พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงในชั้นบังคับคดีได้ แม้จำเลยจะโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นไปแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องโดยเหตุสุดวิสัย ก็ให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ จำเลยขอปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยวิธีคืนเงินให้โจทก์ อ้างเหตุผลในคำร้องว่าจำเลยจำต้องใช้บ้านที่อยู่อาศัยจำเลยไม่มีบ้านอื่นอีก ไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ได้และจำเลยเอาโฉนดไปประกันหนี้เงินกู้ไว้ เหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านได้ เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้องจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านอยู่ในวิสัยที่จะโอนให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่สอบถามโจทก์ก่อนและสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนได้ที่จำเลยอ้างว่าได้โอนขายที่และบ้านให้บุคคลภายนอกไปแล้วไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้โจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำขึ้นในภายหลังที่จำเลยทราบคำบังคับของศาลแล้ว ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเจตนาในสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการชำระหนี้แทนและการโอนที่ดิน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมีเจตนาให้โจทก์ชำระหนี้เงินกู้แทนจำเลยแล้วจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่เนื่องจากโจทก์จำเลยเข้าใจว่าการที่จำเลยกู้เงินโดยมอบใบน.ส.3 ก. ให้เจ้าหนี้ไว้นั้นเป็นจำนองจึงระบุในสัญญาประนีประนอมว่าให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทดังนี้ตามสัญญาประนีประนอมนั้นโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้แทนจำเลย
คดีในชั้นฎีกาพิพาทกันเกี่ยวกับการแปลเจตนาของคู่ความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(2) ตอนท้าย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข..
คดีในชั้นฎีกาพิพาทกันเกี่ยวกับการแปลเจตนาของคู่ความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(2) ตอนท้าย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนที่ดินพิพาทเป็นแปลงอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม มิฉะนั้นศาลไม่อนุญาต
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันมีคำสั่ง
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์โจทก์โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนพอแก่การวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวว่าจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกว่า จำเลยนำที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97 เนื้อที่ 29 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 23 ของเจ้ามรดกไปออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 603 เป็นของจำเลยเป็นส่วนตัว และขอแก้ไขคำฟ้องจากที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97 ฯ เป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 เนื้อที่ 36 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 3 ซึ่งเป็นของ ก. เป็นการขอแก้เป็นที่ดินต่างแปลงกันและเป็นที่ดินของบุคคลอื่นจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์โจทก์โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนพอแก่การวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวว่าจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกว่า จำเลยนำที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97 เนื้อที่ 29 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 23 ของเจ้ามรดกไปออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 603 เป็นของจำเลยเป็นส่วนตัว และขอแก้ไขคำฟ้องจากที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97 ฯ เป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 เนื้อที่ 36 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 3 ซึ่งเป็นของ ก. เป็นการขอแก้เป็นที่ดินต่างแปลงกันและเป็นที่ดินของบุคคลอื่นจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, ผลกระทบต่อการรับคำคู่ความ, สิทธิอุทธรณ์, การวินิจฉัยของศาลฎีกา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันมีคำสั่ง
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์โจทก์โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนพอแก่การวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวว่าจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกว่า จำเลยนำที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 97 เนื้อที่ 29 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 23 ของเจ้ามรดกไปออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 603 เป็นของจำเลยเป็นส่วนตัวและขอแก้ไขคำฟ้องจากที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97ฯ เป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 เนื้อที่ 36 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 3 ซึ่งเป็นของ ก. เป็นการขอแก้เป็นที่ดินต่างแปลงกันและเป็นที่ดินของบุคคลอื่นจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม.
