คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 228

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาคดี: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาคำสั่งก่อนมีคำพิพากษาคดี
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้องเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 แม้โจทก์จะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้ว ไม่มีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9219/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคืนคำคู่ความ: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 และผลกระทบต่อการหมดสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทำมาใหม่เป็นคำสั่งชั้นตรวจคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ตามวรรคสองของ มาตรา 18 แต่วรรคท้ายของมาตรา 18 บัญญัติให้อุทธรณ์และฎีกาคำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247 กรณีมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ. ที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ การที่จำเลยไม่ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในเวลา 3 วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาทำให้จำเลยหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ทำมาใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคท้าย ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9219/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคืนคำคู่ความ: การบังคับใช้มาตรา 18 และ 228 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทำมาใหม่ เป็นคำสั่งชั้นตรวจคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ตามวรรคสองของมาตรา 18 แต่วรรคท้ายของมาตรา 18 บัญญัติให้อุทธรณ์และฎีกาคำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247 กรณีมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ. ที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ การที่จำเลยไม่ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในเวลา 3 วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาทำให้จำเลยหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ทำมาใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคท้าย ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุมัติรับฟ้องแย้งและผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้องทางศาล
คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นให้ส่งสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา โดยมิได้งดการพิจารณา ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ทำคำสั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีเดิม ต่อมาศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาคดีเกี่ยวกับฟ้องแย้งโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อจำเลยฎีกา จึงไม่มีเหตุที่จะให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและรื้อฟื้นพิจารณาพิพากษาประเด็นตามฟ้องแย้งใหม่ หากจำเลยเห็นว่ามีสิทธิตามฟ้องแย้งก็ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้เพราะคำพิพากษาดังกล่าวไม่ตัดสิทธิของจำเลยที่จะเรียกร้องตามสิทธิของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี หากข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ครอบคลุมคู่สัญญาโดยตรง ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
การขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 หากศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเป็นคุณแก่ฝ่ายที่ขอแล้ว แม้จะมีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปก็ตาม แต่ข้อกฎหมายตามคำร้องขอนั้น ศาลก็ไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีในข้อนี้อีก การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง (ที่ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น) เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้
สัญญาข้อตกลง ข้อ 18 เรื่องการระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการระบุให้นำข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมากับวิศวกร หรือผู้แทนของเจ้าของ โดยเกี่ยวข้องกับหรือเกิดขึ้นจากสัญญาหรือการปฏิบัติงาน ให้เสนอต่อวิศวกรและอนุญาโตตุลาการก่อน แต่ข้อพิพาทคดีนี้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเหมาเป็นคู่สัญญากับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของ จึงไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขของข้อสัญญา ข้อ 18 ที่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ และการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
การที่ผู้ร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกัน 5 ครั้งมาเป็นเวลานานเกือบ 1 ปี ไม่ยอมนำสืบพยานหลักฐาน การขอเลื่อนครั้งที่สี่ศาลชั้นต้นกำชับไว้แล้วว่าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีอีกและให้ผู้ร้องเตรียมพยานมาศาลให้พร้อมสืบ ผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้ว ในวันสืบพยานครั้งที่ 5 ผู้ร้องไม่มีพยานมาศาล ขอเลื่อนคดีอ้างเหตุ ร. ทนายความติดหาเสียงเลือกตั้งทั้งที่ผู้ร้องแต่งตั้งทนายความไว้สองคนคือ ร. และ ท. เมื่อไม่ปรากฏว่า ท. ติดภาระใดหรือเจ็บป่วยเหตุขอเลื่อนคดีของผู้ร้องจึงไม่มีเหตุผลเพียงพอแก่การรับฟัง มีลักษณะเป็นการประวิงคดี
แม้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (3) ไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและอุทธรณ์ได้ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 228 วรรคสาม ให้ศาลชั้นต้นดำเนินคดีต่อไปและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีโดยไม่ต้องหยุดการพิจารณา เว้นแต่ศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการสมควรและมีคำสั่งให้งดการพิจารณาไว้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการพิจารณาหรืองดการวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ มีคำสั่งยกคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ จึงชอบด้วยเหตุผลและกระบวนพิจารณาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, การรับคำฟ้องใหม่, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี: กรณีทนายความไม่มีใบอนุญาต
แม้ ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์ทั้งสองหลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ได้ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้โจทก์ทั้งสองเพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยทั้งเก้าก็มีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทั้งสองทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มุ่งให้ความ คุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป เนื่องจากจำเลยทั้งเก้าซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนโจทก์ทั้งสองก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จสิ้นการพิจารณา ตรงกันข้ามหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่ยื่นคำฟ้องอันจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทั้งเก้าทำคำให้การใหม่ และสืบพยานกันใหม่ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยทั้งเก้าต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิม จำเลยทั้งเก้าย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบได้ อันทำให้จำเลยทั้งเก้าได้เปรียบทางเชิงคดีซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นชอบด้วยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาตามคำร้องของจำเลยที่ 7 และที่ 8 และให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้ว
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาและการไม่อุทธรณ์ได้: การรอไต่สวนคำร้องคุ้มครองประโยชน์ไม่ถือเป็นการยกคำร้อง
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทำคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งมายื่นใหม่ภายใน 15 วัน ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอไว้สั่งหลังจากได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งก่อน คำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของจำเลย แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยยื่นคำร้องต่อมาขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาที่ยื่นไว้ดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ายังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งที่ให้รอการไต่สวนไว้ก่อนเท่านั้น หาได้ มีผลเป็นการยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาที่ จำเลยยื่นไว้อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 ไม่ คำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ถือเป็นการยกคำร้อง ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้ทันที
จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทำคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งมายื่นใหม่ภายใน 15 วัน ต่อมาจำเลยทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอไว้สั่งหลังจากศาลได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่ก่อน คำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาของจำเลยทั้งสี่แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาของจำเลยทั้งสี่ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นไว้แล้วเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมให้ยกคำร้อง จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งที่ให้รอการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาไว้ก่อนเท่านั้น หาได้มีผลเป็นการยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาฉบับลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ที่จำเลยทั้งสี่ได้ยื่นไว้แต่เดิม อันจะทำให้จำเลยทั้งสี่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 แต่อย่างใดไม่ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น. ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส. ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น. เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้ายไม่
of 13