พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12604/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาคดีถึงที่สุดและการออกหมายจำคุกหลังถอนฎีกา: ศาลพิจารณาจากระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิฎีกา หรือคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหลัก
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตถึงวันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2558 แม้การใช้สิทธิฎีกาจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความ และจำเลยใช้สิทธิฎีกาและขอถอนฎีกาแล้วก็ตาม แต่โจทก์อาจฎีกาได้ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาไว้ ดังนั้น จะถือว่าคดีถึงที่สุดในวันที่ 31 มีนาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนฎีกาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นหาได้ไม่ ต้องถือว่าเป็นที่สุดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของวันสุดท้ายที่โจทก์อาจฎีกาได้ คือวันที่ 20 เมษายน 2558 หรือกรณีที่โจทก์ยื่นฎีกาต้องถือว่าเป็นที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ที่จำเลยขอให้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดย้อนหลังไปในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดยื่นฎีกาของจำเลยหรือวันที่ 31 มีนาคม 2558 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาจึงไม่อาจกระทำได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคดีหลักโจทก์ยื่นฎีกาและศาลฎีกามีคำพิพากษาพร้อมคดีนี้แล้ว ดังนี้ คดีย่อมถึงที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหลักให้คู่ความฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11223/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับอุทธรณ์และการขยายเวลาอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ถือเป็นที่สุดเมื่อไม่ได้ฎีกา
จำเลยทั้งห้ายื่นอุทธรณ์เป็น 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งห้ายื่นอุทธรณ์ใหม่เป็นฉบับเดียวกัน ต่อมาจำเลยทั้งห้านำอุทธรณ์คำพิพากษาและอุทธรณ์คำสั่งฉบับใหม่มายื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ หากจำเลยทั้งห้าไม่เห็นพ้องด้วยและประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แต่จำเลยทั้งห้าก็มิได้กระทำ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้านั้น ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่ยุติว่าไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลาได้และเห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าก็มิได้ฎีกาโต้แย้ง จึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 ดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งห้ายื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าว่าไม่ชอบอย่างไร ก็ไม่อาจมีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าซึ่งถึงที่สุดไปแล้วได้ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งห้าจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10731/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันมีคำพิพากษา ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
ในคดีแพ่งนั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาและคำพิพากษาก่อให้เกิดหนี้ตามคำพิพากษา ศาลจะต้องออกคำบังคับซึ่งก็คือคำสั่งแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติ ระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่จำเป็น กับกำหนดวิธีบังคับ ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 272 โดยหากคู่ความฝ่ายที่ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ในศาลในเวลาที่ศาลได้มีคำพิพากษา ศาลมีอำนาจออกคำบังคับและให้คู่ความฝ่ายลูกหนี้ตามคำพิพากษาลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยขาดนัดให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี ศาลชั้นต้นไม่อาจออกคำบังคับในวันมีคำพิพากษาได้ จึงเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกคำบังคับอันเป็นขั้นตอนตามกฎหมายก่อนที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี โดยส่งคำบังคับไปให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษายังภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาจนครบกำหนดเวลาตามคำบังคับแล้ว หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี หากหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี จากนั้นต้องดำเนินการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตลอดทั้งอายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิได้รับจากบุคคลภายนอก ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้นตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติในการร้องขอให้บังคับคดีไว้ จะเห็นได้ว่า หาได้บัญญัติให้ต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ ซึ่งสอดคล้องรองรับกับบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และมาตรา 231 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้คำพิพากษาผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษานับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษาถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี และแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้บังคับคดี เว้นแต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับและได้รับอนุญาตจากศาล ในกรณีนี้ระยะเวลาบังคับคดีภายในสิบปีต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาคือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองตามคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิไม่ อุทธรณ์ของผู้เข้าสวมสิทธิที่อ้างว่า คดีนี้ศาลพิพากษาโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง นั้น ไม่เป็นเหตุให้ระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีตามที่มาตรา 271 บัญญัติไว้เปลี่ยนแปลงไป เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาคือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองตามคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิไม่ อุทธรณ์ของผู้เข้าสวมสิทธิที่อ้างว่า คดีนี้ศาลพิพากษาโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง นั้น ไม่เป็นเหตุให้ระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีตามที่มาตรา 271 บัญญัติไว้เปลี่ยนแปลงไป เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้มีประกันจากการบังคับคดี
หนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 ของศาลแพ่งที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ ศาลแพ่งมีคำพิพากษาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539 และเป็นคดีที่ลูกหนี้ (จำเลย) อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากลูกหนี้ขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุดเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้สิ้นสุดลง ทั้งนี้ เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2539 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ลูกหนี้อาจยื่นคำขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้าย (เดิม) จะนำมาใช้บังคับก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้ลูกหนี้ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันซึ่งตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นกำหนดไปแล้ว 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 คดีจึงถึงที่สุดนับแต่วันถัดจากวันดังกล่าว
หนี้ของเจ้าหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 พ้นกำหนดอายุความสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 เจ้าหนี้เดิมได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ ห้องชุดเลขที่ 722/74 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 และต่อมาเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องและหลักประกันดังกล่าวมาจากเจ้าหนี้เดิม เช่นนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนในจำนวนเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการดำเนินการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ในกรณีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีกสำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2539 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ลูกหนี้อาจยื่นคำขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้าย (เดิม) จะนำมาใช้บังคับก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้ลูกหนี้ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันซึ่งตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นกำหนดไปแล้ว 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 คดีจึงถึงที่สุดนับแต่วันถัดจากวันดังกล่าว
หนี้ของเจ้าหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 พ้นกำหนดอายุความสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 เจ้าหนี้เดิมได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ ห้องชุดเลขที่ 722/74 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 และต่อมาเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องและหลักประกันดังกล่าวมาจากเจ้าหนี้เดิม เช่นนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนในจำนวนเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการดำเนินการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ในกรณีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีกสำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13553/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: นับจากวันคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษา
