คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 228

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากร: หัวน้ำมันหอมผสมไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่เป็นเครื่องหอมที่ต้องใช้อัตรากำไรมาตรฐาน
สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 77หมายถึงสิ่งใดๆ ซึ่งอาจใช้อุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีโดยไม่ต้องเอาสิ่งนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก การพิจารณาว่าสิ่งใดอาจใช้สอยได้ทันทีหรือไม่ต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติ เพราะวัตถุไม่สำเร็จรูปก็อาจใช้ได้ทันทีเหมือนกัน หากเป็นการใช้ในสภาพของวัตถุไม่สำเร็จรูป โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นเสียก่อนจนเปลี่ยนจากสภาพปกติหรือสภาพเดิม ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
หัวน้ำหอม ซึ่งสั่งจากต่างประเทศเพื่อใช้แต่งกลิ่นวัตถุอื่น ตามสภาพไม่อาจใช้อุปโภคบริโภคได้ทันที การใช้ทาผิวหนังเกิดโทษ อาจเป็นผื่นคันระคายแก่ผิวหนัง การใช้อบวัตถุก็มีความระเหยเร็ว ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ดังนี้ย่อมไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ในเรื่องอัตรากำไรมาตรฐาน โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องในประเด็นข้อนี้หรือไม่ แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยให้การรับตามฟ้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ยุติไม่ต้องสืบพยานในข้อนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะศาลชั้นต้นถือว่า จำเลยรับข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่จำต้องสืบพยาน มิใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม มาตรา 24 ซึ่งอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 228 ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้แถลงโต้แย้งไว้ย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกา
หัวน้ำหอมผสมโดยสภาพมีกลิ่นหอม นับได้ว่าเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่งจึงต้องใช้อัตรากำไรมาตรฐานคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับหัวน้ำหอมหรือเครื่องหอม ตามบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานฯท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้าฉบับที่ 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 5 ข้อ 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูป vs. วัตถุดิบทางภาษี: หัวน้ำมันหอมเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือไม่ และอัตรากำไรมาตรฐานที่ถูกต้องคืออะไร
สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายถึงสิ่งใด ๆ ซึ่งอาจใช้อุปโภคหรือบริโภคไดทันทีโดยไม่ต้องเอาสิ่งนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก การพิจารณาว่าสิ่งใดอาจใช้สอยได้ทันทีหรือไม่ต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติ เพราะวัตถุไม่สำเร็จรูปก็อาจใช้ได้ทันทีเหมือนกัน หากเป็นการใช้ในสภาพของวัตถุไม่สำเร็จรูป โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นเสียก่อนจนเปลี่ยนจากสภาพปกติหรือสภาพเดิม ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
หัวน้ำหอม ซึ่งสั่งจากต่างประเทศเพื่อใช้แต่งกลิ่นวัตถุอื่น ตามสภาพไม่อาจใช้อุปโภคบริโภคได้ทันที การใช้ทาผิวหนังเกิดโทษ อาจเป็นผื่นคันระคายแก่ผิวหนัง การใช้อบวัตถุก็มีความระเหยเร็ว ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ดังนี้ย่อมไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ในเรื่องอัตรากำไรมาตรฐานโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องในประเด็นข้อนี้หรือไม่ แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยให้การรับตามฟ้องของโจทก์แล้ว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คดค้านการประเมินแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ยุติไม่ต้องสืบพยานในข้อนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 เพราะศาลชั้นต้นถือว่า จำเลยรับข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่จำต้องสืบพยาน มิใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม มาตรา 24 ซึ่งอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 228 ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้แถลงโต้แย้งไว้ย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกา
หัวน้ำมันหอมผสมโดยสภาพมีกลิ่นหอม นับได้ว่าเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่งจึงต้องใช้อัตรากำไรมาตรฐานคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกันหัวน้ำหอมหรือเครื่องหอม ตามบัญชีอัตรากำไรมาตรฐาน 9 ท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้าฉบับที่ 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 5 ข้อ 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูป-ไม่สำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากร และอำนาจฟ้องกรณีอัตรากำไรมาตรฐาน
สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 77.หมายถึงสิ่งใดๆ ซึ่งอาจใช้อุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีโดยไม่ต้องเอาสิ่งนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก. การพิจารณาว่าสิ่งใดอาจใช้สอยได้ทันทีหรือไม่ต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติ. เพราะวัตถุไม่สำเร็จรูปก็อาจใช้ได้ทันทีเหมือนกัน. หากเป็นการใช้ในสภาพของวัตถุไม่สำเร็จรูป โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นเสียก่อนจนเปลี่ยนจากสภาพปกติหรือสภาพเดิม. ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป.
หัวน้ำหอม ซึ่งสั่งจากต่างประเทศเพื่อใช้แต่งกลิ่นวัตถุอื่น ตามสภาพไม่อาจใช้อุปโภคบริโภคได้ทันที. การใช้ทาผิวหนังเกิดโทษ อาจเป็นผื่นคันระคายแก่ผิวหนัง. การใช้อบวัตถุก็มีความระเหยเร็ว ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร.ดังนี้ย่อมไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป.
ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ในเรื่องอัตรากำไรมาตรฐาน. โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องในประเด็นข้อนี้หรือไม่. แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยให้การรับตามฟ้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแล้ว.โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ยุติไม่ต้องสืบพยานในข้อนี้. คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226. เพราะศาลชั้นต้นถือว่า จำเลยรับข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่จำต้องสืบพยาน มิใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม มาตรา 24ซึ่งอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 228 ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้แถลงโต้แย้งไว้ย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกา.
