พบผลลัพธ์ทั้งหมด 244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4342/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการปรึกษาทางกฎหมาย: พิจารณาจากลักษณะของหนี้ที่เกิดขึ้น
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค่าบริการในการปรึกษากฎหมาย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเรียกเอาค่าการงานที่ทำให้แก่ลูกหนี้จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) โดยไม่จำต้องเป็นค่าว่าความในคดีทื่ถือเอาผลสำเร็จของแต่ละคดีและกรณีมิใช่เงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (4) และแม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลารายเดือนก็มิใช่เป็นเงินเดือนที่จ่ายให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ การฟ้องซ้ำหลังศาลจำหน่ายคดีไม่ทำให้สิทธิฟ้องเกินอายุความ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272, 326 และ 328 ต่างเป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีเสียภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตามมาตรา 96 โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 แต่ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 เกินกว่า 3 เดือน โดยมิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้โจทก์จะเคยฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดธัญบุรีภายในอายุความ แต่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลจังหวัดธัญบุรีจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเกินกำหนดอายุความตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ การฟ้องซ้ำหลังจำหน่ายคดีไม่ช่วยต่ออายุความ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272, 326 และ 328 ต่างเป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยทั้งห้าผู้กระทำผิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 แต่มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 เกินกว่า 3 เดือน โดยมิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้โจทก์จะเคยฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดธัญบุรีภายในอายุความก็ตาม แต่ศาลดังกล่าวสั่งจำหน่ายคดีเพราะไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเกินกำหนดอายุความตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเจ้าหนี้และการใช้สิทธิคัดค้าน
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกฎหมายให้สิทธิบุคคลที่ได้รับความเสียหายยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 และศาลมีอำนาจสั่งยืนตาม กลับ หรือแก้ไข หรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควร ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ได้รับความเสียหายจะใช้สิทธิเยียวยาแก้ไขความเสียหายของตนทางศาลได้ แต่ไม่ใช่บทบังคับ การที่ผู้บริหารแผนไม่เลือกใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 146 ทำให้ผู้บริหารแผนไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเมื่อพ้นเวลาที่กำหนดเท่านั้น และคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีผลอยู่ต่อไป
ผู้บริหารแผนเลือกใช้ช่องทางยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาทบทวนคำสั่งของตนที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ เป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการหรือมีคำวินิจฉัยอื่นใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการพิจารณาใหม่ และคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108 มาเทียบเคียงปรับใช้เพราะมิใช่คำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สั่งอนุญาตไปแล้วตามมาตรา 90/26 ประกอบด้วยมาตรา 108 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ จึงมีอำนาจที่จะกระทำได้และไม่ขัดต่อมาตรา 108 และ 146
ผู้บริหารแผนเลือกใช้ช่องทางยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาทบทวนคำสั่งของตนที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ เป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการหรือมีคำวินิจฉัยอื่นใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการพิจารณาใหม่ และคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108 มาเทียบเคียงปรับใช้เพราะมิใช่คำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สั่งอนุญาตไปแล้วตามมาตรา 90/26 ประกอบด้วยมาตรา 108 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ จึงมีอำนาจที่จะกระทำได้และไม่ขัดต่อมาตรา 108 และ 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการและผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้และการบังคับชำระหนี้
เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ย่อมมีผลทำให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนของศาลล้มละลายกลางเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการอันเป็นความผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งเกิดขึ้นเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วยสิทธิและหน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมกลับเป็นไปดังเดิมที่มีกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ส่วนที่โจทก์ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้วนั้น เมื่อการชำระหนี้เป็นเพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่จำเลยขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ จึงหาทำให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ การชำระหนี้บางส่วนดังกล่าว มีผลเพียงทำให้หนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นอันระงับไปเท่าจำนวนที่จำเลยได้รับชำระ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดต่อจำเลยต่อไป
การที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาย่อมสิ้นสุดลง ข้อห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้เองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) ย่อมสิ้นสุดลงด้วย เมื่อโจทก์มีหนี้ภาษีอากรค้างที่ต้องชำระแก่จำเลยอยู่ จำเลยย่อมมีอำนาจในการบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระตามอำนาจที่มีอยู่ตาม ป. รัษฎากร ต่อไป โดยผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ชอบด้วยแผนและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนการยึดและอายัดและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่โจทก์เพื่อนำไปจัดการตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นอันระงับไป
ส่วนที่โจทก์ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้วนั้น เมื่อการชำระหนี้เป็นเพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่จำเลยขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ จึงหาทำให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ การชำระหนี้บางส่วนดังกล่าว มีผลเพียงทำให้หนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นอันระงับไปเท่าจำนวนที่จำเลยได้รับชำระ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดต่อจำเลยต่อไป
การที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาย่อมสิ้นสุดลง ข้อห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้เองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) ย่อมสิ้นสุดลงด้วย เมื่อโจทก์มีหนี้ภาษีอากรค้างที่ต้องชำระแก่จำเลยอยู่ จำเลยย่อมมีอำนาจในการบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระตามอำนาจที่มีอยู่ตาม ป. รัษฎากร ต่อไป โดยผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ชอบด้วยแผนและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนการยึดและอายัดและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่โจทก์เพื่อนำไปจัดการตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นอันระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และขอบเขตการใช้ดุลพินิจในการฎีกา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย คดีที่จำเลยนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ และมีผู้อื่นร้องขัดทรัพย์ก็ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีร้องขัดทรัพย์ต่อไปหรือไม่ยอมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของจำเลย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติด (ฝิ่น) ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 69 วรรคสาม และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายซึ่งฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดก็ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องลงโทษตามวรรคสี่ ดังนั้น การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จึงต้องได้รับโทษตามมาตรา 69 วรรคสามหรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทลงโทษยาเสพติดประเภท 2 (ฝิ่น) ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ แก้ไขใหม่ การพิจารณาโทษและปริมาณสารบริสุทธิ์
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ก็ลงโทษตามวรรคสี่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 ต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง ยกเว้นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณดังกล่าวต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม หรือวรรคสี่แล้วแต่กรณี
ยาเสพติดให้โทษที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นฝิ่นแม้จะไม่ปรากฏว่าฝิ่นของกลางมีปริมาณคำนวนเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แต่ก็ปรากฏว่าฝิ่นของกลางทั้ง 14 ห่อ มีน้ำหนัก 25.19 กรัม การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งฝิ่นจำนวน 14 ห่อก็ดี การจำหน่ายฝิ่นจำนวน 2 ห่อก็ดี ต้องถือว่าฝิ่นทั้งสองจำนวนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม การมีไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดและต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม ส่วนการจำหน่ายฝิ่นก็เป็นความผิดและต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม เช่นกัน
ยาเสพติดให้โทษที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นฝิ่นแม้จะไม่ปรากฏว่าฝิ่นของกลางมีปริมาณคำนวนเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แต่ก็ปรากฏว่าฝิ่นของกลางทั้ง 14 ห่อ มีน้ำหนัก 25.19 กรัม การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งฝิ่นจำนวน 14 ห่อก็ดี การจำหน่ายฝิ่นจำนวน 2 ห่อก็ดี ต้องถือว่าฝิ่นทั้งสองจำนวนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม การมีไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดและต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม ส่วนการจำหน่ายฝิ่นก็เป็นความผิดและต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทลงโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 69 วรรคสาม กรณีปริมาณฝิ่นไม่เกิน 100 กรัม
การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายซึ่งฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดก็ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 69 วรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องลงโทษตามวรรคสี่ ดังนั้น การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จึงต้องได้รับโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม หรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2548)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: หลักฐานความเป็นนิติบุคคลและคำแปลเอกสารสำคัญที่ศาลต้องได้รับ
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำฟ้องโดยไม่ได้แนบหลักฐานแสดงความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ที่ 1 มาท้ายคำฟ้อง คงแนบมาเฉพาะหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ที่ให้ ท. ฟ้องคดีนี้ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย จำเลยให้การว่าโจทก์อ้างว่ามีการมอบอำนาจ แต่ไม่บรรยายว่าผู้ใดเป็นกรรมการบรรษัทโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทน เป็นฟ้องเคลือบคลุมและเอาเปรียบจำเลย ขอให้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นเรื่องอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยส่งหนังสือรับรองบรรษัทโจทก์ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 ที่ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็มิได้ส่งคำแปลเอกสารทั้งสองฉบับเป็นภาษาไทยซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้โจทก์แปลเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดีแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 23 ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งพยานเอกสารทั้งสองฉบับนั้น ย่อมเป็นที่เสียหายแก่จำเลยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสาม พยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ยังไม่พอให้รับฟังได้ว่า โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ ท. ฟ้องคดีนี้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง