พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายเวลาอุทธรณ์หลังจำเลยมรณะ: ศาลต้องพิจารณาการเป็นคู่ความแทนก่อน
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว.บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว.ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าว เมื่อขณะที่ ว.ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างอุทธรณ์ว.จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้นรับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42และ 43 เสียก่อนมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้ ว.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด? การทิ้งอุทธรณ์มีผลต่อการนับระยะเวลา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมมีความหมายว่าจะต้องดำเนินการเพื่อบังคับคดีภายใน10ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปเมื่อจำเลยที่1อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่1รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นแต่จำเลยที่1ทิ้งอุทธรณ์เพราะมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่26ธันวาคม2529จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่1ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายและมาตรา147วรรคสองหาใช่ว่าถึงที่สุดในวันที่22กุมภาพันธ์2527อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่1เมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2537และต่อมาในวันที่24มิถุนายน2537ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดีถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8450/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด แม้ฟ้องใหม่ก่อนอุทธรณ์คดีเก่า ก็เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาก่อน แต่โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลดังกล่าว คู่ความยังอาจอุทธรณ์คำสั่งได้ และจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จึงต้องถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 ประกอบด้วยมาตรา 147 วรรคสอง แม้โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้ก่อนจำเลยยื่นอุทธรณ์ ก็ต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8450/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ห้ามฟ้องคดีซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาก่อน แต่โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลดังกล่าว คู่ความยังอาจอุทธรณ์คำสั่งได้ และจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จึงต้องถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 ประกอบด้วยมาตรา 147 วรรคสอง แม้โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้ก่อนจำเลยยื่นอุทธรณ์ ก็ต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่28พฤษภาคม2536ว่าคดีผู้ร้องไม่มีมูลให้ยกคำร้องหากผู้ร้องประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน15วันเมื่อผู้ร้องไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด7วันนับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคท้ายแต่ผู้ร้องได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องซึ่งผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ภายใน15วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234แต่ผู้ร้องหาได้กระทำไม่คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่28พฤษภาคม2536จึงยังคงมีผลบังคับต่อไปและย่อมเป็นอันถึงที่สุดการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในเวลาต่อมาต่อศาลชั้นต้นอ้างว่าพอที่จะรวบรวมเงินเป็นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนได้แล้วขอนำค่าธรรมเนียมศาลมาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลา10วันนับแต่วันยื่นคำร้องจึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วแม้พอถือได้ว่าเป็นการที่ผู้ร้องขอขยายระยะเวลานำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลชั้นต้นแต่ก็ไม่เข้ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตตามคำขอของผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23คดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตและกำหนดเวลาให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการชำระค่าธรรมเนียมศาลนอกกำหนดเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ว่า คดีผู้ร้องไม่มีมูล ให้ยกคำร้อง หากผู้ร้องประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน 15 วัน เมื่อผู้ร้องไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย แต่ผู้ร้องได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แต่ผู้ร้องหาได้กระทำไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 จึงยังคงมีผลบังคับต่อไปและย่อมเป็นอันถึงที่สุดการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในเวลาต่อมาต่อศาลชั้นต้นอ้างว่า พอที่จะรวบรวมเงินเป็นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนได้แล้ว ขอนำค่าธรรมเนียมศาลมาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลา 10 วันนับแต่วันยื่นคำร้อง จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว แม้พอถือได้ว่าเป็นการที่ผู้ร้องขอขยายระยะเวลานำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลชั้นต้น แต่ก็ไม่เข้ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตตามคำขอของผู้ร้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 คดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตและกำหนดเวลาให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีและการแก้ไขหมายบังคับคดี: การดำเนินการภายใน 10 ปี และการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย จึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกา คดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2525 โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2535 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271
เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษา ก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้คำพิพากษา เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยรับผิดตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษา ก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้คำพิพากษา เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยรับผิดตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีภายใน 10 ปี และแก้ไขหมายบังคับคดีให้ถูกต้องตามคำพิพากษา
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่2อยู่ด้วยจึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกาคดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์เมื่อวันที่8พฤศจิกายน2525โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่16กันยายน2535ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271 เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษาก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้ไขคำพิพากษาเมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาในกำหนดระยะเวลาฎีกาและการระงับสิทธิเรียกร้อง
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528)
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีการฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจอนุญาตได้
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528 )
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528 )