หัวน้ำหอมผสมโดยสภาพมีกลิ่นหอม นับได้ว่าเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่งจึงต้องใช้อัตรากำไรมาตรฐานคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับหัวน้ำหอมหรือเครื่องหอม ตามบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานฯท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้าฉบับที่ 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 5 ข้อ 12.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ไม่ใช่คำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในกรณีร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57นั้น ถ้าบุคคลภายนอกมีคำขอสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะต้องแสดงเหตุที่จะขอเข้ามาในคดี คำขอเช่นนี้เป็นคำคู่ความตามฝ่ายที่เข้าร่วม หรือถ้าไม่เป็นฝ่ายใด แต่เพื่อบังคับตามสิทธิของตนก็เป็นคำฟ้อง ในกรณีที่ถูกเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ต้องยื่นเอกสารแสดงเหตุว่าเข้ามา ในคดีเพราะเหตุใด ถ้าถูกเรียกเข้ามาเป็นฝ่ายจำเลย จะต้องยื่นคำให้การด้วย ตามมาตรา 177 วรรคท้าย ดังนี้ คำขอและเอกสารแสดงเหตุที่สอดเข้ามาจึงจัดว่าเป็นคำคู่ความถ้าศาลมีคำสั่งไม่ให้เข้ามาในคดี ย่อมมีผลเป็นการไม่รับคำคู่ความ แต่คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ยังไม่มีการขอเข้ามาหรือแสดงเหตุที่เข้ามาเป็นคู่ความ หาใช่เป็นคำคู่ความไม่และมิใช่เป็นการตั้งประเด็นเพราะมิได้เป็นข้อเถียงหรือข้อแก้คำฟ้องแต่ประการใดคำสั่งคำขอชนิดนี้จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำขอให้เรียกคนภายนอกเข้ามาเป็นจำเลย มิใช่คำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 228(2) เพราะถ้าจำเลยแพ้คดีจะได้ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกที่จะเรียกเข้ามา ประโยชน์อย่างนี้มิใช่ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพราะประโยชน์จะเกิดขึ้น เมื่อศาลพิพากษาคดีให้จำเลยแพ้แล้วและจำเลยต้องชำระหนี้แล้ว จึงจะรับช่วงสิทธิของโจทก์ไปไล่เบี้ยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้าเป็นจำเลย ไม่ใช่คำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในกรณีร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 นั้นถ้าบุคคลภายนอกมีคำขอสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะต้องแสดงเหตุที่จะขอเข้ามาในคดี คำขอเช่นนี้เป็นคำคู่ความตามฝ่ายที่เข้าร่วม หรือถ้าไม่เป็นฝ่ายใด แต่เพื่อบังคับตามสิทธิของตนก็เป็นคำฟ้อง ในกรณีที่ถูกเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ต้องยื่นเอกสารแสดงเหตุว่าเข้ามาในคดีเพราะเหตุใด ถ้าถูกเรียกเข้ามาเป็นฝ่ายจำเลย จะต้องยื่นคำให้การด้วย ตามมาตรา 177 วรรคท้าย ดังนี้ คำขอและเอกสารแสดงเหตุที่สอดเข้ามาจึงจัดว่าเป็นคำคู่ความถ้าศาลมีคำสั่งไม่ให้เข้ามาในคดี ย่อมมีผลเป็นการไม่รับคำคู่ความ แต่คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ยังไม่มีการขอเข้ามาหรือแสดงเหตุที่เข้ามาเป็นคู่ความ หาใช่เป็นคำคู่ความไม่ และมิใช่เป็นการตั้งประเด็นเพราะมิได้เป็นข้อเถียงหรือข้อแก้คำฟ้องแต่ประการใดคำสั่งคำขอชนิดนี้จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำขอให้เรียกคนภายนอกเข้ามาเป็นจำเลย มิใช่คำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 228(2) เพราะถ้าจำเลยแพ้คดีจะได้ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกที่จะเรียกเข้ามา ประโยชน์อย่างนี้มิใช่ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพราะประโยชน์จะเกิดขึ้นเมื่อศาลพิพากษาคดีให้จำเลยแพ้แล้ว และจำเลยต้องชำระหนี้แล้วจึงจะรับช่วงสิทธิของโจทก์ไปไล่เบี้ยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การใหม่หลังขาดนัด เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ไม่ได้
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำให้การจำเลยเพราะพ้นกำหนด 8 วัน แม้จะเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งจำเลยอาจอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 228 ข้อ (3) แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยกลับใช้สิทธิตามมาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การใหม่ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นในครั้งหลังนี้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การหรือคำสั่งอันเกี่ยวกับคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ทันทีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา มิใช่วิธีพิจารณาคดี ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้ทันที
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำให้การจำเลยเพราะพ้นกำหนด 8 วันแม้จะเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ซึ่งจำเลยอาจอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 228 ข้อ (3) แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยกลับใช้สิทธิตามมาตรา 199 ยื่นคำร้องขอ ให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การใหม่ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นในครั้งหลังนี้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การหรือคำสั่งอันเกี่ยวกับคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ทันทีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการสืบพยานประเด็นข้อตกลงการดูแลบุตร
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามีเหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไปหาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียว จำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยาน อีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่ง ตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตการสืบพยานในคดีครอบครัว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี เหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไป หาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียวจำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยานอีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่งตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งแต่งตั้ง/ถอดถอนผู้แทนเฉพาะคดีผู้เยาว์เป็นดุลพินิจของศาล เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์
คำสั่งแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์เป็นดุลพินิจของศาล และเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227 หรือ 228 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
of 13