พบผลลัพธ์ทั้งหมด 675 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่งศาล การที่จำเลยอ้างเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถมาศาลได้ทันเวลา ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลได้
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยทั้งสามในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 3 ก็ได้ยื่นคำร้องชี้แจงเหตุผลในการที่จำเลยทั้งสามมีความจำเป็นจะต้องขอเลื่อนการสืบพยานเนื่องจากในระหว่างเดินทางมาศาล ได้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์บรรทุกสิบล้อชนกับรถยนต์บรรทุกหกล้อเป็นเหตุให้ขวางการจราจร ทำให้รถยนต์ประจำทางที่จำเลยที่ 3 นั่งมาเสียเวลาและจำเลยที่ 3 เดินทางมาถึงศาลเวลา 9.40 น.ทั้งเสียเวลาหาห้องพิจารณาคดี จึงรออยู่จนทนายจำเลยทั้งสามมาพบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพื่อให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบต่อสู้คดี กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 3ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้ว จำเลยที่ 3จึงอุทธรณ์ฎีกาได้ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีและถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีพยานมาสืบ งดสืบพยานจำเลยทั้งสามนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ทั้งที่มีโอกาสจะโต้แย้งได้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้างานต่อการยักยอกเงินของลูกน้อง: ประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแล
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2 ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่นเป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้ว เช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291,296,297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงาน และการแบ่งความรับผิดในละเมิดจากหน้าที่การงาน
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่น เป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้วเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ 1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291, 296, 297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 425, 427, 430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่น เป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้วเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ 1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291, 296, 297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 425, 427, 430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4322/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และประเด็นอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
แบบ ท.ค.16 ที่เจ้าพนักงานที่ดินทำการสอบสวนและบันทึกการสละมรดกเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.6 มีข้อความว่า ด้วยที่ดินแปลงเครื่องหมายดังกล่าวข้างบน คือ น.ส.3 หมู่ที่ 4 ตำบลมีชัย เลขที่ 10 อำเภอเมืองหนองคายจังหวัดหนองคาย มีชื่อ ค.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง แต่บัดนี้ถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อ 12มิถุนายน 2517 ข้าพเจ้าเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกโดยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินรายนี้ แต่ข้าพเจ้าไม่รับเพราะข้าพเจ้าได้รับมรดกส่วนอื่นไปแล้ว และลงลายมือชื่อ จ.และโจทก์ ซึ่งเลขที่ดินที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.9 ตรงกับเลขที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.6 อันเป็นทรัพย์มรดกที่พิพาทในคดีนี้ และเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.9มีข้อความระบุชัดเจนว่า โจทก์และ จ.สละมรดกสำหรับที่พิพาทกับมีข้อความว่าขอให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอเมืองหนองคายโดยมีลายมือชื่อนายอำเภอเมืองหนองคายในเอกสารดังกล่าวทั้งระบุสถานที่ทำเอกสารว่าทำที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคายด้วยดังนั้น จึงเป็นการสละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1612 แล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์สละมรดกของ ค.แล้วหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับมรดกของบิดาโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในข้อนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์สละมรดกของ ค.แล้วหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับมรดกของบิดาโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในข้อนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาและการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นไปก่อนโดยโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น เหตุที่ห้ามอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพราะจะทำให้คดีล่าช้าและเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจึงอุทธรณ์ฎีกาได้ และหากข้อโต้แย้งฟังขึ้น ศาลก็จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ฉะนั้น การที่โจทก์มีข้อโต้แย้งหรือเห็นว่าคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่อย่างใด การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาหลังมีคำพิพากษา: การพิจารณาคดีใหม่และการงดสืบพยาน
คำสั่งอันจะถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะคำสั่งที่สั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเท่านั้น แม้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อมีคำสั่งชี้ขาดตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่อีกคำสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวก่อนมีคำสั่งชี้ขาดคำขอนั้นย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน ดังนั้น หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ระหว่างการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่24 มกราคม 2538 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ก่อนที่จะมีคำสั่งชี้ขาดอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่งวันที่ 31 มกราคม 2538 จำเลยจึงมีเวลาถึง7 วัน ที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวได้ แต่หาได้โต้แย้งคัดค้านไม่จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: สภาพรถไม่เหมาะสม, การจดทะเบียน, การเลิกสัญญา, และผลกระทบต่อเช็ค
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้ลงชี่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่ได้คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าจำเลยได้สละประเด็นแห่งคดีตามข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ได้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้เงินดาวน์และเงินค่างวดแก่โจทก์ในภายหลังเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย
รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน รถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย
ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่งขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา
ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม) ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537 และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อ และผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย
รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน รถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย
ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่งขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา
ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม) ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537 และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อ และผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การเลิกสัญญาโดยปริยาย และสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อ
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่ได้คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าจำเลยได้สละประเด็นแห่งคดีตามข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความโจทก์ได้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้เงินดาวน์และเงินค่างวดแก่โจทก์ในภายหลังเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วนรถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่ง>ขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามาผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบ มาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลยการที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตาม แต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไป และหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระ คดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ (1) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้อง ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้ว ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้น หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่ การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247