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึงวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2543 โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2544 คดีจึงเป็นที่สุดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของวันสุดท้ายที่โจทก์อาจยื่นอุทธรณ์ได้ คือวันที่ 14 มีนาคม 2544 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง เมื่อโจทก์ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมในวันที่ 8 มีนาคม 2554 จึงยังอยู่ภายในสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดคดีถึงที่สุดหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: โจทก์มีสิทธิฎีกาภายใน 1 เดือน ทำให้คดีถึงที่สุดเมื่อพ้นกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยที่ 2 ฟังเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2542 หลังจากนั้น วันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้โจทก์ฟัง โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดที่โจทก์สามารถยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2542 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 20 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา คดีจึงถึงที่สุดในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ฉะนั้น จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดว่าคำพิพากษาได้ถึงที่สุดแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2542 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาขัดกับเจตนาจำเลย ศาลต้องสอบถามก่อนอนุญาต การไม่สอบถามทำให้คดีถึงที่สุด
แม้ ป. ทนายความของจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แต่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ก่อนที่ทนายความของจำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 26 เมษายน 2549 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ต่อสู้คดีในชั้นศาลฎีกาและขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้จำเลยที่ 2 ด้วย หลังจากนั้นทนายความของจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 2 อีกสองฉบับ และยื่นฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งขัดแย้งกับความประสงค์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งทนายความตามที่ระบุไว้ในคำร้องของจำเลยที่ 2 ฉบับดังกล่าว ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายความของจำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 โดยไม่สอบถามจำเลยที่ 2 ก่อน จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 223 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ฎีกาและวันที่ครบกำหนดฎีกาวันที่ 21 พฤษภาคม 2549 เป็นวันอาทิตย์หยุดราชการ คดีของจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8872/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาคดีถึงที่สุดและการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด การพิจารณาผลกระทบของการขยายเวลาฎีกา
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2550 ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม 2550 จำเลยยื่นคำร้องว่าไม่ประสงค์ฎีกาแต่ระหว่างนั้นศาลชั้นต้นยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟัง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2550 ดังนี้ นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังโจทก์ยังมีสิทธิยื่นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายหรือขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 217 และ 221 ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง เช่นนี้จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดย้อนหลังไปวันที่ 24 กันยายน 2550 ซึ่งเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังย่อมไม่ได้ เพราะขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาและศาลชั้นต้นให้ขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ไม่ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่ระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิฎีกาสิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดวันที่ 29 ธันวาคม 2550 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินกำหนด 10 ปี และสิทธิการขอให้พิจารณาใหม่หลังขาดนัด
ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงวันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นที่สุดและมาตรา 147 วรรคสอง บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งใดซึ่งอาจอุทธรณ์ ฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้นถ้ามิได้อุทธรณ์ ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง
คดีนี้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งหากจำเลยทั้งสองจะขอให้พิจารณาใหม่ย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับตามตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คือคำขอให้พิจารณาใหม่นั้นให้ยื่นต่อศาลใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่คดีนี้หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษายังมิได้มีการออกคำบังคับมาก่อน ระยะเวลา 15 วันดังกล่าวจึงยังไม่เริ่มนับ
ศาลชั้นต้นเพิ่งออกคำบังคับเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 และได้ส่งคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2550 และส่งคำบังคับแก่จำเลยที่ 2 โดยการปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2550 การส่งคำบังคับโดยการปิดดังกล่าวมีผลเมื่อกำหนดเวลา 15 วันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามมาตรา 79 วรรคสอง จึงต้องถือว่าการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลในวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 และวันที่ 20 พฤษภาคม 2550 ตามลำดับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 และวันที่ 4 มิถุนายน 2550 ตามลำดับ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดดังกล่าว คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 และคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 มิถุนายน 2550 การที่โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีในวันที่ 13 กันยายน 2550 จึงเป็นการร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเป็นที่สุด
คดีนี้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งหากจำเลยทั้งสองจะขอให้พิจารณาใหม่ย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับตามตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คือคำขอให้พิจารณาใหม่นั้นให้ยื่นต่อศาลใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่คดีนี้หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษายังมิได้มีการออกคำบังคับมาก่อน ระยะเวลา 15 วันดังกล่าวจึงยังไม่เริ่มนับ
ศาลชั้นต้นเพิ่งออกคำบังคับเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 และได้ส่งคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2550 และส่งคำบังคับแก่จำเลยที่ 2 โดยการปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2550 การส่งคำบังคับโดยการปิดดังกล่าวมีผลเมื่อกำหนดเวลา 15 วันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามมาตรา 79 วรรคสอง จึงต้องถือว่าการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลในวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 และวันที่ 20 พฤษภาคม 2550 ตามลำดับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 และวันที่ 4 มิถุนายน 2550 ตามลำดับ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดดังกล่าว คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 และคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 มิถุนายน 2550 การที่โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีในวันที่ 13 กันยายน 2550 จึงเป็นการร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดหลังขาดนัดยื่นคำขอพิจารณาใหม่
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลจึงพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จำเลยทั้งสองซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาอาจขอให้พิจารณาใหม่ภายใต้บังคับตามมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในคดีนี้เป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้สิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองได้รับคำบังคับโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2540 การส่งคำบังคับดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามมาตรา 79 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองทราบคำบังคับในวันที่ 24 มีนาคม 2540 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันดังกล่าว ดังนั้น คดีของจำเลยทั้งสองจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 8 เมษายน 2540 การที่โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีในวันที่ 14 กันยายน 2549 จึงเป็นกรณีที่โจทก์บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด