน ค่าทดแทน การสร้างทางออก และสิทธิเรียกร้องของเจ้าของที่ดิน
จำเลยไม่ได้ร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่เจ้าหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ทำการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด 60 วัน เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่และโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยจัดทางเข้าออกที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และมาตรา 142(5)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี กรณีที่สองเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีเมื่อล่วงพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2540 แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ซึ่งครบกำหนดวันสุดท้ายในวันที่ 6พฤษภาคม 2540 โจทก์จึงต้องฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันดังกล่าวคือภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2541
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกล่าวถึงที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวของข้าพเจ้าผู้อุทธรณ์ทั้งเจ็ดมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 35 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา แต่ถูกเวนคืนไป 6 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ทำให้ที่ดินที่ไม่ถูกเวนคืนเหลืออยู่อีก 29 ไร่ 2 งาน 51ตารางวา จะต้องเสียหายเป็นอย่างมาก ที่ดินแปลงดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินทั้งหกแปลงที่อยู่ด้านหน้าติดถนนหมายเลข 346 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของข้าพเจ้า ซึ่งได้ถูกเวนคืนไปแล้วพร้อม ๆ กัน จึงเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงที่เหลือไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ จึงใคร่ขอความกรุณาต่อฯพณฯ เพื่อเปิดทางให้แก่ที่ดินแปลงที่เหลือดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความส่วนใดที่ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงและราคาลดลงเป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงถือไม่ได้ว่ามีการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ 2 กรณี เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนเพิ่มภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นหกสิบวันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์ หาจำเป็นต้องรอให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ก่อนไม่ โจทก์ปล่อยให้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วค่อยมาฟ้องอันเป็นเหตุให้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มซึ่งเป็นการกระทำของโจทก์เอง มิใช่เกิดจากการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดไว้ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเรื่องค่าทดแทนไว้ในหมวด 2 เงินค่าทดแทน ไม่มีบทบัญญัติที่บังคับให้จำเลยต้องสร้างทางออกให้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยสร้างทางซึ่งจะต้องสร้างขึ้นในเขตทางพิเศษเพื่อให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าทดแทนเวนคืน & สิทธิทางออกที่ดิน - กรณีเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ
ปัญหาว่าเจ้าหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ทำการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยจัดทางเข้าออกที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานละเมิดหรือไม่และมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยจัดทางเข้าออกที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 และมาตรา 142 (5) โดยไม่จำเป็นต้องมีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดร้องขอให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเสียก่อน
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เมื่อรัฐมนตรี ฯ มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นหกสิบวันที่รัฐมนตรี ฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์ หาจำเป็นต้องรอให้รัฐมนตรี ฯ วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ก่อนไม่ โจทก์ปล่อยให้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วค่อยมาฟ้องเป็นคดีนี้อันเป็นเหตุให้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มซึ่งเป็นการกระทำของโจทก์เอง มิใช่เกิดจากการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฯ ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่จะต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดไว้ ซึ่ง พ.ร.บ. นี้บัญญัติเรื่องค่าทดแทนไว้ในหมวด 2 เงินค่าทดแทน ไม่มีบทบัญญัติที่บังคับให้จำเลยต้องสร้างทางออกให้สำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนสู่ทางสาธารณะ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 2 ข้อ 6 (3) ข้อ 29 วรรคหนึ่ง ข้อ 30 และข้อ 31 ให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจในการวางแผน สำรวจ ออกแบบเกี่ยวกับการสร้างหรือขยายทางพิเศษสายนี้ และบำรุงรักษาทางพิเศษสายนี้ในที่ดินของโจทก์และของผู้อื่นที่ถูกเวนคืนมานั้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยสร้างทางซึ่งจะต้องสร้างขึ้นในเขตทางพิเศษสายนี้เพื่อให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ
of 5