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์โจทก์โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนพอแก่การวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวว่าจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกว่า จำเลยนำที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 97 เนื้อที่ 29 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 23 ของเจ้ามรดกไปออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 603 เป็นของจำเลยเป็นส่วนตัวและขอแก้ไขคำฟ้องจากที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97ฯ เป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 เนื้อที่ 36 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 3 ซึ่งเป็นของ ก. เป็นการขอแก้เป็นที่ดินต่างแปลงกันและเป็นที่ดินของบุคคลอื่นจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้งดการบังคับคดีขายทอดตลาดใหม่เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง พิจารณาจากราคาประเมินและราคาขายจริง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด จำเลยยื่น คำร้องขอให้ขายทอดตลาดใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องจำเลยอุทธรณ์คำสั่งและยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้สั่งให้ งดดำเนินการเกี่ยวกับการขายทอดตลาดไว้ก่อน ดังนี้ เป็นเรื่องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง เป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณา จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังศาลฎีกาพิพากษาให้พิจารณาใหม่ และการไม่ถือว่าเป็นการล่วงเลยการพิจารณา
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง คำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นการตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ จึงเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) เมื่อคู่ความยื่นคำร้องและศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องตามมาตรา 180คำสั่งนี้จึงมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18ซึ่งทำให้ประเด็นที่โจทก์ตั้งขึ้นโดยคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเสร็จไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามมาตรา 228(3) เพราะไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นงดสืบพยาน แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ทำการชี้สองสถานหรือทำการสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องและขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้กรณีไม่ใช่ล่วงเลยการชี้สองสถานและวันสืบพยานจนศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นการพิจารณาไปแล้ว เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกคำพิพากษาศาลฎีกายกเสียแล้ว การขอแก้ไขคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะขอแก้ไขได้แม้เป็นการเพิ่มเติม ข้อเท็จจริงหรือสละข้อเท็จจริงเพื่อให้ข้อหาที่ตั้ง ไว้เดิม แต่ยังคงให้จำเลยรับผิดตามเดิม ส่วนการขอแก้ไขคำให้การ แก้ฟ้องแย้ง แม้จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ ย่อมกระทำได้ ตามมาตรา 179(2)(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การหลังขาดนัด และขอบขยายเวลา ศาลไม่ต้องสั่งไม่รับคำให้การ หากไม่ขยายเวลา
การขออนุญาตยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรกแล้ว จำเลยที่ 2 จึงขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้
คำร้องของจำเลยที่ 2 บรรยายไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2525 และพ้นกำหนดที่จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ จึงเท่ากับเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งกรณีนี้เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะถึงขั้นพิจารณาเกี่ยวกับการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การ หากศาลสั่งไม่อนุญาตก็ไม่ต้อง พิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้น ไม่ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาจึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำร้องของจำเลยที่ 2 บรรยายไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2525 และพ้นกำหนดที่จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ จึงเท่ากับเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งกรณีนี้เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะถึงขั้นพิจารณาเกี่ยวกับการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การ หากศาลสั่งไม่อนุญาตก็ไม่ต้อง พิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้น ไม่ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาจึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การหลังขาดนัด: ศาลไม่ต้องสั่งไม่รับคำให้การหากไม่อนุญาตขยายเวลา
การขออนุญาตยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา197 วรรคแรกแล้ว จำเลยที่ 2 จึงขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้
คำร้องของจำเลยที่ 2 บรรยายไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2525และพ้นกำหนดที่จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีแล้วการที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ จึงเท่ากับเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่ จำเลยที่2 ซึ่งกรณีนี้เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะถึงขั้นพิจารณา เกี่ยวกับการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การ หากศาลสั่งไม่อนุญาตก็ไม่ต้อง พิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้น ไม่ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องสั่งไม่รับ คำให้การของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็น ระหว่างคู่ความฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำร้องของจำเลยที่ 2 บรรยายไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2525และพ้นกำหนดที่จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีแล้วการที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ จึงเท่ากับเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่ จำเลยที่2 ซึ่งกรณีนี้เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะถึงขั้นพิจารณา เกี่ยวกับการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การ หากศาลสั่งไม่อนุญาตก็ไม่ต้อง พิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้น ไม่ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องสั่งไม่รับ คำให้การของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็น ระหว่างคู่ความฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเรียกค่าขึ้นศาลก่อนพิจารณาคำร้องรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น: ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้เอาเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอดังกล่าว แก่โจทก์จำเลยนัดไต่สวนและให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อน ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณาแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลมาชำระ ก่อนวันนัดไต่สวนคำร้อง มิฉะนั้นจะจำหน่ายคดีดังนี้ เป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และ มิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลก่อนพิจารณาคำร้องรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น: คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้เอาเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอดังกล่าว แก่โจทก์จำเลยนัดไต่สวนและให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อนถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณาแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสีย ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลมาชำระ ก่อนวันนัดไต่สวนคำร้อง มิฉะนั้นจะจำหน่ายคดี ดังนี้ เป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และ มิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226