พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: แม้ฟ้องก่อนคดีถึงที่สุด แต่ฟ้องซ้ำด้วยเหตุเดิมต้องห้าม
คดีล้มละลายเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วไม่มีการอุทธรณ์ต่อไปคดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีล้มละลายเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วไม่มีการอุทธรณ์ต่อไป คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล: เหตุแห่งการคัดค้าน, ความชอบด้วยกฎหมาย, การไต่สวนพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศ.เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ผู้คัดค้านทั้งสามร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ. เนื่องจากคำร้องของผู้ร้องที่ขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของ ศ.เป็นความเท็จ และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตปิดบังข้อเท็จจริง และปิดบังพินัยกรรมของบิดาผู้ร้องที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของนางสาวศรีสกุล ทั้งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.อยู่ก่อนที่ผู้ร้องจะขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ประกอบกับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ได้ขอถอนการเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/8 เนื่องจากมาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้อนุบาลอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.นี้และมาตรา 1598/18 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น การแต่งตั้งผู้อนุบาลจึงต้องอนุโลมตามการแต่งตั้งผู้ปกครองด้วย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลนั้นเสียอันเป็นกรณีร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมตามมาตรา1588 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่ยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำคัดค้านแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีที่ขอถอนผู้อนุบาลตามมาตรา 1598/8ผู้คัดค้านจึงยื่นคำคัดค้านได้
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: การถือเอาประโยชน์จากการชี้ช่องขายที่ดินสำเร็จ
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา 13,650,000 บาท โดยเริ่มแรก โจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าว แต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคาต่อมา ส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าว ดังนี้ แม้ ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลัง แต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้ เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าตามข้อตกลงร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้ว ดังนี้ คดีสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สองในสามส่วนของค่านายหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายหน้าชี้ช่องขายที่ดินสำเร็จ ได้รับค่าบำเหน็จ แม้มีผู้ประสานงานภายหลัง
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา13,650,000บาทโดยเริ่มแรกโจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าวแต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคาต่อมาส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าวดังนี้แม้ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลังแต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้นถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่1และที่2เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการโจทก์ที่1และที่2จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนานหน้าตามข้อตกลงร้อยละ5ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่3มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่3ได้ถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วดังนี้คดีสำหรับโจทก์ที่3จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่1และที่2สองในสามส่วนของค่านายหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าสำเร็จจากการชี้ช่องผู้ซื้อ แม้มีผู้ประสานงานภายหลัง ก็ถือว่าจำเลยได้ประโยชน์จากนายหน้าเดิม
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา 13,650,000 บาท โดยเริ่มแรกโจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าว แต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคา ต่อมา ส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าว ดังนี้แม้ ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลังแต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้ เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนานหน้าตามข้อตกลงร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วดังนี้ คดีสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2สองในสามส่วนของค่านายหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: การนับระยะเวลา 60 วัน ตามสิทธิฟ้องใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองคำพิพากษาในคดีที่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้จะถึงที่สุดต่อเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันครบกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกาสำหรับคดีที่อาจอุทธรณ์ได้จึงมีอายุอุทธรณ์1เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229แต่เมื่อคดีดังกล่าวคู่ความมิได้อุทธรณ์คดีจึงถึงที่สุดในกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาตามมาตรา147วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: การนับระยะเวลา 60 วันตามอำนาจฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองคำพิพากษาในคดีที่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้จะถึงที่สุดต่อเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันครบกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกา สำหรับคดีที่อาจอุทธรณ์ได้จึงมีอายุอุทธรณ์ 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่เมื่อคดีดังกล่าวคู่ความมิได้อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาตามมาตรา 147 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาคดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147: กำหนดอายุอุทธรณ์และผลเมื่อไม่โต้แย้ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง คำพิพากษาในคดีที่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้จะถึงที่สุดต่อเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันครบกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกา สำหรับคดีที่อาจอุทธรณ์ได้จึงมีอายุอุทธรณ์ 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 แต่เมื่อคดีดังกล่าวคู่ความมิได้อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาตามมาตรา 147 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะหลังครบกำหนดอุทธรณ์ และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องทำหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เป็นคู่ความ
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว. บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว. ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าวเมื่อขณะที่ ว. ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ว. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความ แทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้น รับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็น คู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และ 43 เสียก่อน มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อน มีคำสั่งอนุญาตให้ ว. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