คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อนต่อศาลต่างกัน ถือเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. ผู้ตายมีผู้คัดค้าน คดีอยู่ระหว่างการไต่สวน แล้วผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในเรื่องเดียวกันต่อศาลอื่นอีกนั้น เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง และเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต แม้ศาลอื่นจะมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. ผู้ตายแล้วก็ตาม คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ผูกพันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ศาลต้องทำการไต่สวนคำร้องคัดค้านต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีมรดก: คู่ความต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ประเด็นข้อพิพาทเหมือนกัน
คดีก่อน ก. เป็นผู้ร้องขอจัดการมรดกของ จ. จำเลยในคดีนี้เป็นผู้คัดค้าน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมที่ จ. ทำขึ้นว่าเป็นพินัยกรรมปลอม แม้ทั้งสองคดีมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นคนละคนกับผู้ร้องในคดีก่อน โจทก์จึงไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ข้อสังเกต ฎีกานี้วินิจฉัยแนวเดียวกันกับฎีกาที่ 3146/2533)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีพินัยกรรม: คู่ความต่างกัน ฟ้องไม่ซ้ำ แม้ประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน
คดีก่อน ก.เป็นผู้ร้องขอจัดการมรดกของ จ. จำเลยในคดีนี้เป็นผู้คัดค้าน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมที่ จ.ทำขึ้นว่าเป็นพินัยกรรมปลอม แม้ทั้งสองคดีมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นคนละคนกับผู้ร้องในคดีก่อน โจทก์จึงไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
(ข้อสังเกต ฎีกานี้วินิจฉัยแนวเดียวกันกับฎีกาที่ 3146/2533)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: โจทก์ต่างกันในคดีจัดการมรดกและฟ้องแย่งครอบครองที่ดิน ไม่ขัดมาตรา 173 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คดีก่อนซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ. โดยโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลย โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงหาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสองไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ทายาทฟ้องโมฆะพินัยกรรมซ้ำ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่ฟ้องซ้อนหากไม่ได้เข้าร่วมฟ้องคดีก่อน
ท. ทายาทของเจ้ามรดกคนหนึ่งเคยฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทอีกคนหนึ่งมาฟ้องคดีนี้ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับเดียวกันนั้นเป็นโมฆะอีกเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ท. เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกอันจะถือว่ากระทำในฐานะตัวแทนทายาททั้งหมดรวมทั้งโจทก์ด้วยแล้วโจทก์ย่อมไม่ใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ทายาทฟ้องโมฆะพินัยกรรมซ้ำ แม้มิได้เป็นผู้จัดการมรดก หรือโจทก์ร่วมในคดีก่อน
ท. ทายาทของเจ้ามรดกคนหนึ่งเคยฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทอีกคนหนึ่งมาฟ้องคดีนี้ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับเดียวกันนั้นเป็นโมฆะอีกเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ท. เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกอันจะถือว่ากระทำในฐานะตัวแทนทายาททั้งหมดรวมทั้งโจทก์ด้วยแล้วโจทก์ย่อมไม่ใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์สิน: การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิ
คดีที่จำเลยฟ้อง ป. ว่า ป.ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทแล้วไม่จดทะเบียนการเช่าให้ ขอให้พิพากษาให้ ป. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ไม่ได้เป็นคู่ความด้วยแม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ไม่เป็นการห้ามมิให้โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก ป. ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ได้ยื่นคำร้องว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ.ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ป. และศาลพิพากษาให้ ป. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของอ. และศาลก็ยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของอ.หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวดังกล่าว ขอให้ขับไล่ จึงมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีดังกล่าว คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681-3682/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีก่อนว่า ได้ร่วมกับจำเลยอื่นยักยอกเงินรายอื่น ซึ่งเป็นเงินรายเดียวกับรายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ หาใช่เป็นเงินจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ คดีแพ่งอันเกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญาที่จะต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ ศาลแรงงานกลางต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์นำสืบได้สมกับที่มีภาระการพิสูจน์หรือไม่ จากการนำสืบของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดที่จะพิสูจน์ได้สมตามประเด็นที่กล่าวอ้าง โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติผิดต่อข้อบังคับ และมิได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานร่วมกันยักยอกและฉ้อโกง กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายคือโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง และมีคำขอบังคับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาข้างต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ความรับผิดของตัวแทน, ฟ้องซ้อน, และการผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศต่อมาบริษัทท. ผิดสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยรับไปจากโจทก์จำเลยให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริงเพียงแต่ปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุอื่นจึงเป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ป.วิ.พ.มาตรา173วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางในคดีนั้นแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งจะถือว่าคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้าม จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบอำนาจเฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการแม้ว่าจำเลยจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ก็ไม่ทำให้ฐานะความเป็นตัวแทนของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปการที่บริษัทตัวการจัดให้โจทก์เข้าทำงานได้ในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้ทำงานและมิได้รับค่าจ้างโดยมิใช่เป็นความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามป.พ.พ.มาตรา824.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อน: การฟ้องคดีหมิ่นประมาทในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลอื่นรับไว้แล้ว ทำให้ฟ้องต้องห้าม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครเหนือว่าจำเลยโฆษณาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในหนังสือพิมพ์รายวันศาลแขวงพระนครเหนือได้ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในเหตุอย่างเดียวกันอีกวันกระทำผิดและสถานที่เกิดเหตุก็ตรงกัน คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
of 5