คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 675 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน: การโต้แย้งและการประวิงคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยต่อศาลชั้นต้น แต่การที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอีกนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) แล้วจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้
จำเลยขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง โดยมิได้ทำการสืบพยานจำเลยแม้แต่เพียงปากเดียว และเหตุที่ขอเลื่อนมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเป็นคำฟ้อง: สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำคู่ความ
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) คำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง มีผลเป็นการไม่รับคำร้องสอด คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม มาตรา 227 และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปตามมาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตให้สอดเป็นคู่ความเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ อุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลา
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) คำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง มีผลเป็นการไม่รับ คำร้องสอด คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม มาตรา 227 และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอด ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่ วันมีคำสั่งเป็นต้นไปตามมาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานและการสืบพยาน: สิทธิจำเลยในการนำพยานเข้าสืบ
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ
ป.วิ.พ.มาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณีกรณีแรกเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว กับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว
จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้องเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87 (2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานและการไม่อ้างตนเองเป็นพยานเมื่อไม่ได้ยื่นคำให้การและไม่ได้ขออนุญาต
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณา จากคดีเดิมเป็นสำคัญ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณี กรณีแรกเป็นการยืนบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยาน ได้สิ้นสุดลงแล้วกับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้อง เป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87(2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยาน-ประเด็นสินสมรส: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนก่อนพิพากษา
คำแถลงโต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่าที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษาจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียว ส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่อง กำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) โจทก์ฟ้องว่า ป. ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน4,000,000 บาท และให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่าป. รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยมีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอมโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรส ระหว่าง ป. กับจำเลยแล้ว การที่ ป. ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีจำนองและประเด็นสินสมรส: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างให้พิจารณาใหม่
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและจำเลยมีความว่าที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย และนัดฟังคำพิพากษา จำเลยไม่เห็นพ้องด้วย เพราะข้อเท็จจริง ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยยังไม่อาจ รับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียวส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) โจทก์ฟ้องว่า ป.ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน 4,000,000 บาทและให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลย ให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนด เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยาน ข้อนี้และถือว่าป.รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป.การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอม โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วย กฎหมายของป.ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่าง ป.กับจำเลยแล้ว การที่ป.ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบัน แก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสีย ค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, งดสืบพยาน, และผลของสัญญาจำนองสินสมรส
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่า ที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษา จำเลยไม่เห็นพ้องด้วย เพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียวส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
โจทก์ฟ้องว่า ป.ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน 4,000,000 บาทและให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่า ป.รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว
จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอม โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่าง ป.กับจำเลยแล้ว การที่ ป.ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน: สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 226(2) และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาล
ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลย ศาลได้สอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วและนัดฟังคำพิพากษาเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24เพราะที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความคดีนี้ที่โจทก์จำเลยทำขึ้นเพื่อระงับหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับกันได้ตามกฎหมาย จึงไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่จะให้จำเลย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทตามเช็ค โจทก์จะอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้อง เรียกร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้น พิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการ สอบถามโจทก์จำเลย มิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมาย ที่พิพาทกันในคดี ดังนั้นเมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็น เวลา 1 เดือนเศษ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่ง นั้นได้ แต่มิได้โต้แย้ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังขายฝากและการเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครอง จำเลยได้มาโดยสุจริตหรือไม่
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องนิติกรรมอำพรางไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งต้องถือว่าสละประเด็นข้อนี้และโจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 โจทก์ได้นำที่ดินพิพาทขายฝากให้แก่ว. มีกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอน 1 ปี สิทธิครอบครองจึงตกอยู่กับว. ตั้งแต่วันจดทะเบียนขายฝาก โจทก์คงมีแต่สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน ภายในกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ครบกำหนด 1 ปีแล้ว โจทก์ไม่ไถ่ทรัพย์คืน สิทธิครอบครอง ในที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของว. โดยเด็ดขาด โจทก์ผู้ขายฝากเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนว.ผู้ซื้อฝากเท่านั้นการที่โจทก์เพียงแต่นำป้ายไปปักประกาศในที่ดินพิพาทว่า เป็นของโจทก์ และห้ามบุคคลภายนอกเกี่ยวข้อง หาเป็นการแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง แทนว. ไม่ เนื่องจากไม่มีการบอกกล่าวไปยังว. ผู้มีสิทธิครอบครอง โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ขอให้ขับไล่จำเลย ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินที่พิพาท คดีจึงไม่จำต้อง วินิจฉัยประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ว่า จำเลยซื้อที่ดิน พิพาทจากผู้มีชื่อโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
of 68