พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อเท็จจริง, อุทธรณ์ไม่สำเร็จ, คดีถึงที่สุดเมื่อไม่วางเงินตามคำพิพากษา
จำเลยยื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาเพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 แต่จำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดเวลาศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คดีย่อมถึงที่สุดไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้คำพิพากษาเป็นโมฆะได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดและการไม่อุทธรณ์ตามกำหนดเวลา ส่งผลให้ศาลชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดได้
หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์หรือเหตุสุดวิสัยก็ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดดังได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นแล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีที่ถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ กรณีไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6941/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดหลังศาลฎีกายกคำร้องอุทธรณ์ไม่รับฎีกา การขอออกหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุดชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ฎีกาคำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาเกินกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบ มาตรา 247 อันมีผลทำให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยที่ 3 ถึงที่สุดนับแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2546 ซึ่งเป็นวันที่ได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยที่ 3 ฟัง และถือว่าคดีถึงที่สุดแล้วในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจมายื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นการเริ่มดำเนินการเพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยในเรื่องการรับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วได้อีก โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหนังสือสำคัญเพื่อแสดงว่าคดีนี้ถึงที่สุดแล้วได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีนับจากวันคดีถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษาแรก
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึง วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ทำให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ถึงที่สุด แม้ศาลจะพิจารณาเรื่องขยายระยะเวลาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ โดยยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยว่า รอไว้สั่งเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องขอขยายระยะเวลาเสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ และปัญหาเรื่องขอขยายระยะเวลายังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะมีผลให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นไม่เป็นที่สุด แต่จำเลยก็มิได้กระทำ กรณีจึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 และมาตรา 198 ทวิ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับเวลาที่ถูกต้องและการยื่นเกินกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำการใหม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 30 วัน จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดคือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ซึ่งครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 22 สิงหาคม 2543 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกในวันที่ 30 สิงหาคม 2543 จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วและเมื่อไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นหรือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกหลายครั้ง จนกระทั่งจำเลยที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ไม่ชอบที่จะรับอุทธรณ์ดังกล่าวไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการวางเงินค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ ทำให้คดีถึงที่สุด การยื่นคำร้องขอขยายเวลาจึงไม่ชอบ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่วางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ภายในกำหนด จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์และนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมี คำสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 234 เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดระยะเวลา คดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36: ระยะเวลาคำขอและการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
กำหนดเวลา "หนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หมายถึงกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับแต่คดีเรื่องนั้นถึงที่สุด โดยเริ่มนับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกา มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบของกลาง แล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ และแม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในเรื่องริบของกลางแต่จำเลยยังอุทธรณ์เรื่องขอให้รอการลงโทษจำคุกอยู่ คดียังไม่ถึงที่สุด
เหตุเกิดในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลบังคับ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์อยู่ จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องขอคืนของกลางได้การที่ผู้ร้องยังมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนไปจากผู้ร้องและจะถือว่าผู้ร้องทำไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ซึ่งตามทางนำสืบก็มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว
เหตุเกิดในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลบังคับ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์อยู่ จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องขอคืนของกลางได้การที่ผู้ร้องยังมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนไปจากผู้ร้องและจะถือว่าผู้ร้องทำไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ซึ่งตามทางนำสืบก็มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์หลังศาลริบ: ผู้ขายยังโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อได้ก่อนคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากผู้ขายตามสัญญาซื้อขายรถแบบเงินผ่อน โดยในสัญญาได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระราคารถจักรยานยนต์ของกลางบางส่วนในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือผ่อนชำระรวม 24 งวด เมื่อชำระราคารถจักรยานยนต์ครบแล้วผู้ขายจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ สัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข เมื่อปรากฏว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางนั้น ผู้ร้องยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายให้แก่ผู้ขาย กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางจึงยังอยู่ที่ผู้ขายแม้ว่าต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม แต่รถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบนั้นจะตกเป็นของแผ่นดินก็ต่อเมื่อคำพิพากษาทีให้ริบของกลางดังกล่าวเป็นที่สุด แต่ระหว่างที่คำพิพากษาที่ให้ริบของกลางดังกล่าวยังไม่เป็นที่สุดเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางยังคงมีอำนาจที่จะจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์ของตนได้ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าว โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อระยะเวลาในการอุทธรณ์ฎีกาได้สิ้นสุดลงดังที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ดังนั้น ก่อนหน้าที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวจะเป็นที่สุด ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางยังสามารถที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องได้ชำระราคางวดสุดท้ายก่อนวันที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางจะเป็นที่สุด ผู้ขายจึงสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง และถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงอันมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้ เมื่อผู้ร้องและผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่ถูกนำไปใช้กระทำความผิดมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด จึงสมควรคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ แม้ฟ้องก่อนคดีถึงที่สุด การฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2540 และไม่มีการอุทธรณ์ต่อไป คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง คือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดเพราะอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายอีกโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกัน และข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายอีกโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกัน และข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153