คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระ โชติพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายเผื่อชอบ-ยักยอก: เมื่อมีข้อสงสัยต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
จำเลยรับนาฬิกาข้อมือจำนวน 7 เรือน ของผู้เสียหายไปเพื่อให้สามีตรวจดูโดยมีเจตนาจะซื้อขายกันและมีข้อตกลงจะใช้เวลาในการตรวจดูประมาณ 14 วัน หากจำเลยไม่ตกลงซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าไม่ซื้อหรือส่งนาฬิกาคืน ถ้าครบกำหนด 14 วัน แล้วจำเลยไม่แจ้งต่อผู้เสียหายและไม่ส่งมอบนาฬิกาคืน ย่อมถือว่าจำเลยตกลงซื้อนาฬิกาทั้ง 7 เรือน อันเป็นผลให้การซื้อขายเผื่อชอบมีผลบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 508 จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้เสียหาย หากไม่ชำระผู้เสียหายต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่งตามสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขายให้จำเลยผู้ซื้อยืมสินค้าไปตรวจดูเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่หรือไม่เป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายเผื่อชอบกันแล้ว กรณีก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 11 มาใช้ตีความเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายหากเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เดิม และการกระทำของหุ้นส่วนผู้จัดการถือเป็นความผิดของนิติบุคคล
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อ 3 กล่าวอ้างในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 2 ขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 กลับกล่าวระบุเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยคัดลอกถ้อยคำต่างๆ ที่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชนิดคำต่อคำมาไว้ในฎีกา ซึ่งข้ออุทธรณ์ดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยไว้แล้วทั้งสิ้น กรณีจึงถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงลายมือชื่อทำนิติกรรมใดๆ แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีตราประทับและไม่มีข้อจำกัดอำนาจของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการกระทำในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนโดยไม่จำต้องมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ส่วนการที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 ในการแต่งตั้งทนายความก็เป็นเรื่องที่มิได้มีกำหนดเป็นข้อจำกัดไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนจึงไม่อาจลบล้างผลของการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดทางอาญาร่วมกับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: ผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของการอ่านคำพิพากษา
จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องขอให้หมายเรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อพิจารณาสั่ง แต่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วส่งมาให้ศาลชั้นต้นอ่านจึงถือไม่ได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทราบเรื่องจำเลยมรณะอันจะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไปโดยทราบแล้วว่าจำเลยมรณะและยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินมรดก: ศาลฎีกาชี้ขาดเนื้อที่ถูกต้องตามแผนที่ใหม่ แก้คำพิพากษาเดิม
คดีนี้โจทก์ทั้งสี่บรรยายว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสี่ขอแบ่งการครอบครองที่ดินกับจำเลยทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย โจทก์ทั้งสี่มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองไปแบ่งแยก ส่วนจะแบ่งแยกอย่างไร โจทก์ทั้งสี่ก็ได้แนบแผนที่วิวาทแสดงแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วมาท้ายฟ้องและที่โจทก์ทั้งสี่อ้างถึงคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยก็เพียงเพื่อให้ปรากฏว่าศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอย่างไร ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีก่อน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ซึ่งศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยครอบครองเป็นสัดส่วน เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ให้เป็นอย่างอื่นได้ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงว่า ที่ดินพิพาทของโจทก์มีเนื้อที่เท่าใด แผนที่วิวาทในคดีก่อนของโจทก์ระบุว่ามีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวา แต่เนื้อที่ตามแผนที่วิวาท จล.1 ระบุว่า 2 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา ซึ่งโจทก์ลงชื่อรับรองในแผนที่วิวาทดังกล่าว จึงฟังได้ว่าที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา และต้องแบ่งตามแผนที่วิวาทดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่า เนื้อที่ของที่ดินส่วนของโจทก์ประมาณ 2 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวา และให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนแบ่งแยกตามเนื้อที่ดินในคดีก่อนไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา และเนื่องจากเป็นคำพิพากษาที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้จึงให้มีผลบังคับกับจำเลยที่ 2 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฮโรอีนหลังการตรวจพิสูจน์ และการรับสารภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
คำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนมิได้ระบุข้อหาความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งเรียกมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยว่า เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้เป็นเฮโรอีน พนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมต่อจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย กรณีจึงฟังได้ว่ามีการแจ้งข้อหาและสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนแล้วโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและอำนาจฟ้องในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้คำร้องขอฝากขังไม่ได้ระบุข้อหา แต่หากมีหลักฐานภายหลังก็มีอำนาจฟ้องได้
การร้องขอฝากขังเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนยื่นขอต่อศาลโดยอ้างเหตุเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาเพื่อขอให้ควบคุมผู้ต้องหาไว้ทำการสอบสวน ดังนั้น แม้ตามคำร้องขอฝากขังจะมิได้ระบุข้อหาความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน แต่เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้เป็นเฮโรอีนพนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเต็มต่อจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายโดยผิดกฎหมายจึงฟังได้ว่ามีการแจ้งขอหาและสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนแล้วโดยชอบโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนได้ และเมื่อจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานเพราะความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่าจำคุก 5 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์สิน: สิทธิบอกเลิกสัญญาและการผิดนัดชำระค่าเช่า
