คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระ โชติพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้เปิดทางแม้ไม่ใช่ภาระจำยอม หากที่ดินถูกปิดล้อมและจำเป็นต้องใช้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมและอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเนื่องจากที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่สาธารณะ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยจากพยานหลักฐานว่า เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ก็สามารถพิพากษาบังคับให้เปิดทางในฐานะทางจำเป็นได้ด้วย เมื่อที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ โจทก์ย่อมผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
การที่จำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าการใช้ทางจำเป็นของโจทก์เป็นการทำละเมิดทำให้จำเลยเสียหายและจำเลยขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์และเรียกค่าเสียหายมาด้วย ถือได้ว่าจำเลยได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนอันเกิดจากการใช้ทางจำเป็นมาด้วยแล้ว ศาลจึงกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: ศาลมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้หากผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาตรวจรับคำฟ้องของศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การตรวจรับคำฟ้องจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนไม่
คดีนี้หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้องมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีโดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อน ถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องแล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลภาษีอากรกลางไม่คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: ศาลมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้ แม้มิได้มีคำสั่งรับฟ้อง
ในการพิจารณาตรวจรับคำฟ้องของศาลภาษีอากรกลางนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ถือว่าศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับฟ้องโจทก์ไว้ก่อนไม่
ตามหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้อง มิได้มีข้อความระบุถึงการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว และกรณีถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเด็ดขาดแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มิใช่สั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนค้างชำระ: เจ้าของใหม่ร่วมรับผิดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แม้พ้น 4 เดือน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นเจ้าของคนใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นเงินภาษีค้างชำระ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 โอนให้แก่จำเลยที่ 4 เป็นทอดๆ ไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงตกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ อันต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันกับจำเลยที่ 1 โดยมิพักต้องคำนึงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้มีขึ้นก่อนหรือภายหลังจากครบกำหนด 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบกำกับภาษีปลอมและการใช้สิทธิทางภาษี: การพิสูจน์การซื้อขายจริงและความถูกต้องของใบกำกับ
ผู้ขายสินค้าให้โจทก์คือ ย. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่ง มิใช่ห้างหุ้นส่วนทั้งสามซึ่งเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีพิพาท หากสินค้าที่ ย. นำมาส่งมอบให้โจทก์เป็นสินค้าที่ ย. ซื้อจากห้างทั้งสามนั้นจริง ใบกำกับภาษีที่ห้างดังกล่าว ออกให้ก็ต้องระบุชื่อ ย. เป็นผู้ซื้อมิใช่ระบุชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ซื้อสินค้าจากห้างดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่อาจนำใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์
การพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาจริง และพิสูจน์ตัวผู้รับเงินนั้น ต้องเป็นการพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษีตามรายการที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้นจริง มิใช่ซื้อสินค้าและชำระราคาแก่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง แต่ผู้ออกใบกำกับภาษีเป็นผู้ประกอบการอีกรายหนึ่ง ใบกำกับภาษีพิพาทจึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นใบกำกับภาษีปลอม
ตามบทบัญญัติใน ป. รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งเป็นประเด็นไว้ในการตรวจสอบไต่สวน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนภาษีพิพาท เนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินคำนวณผิดพลาดโดยนำภาษีที่โจทก์อ้างว่าชำระเกิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินแก้ไขไปแล้ว มาใช้เป็นเครดิตภาษีในเดือนภาษีดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นการปรับปรุงตามข้อมูลที่ปรากฏจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าและการลวงขายสินค้า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและห้ามใช้เครื่องหมายการค้าที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
การที่ ต. บิดาของโจทก์ที่ 2 ได้รับพระราชทานตราตั้งและพระครุฑจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ใช้กิจการของห้างทองตั้งโต๊ะกังเมื่อปี 2464 แสดงให้เห็นว่ากิจการค้าทองของห้างตั้งโต๊ะกังเป็นกิจการค้าทองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เพิ่งจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าทองโดยใช้ชื่อว่า "บริษัทห้างทองโต๊ะกังบุญสิริ จำกัด" เมื่อปี 2528 หลังจากกิจการห้างทองตั้งโต๊ะกังมีชื่อเสียงมาถึงประมาณ 64 ปี การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำคำว่า "โต๊ะกัง" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในชื่อทางการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 มาใช้ประกอบเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าทองและโลหะอันมีค่าต่างๆ เช่นเดียวกับกิจการของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้รับอนุญาต และที่จำเลยทั้งสี่ติดป้ายประกาศชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเน้น คำว่า "โต๊ะกัง" และใช้ตัวอักษรใหญ่กว่าคำว่า "บุญสิริ" มาก แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาไม่สุจริตแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในชื่อทางการค้าคำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ และเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าทองของจำเลยทั้งสี่เป็นกิจการค้าทองของโจทก์ทั้งสอง และทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหาย และขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อ "โต๊ะกัง" ประกอบอยู่ในชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "บริษัทห้างทองโต๊ะกังบุญสิริ จำกัด" ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18, 420 และ 421
โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 1 มิให้มีคำว่าโต๊ะกังประกอบอยู่ในชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นไม่ถูกต้อง เพราะบทบัญญัติมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 2 คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" หรือคำว่า "โต๊ะกัง" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ทั้งที่เป็นภาษาไทย จีน และภาษาอังกฤษจะได้รับการจดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.ลักษณะเครื่องหมายแลยี่ห้อการค้าขาย พระพุทธศักราช 2457 และโจทก์ทั้งสองยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แต่ปรากฎว่าโจทก์ทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวกับสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองผลิตออกจำหน่ายตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายดังกล่าวจึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 2 ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีสิทธิดีกว่านั้นได้ ตามบทบัญญัติ มาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายนั้น
การฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไป 10 ปี นับแต่วันที่ได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม โจทก์ทั้งสองฟ้องคดียังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว คดีของโจทก์ทั้งสองที่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้านั้นจึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งสองที่ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรไทยและจีนคำว่า "โต๊ะกัง" และ "ตั้งโต๊ะกัง" เป็นสินค้าและเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป มาใช้เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ เช่นเดียวกับของโจทก์ทั้งสอง กับถือโอกาสนำเครื่องหมายการค้าทั้งห้าไปยื่นขอจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวในจำพวกที่ 14 ทั้งจำพวก ด้วยเห็นว่าขณะนั้นโจทก์ที่ 2 ยังมิได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรไทยและจีน คำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" กับสินค้าจำพวกที่ 14 ดังกล่าว ทั้งยังแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ชอบมาตั้งเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าทองของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์ทั้งสอง พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่า จำเลยที่ 2 ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าทั้งห้าดังกล่าวโดยมีเจตนาไม่สุจริต และมีเจตนาเพื่อทำลวงขายสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ว่าเป็นของโจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ที่ 2 จะยังมิได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกที่ 14 ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และแม้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม โจทก์ที่ 2 ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลวงขายนั้นได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายอักษรไทยและจีน คำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ที่ยังไม่จดทะเบียน โจทก์ที่ 2 ไม่อาจจะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายนั้นกับสินค้าทุกประเภทของจำเลยทั้งสี่ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า.2474 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสี่ได้เพียงมิให้จำเลยทั้งสี่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งห้านั้นกับสินค้าจำพวกที่ 14 ทั้งจำพวกในลักษณะที่เป็นการลวงขายสินค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสี่ว่าเป็นสินค้าโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, อัตราดอกเบี้ย, การปรับเปลี่ยนดอกเบี้ย, กรอบกฎหมาย, การบังคับชำระหนี้
หนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นขอตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดสถานบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงไม่ตกเป็นโมฆะและแม้จะมีประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยและปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารโจทก์และประกาศกระทรวงการคลัง การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงิน: ความชอบธรรมและการบังคับใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง
สัญญากู้เงินระบุข้อตกลงว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคารโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) ฯ ที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใด อัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันตามสัญญากู้เงินไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว การทำสัญญากู้เงินของโจทก์และจำเลยเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาและอยู่ในกรอบที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดจึงไม่ตกเป็นโมฆะ และแม้ขณะทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจะมีประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่ได้ก็ตาม ก็ได้ความว่าในทางปฏิบัติจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยและปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารโจทก์และประกาศกระทรวงการคลัง การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจการพิจารณาคดีอาญา: ความผิดต้องกระทำในราชอาณาจักร หรือผลกระทบต้องเกิดในราชอาณาจักร จึงจะดำเนินคดีได้
การจะถือว่าความผิดใดได้กระทำในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 ต้องปรากฏว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าเหตุทุกข้อหาเกิดในราชอาณาจักรที่บริเวณ ตำบลใดไม่ปรากฏชัด อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าเหตุเกิดในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักรและผลแห่งการกระทำก็ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 แต่อย่างใด จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดในราชอาณาจักรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตต่อเนื่องทางทะเล: การกระทำความผิดต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือผลกระทบเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การจะถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 ก็ต่อเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าเหตุทุกข้อหาเกิดที่บริเวณตำบลใดไม่ปรากฏชัด อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร แต่ทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าเหตุเกิดในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยไม่มีส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักร และผลแห่งการกระทำก็ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรจึงถือว่าจำเลยกระทำความผิดในราชอาณาจักรไม่ได้
of 11