คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบัติ อรรถพิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการขอศาลสั่งเป็นบุคคลสาบสูญ: ยานพาหนะที่พบ vs. สูญหายพร้อมผู้ขับ
ช. เดินทางออกจากบ้านโดยใช้รถยนต์กระบะ แล้วสูญหายไป ภายหลังพนักงานของบริษัทพบรถยนต์กระบะที่ ช. เช่าซื้อไปจอดอยู่ที่ด่านทางออกไปสหภาพพม่าจึงยึดรถยนต์กลับคืนมา การที่พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้เดินทาง จึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะต้องขอให้เป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีประหารชีวิต ต้องตรวจสอบความผิดก่อนพิจารณาคำอุทธรณ์เรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพากษายืน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาลดโทษและลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงพิจารณาตามปัญหาที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.ม.216 โต้แย้งเฉพาะศาลชั้นต้น ไม่โต้แย้งศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 1 กล่าวถึงคำฟ้องโจทก์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จากนั้นเริ่มเนื้อหาเหตุผลของฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และลงท้ายว่าด้วยเหตุผลดังที่ได้กราบเรียนมาข้างต้นขอศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยที่ 1 พ้นข้อกล่าวหา ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ข้อความเนื้อหาในฎีกาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแล้ว ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยคำฎีกาในส่วนนี้คัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์: การใช้ทางต่อเนื่องยาวนานโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาที่จะได้สิทธิ
โจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณประโยชน์โดยใช้ทางตั้งแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. และ ก. จนกระทั่งต่อมาที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้ทางพิพาทสืบเนื่องต่อกันมาด้วยความสงบโดยเปิดเผย โดยเจตนาใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเกินกว่า 10 ปี เมื่อคดีไม่ได้ความว่าเคยมีการขออนุญาตหรือมีการให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยทั้งหกเพื่อใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ทั้งพฤติการณ์ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะ แสดงว่ามีการใช้ทางพิพาทอย่างประสงค์จะให้ได้สิทธิทางภาระจำยอมโดยมิได้อาศัยสิทธิของผู้ใด จึงนับได้ว่ามีลักษณะเป็นการใช้สิทธิที่เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งหกผู้เป็นเจ้าของทางพิพาท โจทก์ที่ 1 ย่อมได้สิทธิในทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
การรื้อถอนลวดหนามออกจากทางพิพาทนั้น หากจำเลยทั้งหกไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะเป็นผู้รื้อถอนเองโดยให้จำเลยทั้งหกเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัคร ส.ส. จากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งใหม่หลังการเลือกตั้งเป็นโมฆะ และไม่แจ้งเหตุ
เมื่อการเลือกตั้งเกิดการทุจริตและคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 145 (4) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ มาตรา 10 (7) ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 21 และมาตรา 22 ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียสิทธิเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการไฟฟ้าต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
การไฟฟ้านครหลวงจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในการส่งจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเมื่อกระแสไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าดังกล่าว เกิดการลัดวงจรเป็นเหตุให้เพลิงลุกไหม้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ผู้ต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 นำสืบว่าได้ดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างดีแล้ว แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าหรือทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร