คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ข้อ 42 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, อายุความ, และการละเมิดหน้าที่เวรยาม: การพิพากษาคดีอาญาแพ่ง
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดี ฉ. อธิบดีกรมการปกครองโจทก์ ไปราชการต่างจังหวัด ช. รองอธิบดีเป็นผู้รักษาการแทนเช่นนี้ ในช่วงนั้นช. ผู้รักษาการแทนย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ และมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนโจทก์ได้เช่นเดียวกับอธิบดี ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 42 วรรคสอง และข้อ 44วรรคแรก ดังนี้ ช. จึงมีอำนาจลงนามในใบแต่งทนายความให้ฟ้องคดีได้โดยมิต้องมีการมอบหมายจากอธิบดี จังหวัดนครพนมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมมิใช่ผู้แทนโจทก์ ผู้แทนโจทก์คืออธิบดี การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมรู้ถึงตัวผู้ทำละเมิดจะถือว่าโจทก์รู้ยังไม่ได้ เมื่ออธิบดีโจทก์รู้ถึงตัวผู้ทำละเมิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ การที่จำเลยที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่โดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 จัดเวรยามแทนในเมื่อตนเองจะต้องไปราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และไม่อาจอยู่เวรยามตามกำหนด ทำให้ไม่มีเวรยามอยู่ดูแล เป็นโอกาสให้คนร้ายเอาทรัพย์สินที่เก็บไว้ในคลังพัสดุไป ดังนี้ การละเลยต่อหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเหตุโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย.