คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรพล เอกโยคยะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกซ้ำ โดยคำนึงถึง พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และโทษจำคุกเดิมที่ไม่เข้าข่าย
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองก่อนที่ พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับ จึงไม่มีผลย้อนหลัง ทั้งความผิดที่จำเลยเคยต้องโทษจำคุกเป็นความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพียงอย่างเดียว โดยจำเลยไม่ได้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพด้วย จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารไม่จำเป็นต้องมีเอกสารต้นฉบับ การกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร
คำว่า "เอกสาร" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งทำให้ปรากฏความหมายด้วยอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นใดอันเป็นหลักฐานความหมายนั้น ดังนั้น เอกสารจะมีขึ้นในรูปใด ๆ ก็ได้ การปลอมเอกสารจึงไม่ต้องมีเอกสารที่แท้จริงอยู่ก่อน
จำเลยปลอมหนังสือลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคำรับรองความเห็นชอบของกำนันโดยลงลายมือชื่อปลอมบุคคลทั้งสองในหนังสือลาออก กับปลอมหนังสือขอแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของกำนันลงในเอกสารเพื่อแสดงว่าจำเลยได้ร่วมกับกำนันพิจารณาคัดเลือกและจัดทำหนังสือขอแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเสนอต่อนายอำเภอตามระเบียบ เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดจำนองติดไป ผู้รับโอนทรัพย์สินมีหน้าที่ไถ่ถอนจำนอง ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองมีทั้งการขายโดยปลอดจำนอง และการขายโดยจำนองติดไป หากเป็นการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง เจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ส่วนการขายทอดตลาดโดยจำนองติดไป ผู้รับจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง โดยบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 735 เมื่อจำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองโดยการซื้อทรัพย์สินที่จำนองจากการขายทอดตลาด มิใช่คู่สัญญาตามสัญญาจำนอง จำเลยจึงเป็นบุคคลภายนอก ย่อมไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ยอมให้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์สินที่จำนอง แม้โจทก์ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง แต่จำเลยผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองก็มีหน้าที่เพียงปลดเปลื้องภาระจำนองด้วยการไถ่ถอนจำนอง ตามบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 12 หมวด 5 แห่ง ป.พ.พ. เท่านั้น ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแก่โจทก์ และหากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองได้เงินสุทธิไม่พอ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดแก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้น: คำสั่งศาลที่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้วินิจฉัยข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 เนื่องจากจำเลยที่ 3 มิใช่บุคคลหรือนิติบุคคล ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ขอ จึงไม่เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 และถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น และผลของคำอนุญาตฎีกาจากผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และในกรณีนี้ ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คำอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกกับเจตนาทำร้ายร่างกายเป็นคนละกรรม การกระทำจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยมิได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ทันทีที่บุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายที่ 2 หลังจากที่จำเลยถามหาผู้เสียหายที่ 1 แล้วผู้เสียหายที่ 2 ตอบว่าผู้เสียหายที่ 1 ไปธุระนอกบ้าน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 เจตนาที่จะบุกรุกบ้านของผู้เสียหายที่ 1 กับเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 จึงแยกจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกกับเจตนาทำร้ายร่างกายเป็นคนละกรรม การกระทำจึงเป็นความผิดสองกระทง
จำเลยมิได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ทันทีที่บุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 หลังจากที่จำเลยถามหาผู้เสียหายที่ 1 แล้วผู้เสียหายที่ 2 ตอบว่าผู้เสียหายที่ 1 ไปธุระนอกบ้าน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 เจตนาที่จะบุกรุกบ้านของผู้เสียหายที่ 1 กับเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 จึงแยกจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: การกลับสู่อำนาจเดิมของมารดาเมื่อบิดาถึงแก่กรรม
ผู้เยาว์เป็นบุตรของ ว. กับผู้คัดค้าน ต่อมา ว. หย่ากับผู้คัดค้านโดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของ ว. บิดา ว. จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญาดังกล่าวซึ่งสามารถใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (6) และมิใช่เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาลและจะต้องมีเหตุตามมาตรา 1582 ดังนั้น เมื่อ ว. ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง (1) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง อันจะทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นป้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามมาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1586 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังการหย่า: การกลับสู่อำนาจเดิมของมารดาเมื่อบิดาเสียชีวิต
ผู้เยาว์เป็นบุตรของ ว. กับผู้คัดค้าน ต่อมา ว. หย่ากับผู้คัดค้านโดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของ ว. ซึ่งเป็นบิดา ว. จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญาดังกล่าวซึ่งสามารถใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (6) และมิใช่เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาลและจะต้องมีเหตุตามมาตรา 1582 ดังนั้น เมื่อ ว. ผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ผู้เดียวตามที่ตกลงกันขณะที่จดทะเบียนหย่าถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง (1) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง อันจะทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นป้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามมาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1586 วรรคหนึ่ง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกเมื่อผู้รับมรดกถึงแก่กรรมก่อน: สิทธิผู้สืบสันดานและผู้จัดการมรดก
ผู้ตายไม่มีบุตรและภริยา บิดามารดาของผู้ตายก็ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมถึง ล. ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) เมื่อ ล. ถึงแก่กรรมโดยยังมิได้รับส่วนแบ่งมรดก ทรัพย์มรดกส่วนที่ ล. จะได้รับจึงตกแก่ ป. ผู้สืบสันดาน แต่ ป. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ทรัพย์มรดกส่วนที่ ป. จะได้รับจึงตกแก่ผู้ร้องและ ฉ. ผู้สืบสันดานซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ป. ตามมาตรา 1639 ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดกมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (2) เมื่อผู้ร้องและ ฉ. มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับพี่ของ ป. แต่ไม่ได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายหรือยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ทั้งๆ ที่ผู้ตายถึงแก่กรรมไปก่อนยื่นคำร้องถึง 15 ปี ประกอบกับ ฉ. ก็มิได้ยื่นคำคัดค้านผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามมาตรา 1711
of 10