พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งแต่งตั้ง/ถอดถอนผู้แทนเฉพาะคดีผู้เยาว์เป็นดุลพินิจศาล เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์
คำสั่งแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์เป็นดุลพินิจของศาล และเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227 หรือ 228 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตถอนตัวจากจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ต้องรอจนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากผู้ร้องไม่เห็นพ้อง ก็มีสิทธิเพียงแต่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ในเมื่อศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ภายหลังมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหากผู้ร้องไม่เห็นพ้อง ก็มีสิทธิเพียงแต่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อสิทธิอุทธรณ์ในเมื่อได้พิจารณาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสิ้น คู่ความยังไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความลงเป็นฟ้องซ้ำศาลชั้นต้นสั่งให้รอไว้รวมวินิจฉัยสั่งคำร้องในคำพิพากษา และให้ดำเนินการสืบพยานต่อไปนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่รอรวมวินิจฉัยกับคำพิพากษา ไม่ถือเป็นคำสั่งที่ทำให้คดีเสร็จสิ้น อุทธรณ์ฎีกาได้
จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความและเป็นฟ้องซ้ำศาลชั้นต้นสั่งให้รอไว้รวมวินิจฉัยสั่งคำร้องในคำพิพากษาและให้ดำเนินการสืบพยานต่อไปนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต้องยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง การอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะอำนาจสั่งให้รับฎีกาหรือไม่นั้น เป็นอำนาจเฉพาะของศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252
ศาลชั้นต้นสั่งตำหนิไม่รับฎีกาฉบับแรกของผู้ร้องผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่ยอมทำฎีกาฉบับใหม่มายื่นแทน ในฎีกาชั้นนี้ผู้ร้องจะย้อนอ้างว่าฎีกาตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 อีกไม่ได้เพราะคำสั่งศาลแพ่งที่ติอุทธรณ์ของผู้ร้องขาดตอนไปแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227,228 เป็นเรื่องคำสั่งไม่รับคำคู่ความของศาลชั้นต้นในกรณีอื่นไม่ใช่กรณีไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252
ศาลชั้นต้นสั่งตำหนิไม่รับฎีกาฉบับแรกของผู้ร้องผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่ยอมทำฎีกาฉบับใหม่มายื่นแทน ในฎีกาชั้นนี้ผู้ร้องจะย้อนอ้างว่าฎีกาตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 อีกไม่ได้เพราะคำสั่งศาลแพ่งที่ติอุทธรณ์ของผู้ร้องขาดตอนไปแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227,228 เป็นเรื่องคำสั่งไม่รับคำคู่ความของศาลชั้นต้นในกรณีอื่นไม่ใช่กรณีไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลบังคับใช้ 3 ปี ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ทำสัญญาเช่ากันมีกำหนด 5 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียน จึงมีผลบังคับเพียง 3 ปี เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกการเช่าก็ต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 สัญญาเช่าจึงจะระงับ
แต่ในปัญหาดังนี้ ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องบอกกล่าว และสั่งงดสืบพยานในข้อนี้ การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ(เพราะคดียังมีประเด็นข้ออื่นอีกด้วย) แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งไว้เสียแต่ศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3)
แต่ในปัญหาดังนี้ ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องบอกกล่าว และสั่งงดสืบพยานในข้อนี้ การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ(เพราะคดียังมีประเด็นข้ออื่นอีกด้วย) แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งไว้เสียแต่ศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลก่อนพิพากษาห้ามอุทธรณ์ เว้นแต่มีการโต้แย้ง และศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้สืบพยานใหม่ได้
(1) ตามาตรา 226 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นั้น หมายความว่าก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น ถ้ามิใช่คำสั่งมาตรา 227, 228 แล้วห้ามอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา แต่ถ้าได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อศาลพิพากษาหรือชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว ฉะนั้น ถ้าไม่ได้แย้งไว้ ก็อุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังไม่ได้
(2) การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ของฝ่ายผู้ค้าน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228 และถือว่าเป็นคำสั่งก่อนพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
(3) นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจนถึงวันฟังคำสั่งตัดสินชี้ขชาดคดีซึ่งมีเวลาที่จะคัดค้านคำสั่งได้ถึง 10 วันนั้น ถือว่ามีเวลานานพอที่จะโต้แย้งแล้ว จึงอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไม่ได้
(4) ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ว่ารับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยกคำสั่งชี้ขาดหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้ตามมาตรา 243 (2)
(ข้อ 3 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2505)
(2) การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ของฝ่ายผู้ค้าน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228 และถือว่าเป็นคำสั่งก่อนพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
(3) นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจนถึงวันฟังคำสั่งตัดสินชี้ขชาดคดีซึ่งมีเวลาที่จะคัดค้านคำสั่งได้ถึง 10 วันนั้น ถือว่ามีเวลานานพอที่จะโต้แย้งแล้ว จึงอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไม่ได้
(4) ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ว่ารับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยกคำสั่งชี้ขาดหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้ตามมาตรา 243 (2)
(ข้อ 3 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็น จึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาการยื่นคำให้การหลังปิดหมาย: การนับเวลาผัดยื่นและการถือว่าพ้นกำหนด
การส่งหมายเรียกให้แก้คดีโดยวิธีปิดหมายนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง ม.179 กำหนดให้เวลาล่วงแล้ว 15 วันจึงจะมีผล พนักงานส่งจดหมายในวันที่ 4 ก.ย.98 เรื่องการนับระยะเวลาล่วงพ้น 15 วัน จะต้องเริ่มนับแต่วันที่ 5 แล้วเริ่มนับกำหนดยื่นคำให้การภายใน 8 วันตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.98 ครบในวันที่ 28 ก.ย.98 แต่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยผัดยื่นคำให้การได้ 3 วันโดยได้ระบุว่านับแต่วันใด จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิม คือ เริ่มนับหนึ่งแต่วันที่ 28 ก.ย.98 จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 1 ต.ค.98 จึงพ้นกำหนดไป 1 วัน แล้วจึงไม่รับเป็นคำให้การได้.