คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 228

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น. ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส. ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น. เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้ายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและการเลื่อนคดีในคดีแรงงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขน จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ. พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังพิจารณาคดี และการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานที่ไม่รับอุทธรณ์การเลื่อนคดี
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 (3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฎว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขนจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ.พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง
ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการยกคำร้องงดบังคับคดี และดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาด
คำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำการไต่สวนก่อน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่สมควรอนุญาตตามคำร้องก็อาจยกคำร้องเสียได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน ปัญหาว่า การยึดทรัพย์ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดแต่เป็นประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องฉบับอื่นของจำเลยที่ 1ที่ศาลชั้นต้นได้สั่งยกคำร้องและจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วซึ่งจำเลยที่ 1 เพียงพอขึ้นเท้าความในคำร้องนี้เท่านั้น ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว การขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะทำการขาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องใช้ดุลพินิจในการขายเพื่อให้ได้ราคาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้หาใช่ว่าจะต้องขายในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะยึดทรัพย์ไม่ แม้หากราคาที่ประเมินในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดจะมีราคาสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ในขณะยึดทรัพย์มากก็ตามหากข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้นจำเลยก็ย่อมหาผู้อื่นมาเข้าสู้ราคาได้หาใช่ว่าจะต้องขายในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้หรือถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ต่ำกว่าราคาที่แท้จริงมากจำเลยก็ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 296 วรรคสองได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สวมสิทธิเข้าดำเนินการบังคับคดีแทนโจทก์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีมีพฤติการณ์ ส่อให้เห็นว่าจะดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดรายนี้ โดยไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้อง มีคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ทำการประเมินราคาใหม่หรือ ปรับราคาประเมินตามราคาปัจจุบันตามที่จำเลยที่ 1 ร้องขอ และรูปคดีไม่มีเหตุให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไว้ในระหว่าง การพิจารณา คดีไม่จำต้องไต่สวนและให้งดการขายทอดตลาดนั้นไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำให้การและการห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่1เมื่อวันที่27เมษายน2537จำเลยที่1อุทธรณ์คำสั่งในวันที่17มิถุนายน2537แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากมิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกรณีจึงต้องถือว่าจำเลยที่1ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำให้การของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา228วรรคสองแล้วฉะนั้นจำเลยที่1จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเดียวกันภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามวรรคท้ายแห่งมาตราดังกล่าวไว้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์ตามกำหนดและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีขับไล่
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย เมื่อวันที่27 เมษายน 2537 แล้ว จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในวันที่ 17 มิถุนายน 2537แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากมิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ดังนี้ กรณีจึงต้องถือว่า จำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำให้การของจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสอง แล้วฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเดียวกันภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามวรรคสุดท้ายแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวอีก
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือนเดือนละ 95 บาท เท่ากับค่าเช่าอาคารพิพาท41 เดือน เป็นเงินรวม 3,895 บาท และอีกเดือนละ 95 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะออกจากอาคารดังกล่าว จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดและการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับคำให้การ การดำเนินการหลังจากศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จสิ้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ทันทีตามมาตรา 228(3)แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นคงดำเนินการพิจารณาต่อไป และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ก่อนตามมาตรา 228 วรรคสองจนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปแล้ว โดยจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น การที่จะให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีไม่ว่าศาลชั้นต้นจะสั่งรับหรือไม่รับคำให้การของจำเลยย่อมไม่อาจจะทำให้ผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องเรียกทายาทบุคคลภายนอกเข้าสู่คดีไม่ใช่คำคู่ความ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้
คำร้องที่จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นเรียกทายาทของบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5)เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและศาลชั้นต้นยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีจำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 226(1) ประกอบกับมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: คำร้องขอใช้เงินฝากที่ถูกคุ้มครอง มิใช่การทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่าย คำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับและไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้ววินิจฉัยชี้ขาดโดยอ้าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 เป็นหลักว่าจำเลยกระทำการโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แสดงว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24,228(3) โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อน
of 13