สัญญาเช่าทรัพย์สินเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องชำระหนี้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง การที่คู่สัญญาฝ่ายใดจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา สามารถทำได้ 2 กรณี คือ โดยข้อกำหนดแห่งสัญญากับโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แม้สัญญาเช่าที่จอดรถระหว่างโจทก์กับจำเลยจะไม่มีข้อกำหนดให้ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่ก็มีบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 548 กำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าไว้ว่า ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นโดยสภาพไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ดังนั้น หากข้อเท็จจริงต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าที่จอดรถต่อโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่จอดรถจากโจทก์โดยกำหนดว่าโจทก์ผู้ให้เช่าเป็นผู้ทำบัตรจอดรถจำนวน 100 ใบ เพื่อมอบให้จำเลยนำไปให้ลูกค้าของจำเลย ซึ่งหากไม่มีบัตรจอดรถลูกค้าของจำเลยต้องเสียค่าจอดรถตามปกติ บัตรจอดรถย่อมเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องจัดทำบัตรจอดรถมอบให้จำเลย ปรากฏว่าระหว่างเช่า บัตรจอดรถหายไปจำนวน 83 ใบ แต่โจทก์ก็ทำบัตรใหม่ให้แก่จำเลยแล้ว แม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้ชำระเงินค่าทำบัตรจอดรถให้แก่โจทก์ก็ตามก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่ง จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวบอกเลิกสัญญาเช่าที่จอดรถไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์และโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลย สัญญาเช่าจึงยังคงมีผลบังคับตามอายุสัญญาเช่า จำเลยไม่ชำระค่าเช่าจึงตกเป็นผู้ผิดนัด และการที่จำเลยไม่ให้ลูกค้าของจำเลยนำรถมาจอดในอาคารของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าจำเลยยังต้องผูกพันชำระค่าเช่าจนกว่าจะครบสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์: ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ใช้ประโยชน์ได้ หากไม่สามารถทำได้ ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามสัญญาเช่าทรัพย์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ใน 2 กรณี คือ โดยกำหนดแห่งสัญญาประการหนึ่ง กับโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 มิใช่ว่าเมื่อสัญญาเช่าไม่มีข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจะไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียเลย
ป.พ.พ. มาตรา 548 กำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าไว้ว่า ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นโดยสภาพไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ดังนั้น หากมีข้อเท็จจริงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อโจทก์ได้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่จอดรถจากโจทก์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของจำเลย ตามสัญญาเช่ากำหนดว่าโจทก์ผู้ให้เช่าเป็นผู้ทำบัตรจอดรถ 100 ใบ มอบให้จำเลยนำไปให้ลูกค้า ซึ่งหากไม่มีบัตรจอดรถลูกค้าของจำเลยที่นำรถเข้าไปจอดจะต้องเสียค่าบริการจอดรถตามปกติ บัตรจอดรถย่อมเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องทำบัตรจอดรถมอบให้แก่จำเลย เมื่อบัตรจอดรถหายไป 83 ใบ และโจทก์ได้ทำบัตรจอดรถใหม่ให้แก่จำเลยแล้ว แม้โจทก์จะอ้างว่าการทำบัตรจอดรถใหม่นั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้จำเลยชำระเงินค่าทำบัตรจอดรถให้แก่โจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวอีกเรื่องหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์และโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลย สัญญาเช่าจึงยังคงมีผลบังคับ แต่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยไม่ได้ให้ลูกค้าของจำเลยนำรถมาจอดในอาคารของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่า จำต้องผูกพันชำระค่าเช่าจนกว่าจะครบสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าและภาระการพิสูจน์ในคดีภาษีอากร ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลภาษีอากรกลาง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 20 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ข้อ 15 ได้กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความซึ่งมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ คู่ความดังกล่าวนั้นอาจยื่นคำร้องพร้อมทั้งบัญชีระบุพยานไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี ขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้
ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่า โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานในวันชี้สองสถานนั้นเอง อันเป็นการยื่นบัญชีระบุพยาน เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยโจทก์แถลงด้วยวาจาว่าเข้าใจผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร จึงไม่ได้ทำคำร้องหรือยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อกรณีนี้กฎหมายบังคับให้ทำเป็นคำร้องแต่โจทก์กลับแถลงด้วยวาจาจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จะอ้างว่าเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดได้
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอ้างว่ากรณีของโจทก์มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับ ภาระการพิสูจน์ให้เห็นเป็นดังข้ออ้าง ย่อมตกแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613-2614/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการสั่งจ่ายเช็คแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.เช็ค
ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงลายมือชื่อทำนิติกรรมใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีตราประทับและไม่มีข้อจำกัดอำนาจ ทั้งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 กรณีจึงถือได้ว่าที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการกระทำในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนโดยไม่จำต้องมีตราประทับของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย
of 11