คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 675 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา: คำสั่งศาลอุทธรณ์ยกคำร้องระบุพยานเพิ่มเติม ต้องห้ามฎีกาจนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาจนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7352/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์
คดีนี้จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนแล้วเสร็จและนัดฟังคำพิพากษา ก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษาจำเลยมายื่นคำร้องว่ามิได้จงใจขาดนัด ขอให้ศาลไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งพิจารณาคดีใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ต่อมาศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าจ้างโดยไม่ชอบธรรมและอายุความฟ้องร้องคดีแรงงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
วันที่ 9 มีนาคม 2543 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้ว เห็นว่าคดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งที่ให้งดสืบพยานซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้ง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ เฉพาะของโจทก์ลดลงไปเดือนละ 2,022 บาท ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 รวม 26 เดือน เป็นเงิน 52,572 บาท การลดเงินเดือนและไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและผิดสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 จึงขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี เมื่อจำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามบทบัญญัติข้างต้น มิใช่เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยาน, อายุความค่าจ้าง, และดอกเบี้ยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ต้องนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมในคดีแรงงานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความและคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าคดีไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยกับพยานโจทก์ และให้นัดฟังคำพิพากษาในวันซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 การลดเงินเดือนโจทก์และไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และผิดสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเอาจากจำเลยจึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี จำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าจากการใช้อาวุธปืนยิงผู้อื่น ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.ม. 371 ลงโทษปรับ 60 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ม.8 ทวิ วรรคสองและ 72 ทวิ วรรคสอง อีกบทหนึ่ง และให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มี โทษหนักที่สุด แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังคงลงโทษปรับจำเลย 60 บาท ซึ่งเป็นโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท และไม่ใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ผู้เสียหายที่ 3 และ ท. เบิกความตอบโจทก์ แต่ไม่ได้เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลย ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ ตาม ป.วิ.อ. ม.226 ประกอบกับในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยเป็รผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสาม
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นอันเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงและใช้ทำอันตรายให้ถึงแก่ความตายได้ยิงผู้เสียหายทั้งสามกับพวกในระยะใกล้ และกระสุนปีนถูกผู้เสียหายทั้งสามบรเวณลำคอ อก คาง ใบหน้า และต้นแขน ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า หาใช่เพียงเจตนาทำร้าย เมื่อผู้เสียหายทั้งสามไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยว่าฝ่ายผู้เสียหายทั้งสามได้ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสามในขณะนั้นตาม ป.อ.ม.72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567-1572/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแรงงานไม่อุทธรณ์ได้ก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องของโจทก์ทั้งหกฉบับที่ยื่นในระหว่างศาลแรงงานพิจารณาคดี ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานจะต้องใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความหรือเป็นข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยในตอนพิพากษาคดีทั้งสิ้น การที่ศาลแรงงานสั่งในคำร้องทั้งหกฉบับของโจทก์เป็นคำสั่งก่อนที่จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อนศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567-1572/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแรงงานไม่อุทธรณ์ได้ก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานจะต้องใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความหรือเป็นข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยในตอนพิพากษาคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลแรงงานที่สั่งในคำร้องทั้งของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นก่อนที่ศาลแรงงานจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันจะทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. กับ ศ. มีสินสมรสคือ ที่ดินตาม น.ส. 3 ก. ต่อมา ป. ตาย ที่ดินจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ต่อมา ศ. โอนที่ดินให้จำเลย จำเลยได้ไปขอออกโฉนด ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยให้การไว้ว่า ศ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำให้การของจำเลยจึงขัดแย้งกันเอง เพราะการที่ ศ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเห็นได้ในเบื้องต้นว่าเป็นการให้โดยเสน่หาซึ่งไม่มีค่าตอบแทน หากจำเลยเสียค่าตอบแทนอย่างไรก็ต้องกล่าวไว้ในคำให้การให้ชัดแจ้ง คำให้การเช่นนี้จึงไม่มีประเด็นในเรื่องการรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ไม่ครบถ้วน การที่จำเลยยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า ที่ดินพิพาทติดจำนอง จำเลยไถ่ถอนจำนองเอง ซึ่งเป็นการได้ที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนและโจทก์ได้รับมรดกส่วนของตนไปแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนค่าธรรมเนียมศาลและค่าคำร้องที่ชำระเกินจำนวนที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยโดยมิได้สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ต่อมาเมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยชำระค่าคำร้องมา 200 บาท ซึ่งความจริงต้องชำระเพียง 40 บาท การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมและสั่งคืนค่าคำร้องที่เกิน 40 บาท ให้จำเลยเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 167 และตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาและการไม่อุทธรณ์ได้: การรอไต่สวนคำร้องคุ้มครองประโยชน์ไม่ถือเป็นการยกคำร้อง
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทำคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งมายื่นใหม่ภายใน 15 วัน ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอไว้สั่งหลังจากได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งก่อน คำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของจำเลย แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยยื่นคำร้องต่อมาขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาที่ยื่นไว้ดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ายังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งที่ให้รอการไต่สวนไว้ก่อนเท่านั้น หาได้ มีผลเป็นการยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาที่ จำเลยยื่นไว้อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 ไม่ คำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)
of 68