พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกเมื่อมีผู้รับมรดกหลายทายาทเสียชีวิตก่อนได้รับส่วนแบ่ง และสิทธิของผู้จัดการมรดก
ผู้ตายไม่มีบุตรและภริยา บิดามารดาของผู้ตายก็ถึงแก่กรรมไปหมดแล้วทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งรวมถึง ล. ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) เมื่อ ล. ถึงแก่กรรมภายหลังโดยยังไม่ได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกส่วนที่ ล. จะได้รับก็ตกแก่ ป. ผู้สืบสันดาน แต่ปรากฏว่า ป. ถึงแก่กรรมไปก่อน ล. แล้ว ทรัพย์มรดกส่วนที่ ป. จะได้รับก็ตกแก่ผู้ร้องและ ฉ. ผู้สืบสันดานซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ป. ตามมาตรา 1639 ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดกและเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกเมื่อผู้รับมรดกถึงแก่กรรมก่อน: สิทธิผู้สืบสันดานและผู้จัดการมรดก
ผู้ตายไม่มีบุตรและภริยา บิดามารดาของผู้ตายก็ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมถึง ล. ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) เมื่อ ล. ถึงแก่กรรมโดยยังมิได้รับส่วนแบ่งมรดก ทรัพย์มรดกส่วนที่ ล. จะได้รับจึงตกแก่ ป. ผู้สืบสันดาน แต่ ป. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ทรัพย์มรดกส่วนที่ ป. จะได้รับจึงตกแก่ผู้ร้องและ ฉ. ผู้สืบสันดานซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ป. ตามมาตรา 1639 ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดกมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (2) เมื่อผู้ร้องและ ฉ. มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับพี่ของ ป. แต่ไม่ได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายหรือยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ทั้งๆ ที่ผู้ตายถึงแก่กรรมไปก่อนยื่นคำร้องถึง 15 ปี ประกอบกับ ฉ. ก็มิได้ยื่นคำคัดค้านผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามมาตรา 1711
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีผลผูกพันทายาทอื่น & การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสาม จำเลย และ ล. เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก การที่ ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามไม่ได้ให้ความยินยอมทั้งไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม ทั้งกรณีดังกล่าวถือว่า ล. และจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดก การสละมรดก และสิทธิของทายาทอื่น
ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง และเงินสดจำนวน 200,000 บาท ที่ ล. แบ่งให้จำเลยเป็นทรัพย์มรดกของ ก. โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมเช่นเดียวกับจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะได้รับมรดกดังกล่าวด้วย การที่ ล. ฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งแล้ว ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอม เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม ดังนั้น เมื่อจำเลยและ ล. แบ่งปันทรัพย์มรดกโดยไม่แบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งมีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โจทก์ทั้งสามย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ ตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนอกสมรสของ ช. โดย ช. ไม่ได้จดทะเบียนรับรองโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนั้น จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนั้น จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมของ ช. เจ้ามรดก จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่าการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นของ ก. ให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดกและจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่นๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก เมื่อ ก. มี ล. เป็นคู่สมรส ล. ย่อมมีสิทธิได้รับทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งตามมาตรา 1635 (2) อีกกึ่งหนึ่งคงตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยคนละส่วนเท่าๆ กัน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนอกสมรสของ ช. โดย ช. ไม่ได้จดทะเบียนรับรองโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนั้น จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนั้น จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมของ ช. เจ้ามรดก จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่าการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นของ ก. ให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดกและจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่นๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก เมื่อ ก. มี ล. เป็นคู่สมรส ล. ย่อมมีสิทธิได้รับทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งตามมาตรา 1635 (2) อีกกึ่งหนึ่งคงตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยคนละส่วนเท่าๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
การที่ ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมทั้งไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ทั้งกรณีดังกล่าวถือว่า ล. และจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาการรอการลงโทษจำคุกของผู้เคยต้องโทษคดีอื่นก่อนได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 189/2541 ของศาลชั้นต้น รวมเป็นจำคุก 3 ปี 6 เดือน ในความผิดต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 451/2543 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 คดีถึงที่สุดแล้วซึ่งในคดีดังกล่าวจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 อันเป็นวันภายหลังวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีฯ จำเลยจึงเป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 ที่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา และแก้ไขโทษฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้น ไม่ชอบแต่อย่างไร แต่จำเลยกลับยกข้อเท็จจริงทำนองเดียวกับที่เคยยกขึ้นกล่าวในศาลอุทธรณ์ขึ้นฎีกาซ้ำอีก จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาและถือไม่ได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยขับรถชนผู้ตายแล้วหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร การหลบหนีของจำเลยไม่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เนื่องจากผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะถูกรถชนไปก่อนแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง แต่มีความผิดตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง
จำเลยขับรถชนผู้ตายแล้วหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร การหลบหนีของจำเลยไม่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เนื่องจากผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะถูกรถชนไปก่อนแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง แต่มีความผิดตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: จำเลยซื้อทรัพย์ในราคาต่ำกว่าตลาดโดยไม่ตรวจสอบ ย่อมมีความผิดฐานรับของโจร แม้ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ครบ
แม้ขณะที่ ก. กับ จ. เอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจะไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เนื่องจากได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย แต่ ก. กับ จ. มีหน้าที่ต้องนำรถจักรยานยนต์มาคืนผู้เสียหาย การที่ ก. กับ จ. ไม่นำมาคืน ผู้เสียหาย กลับนำไปขายให้แก่จำเลยทั้งที่ไม่ใช่ของตน ถือได้ว่า ก. กับ จ. มีเจตนาเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก เมื่อจำเลยรับซื้อไว้ในราคาเพียง 800 บาท ต่ำกว่าราคาแท้จริง 7,000 บาท มาก โดยไม่ประสงค์ตรวจสอบเสียก่อนว่าคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ก. กับ จ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ ย่อมเป็นการผิดวิสัยของบุคคลโดยทั่วไป เชื่อว่าจำเลยรับซื้อไว้โดยรู้อยู่แล้วว่ารถจักรยานยนต์ที่ ก. กับ จ. นำมาขายได้มาจากการกระทำความผิดอาญาฐานยักยอก ดังนั้น ไม่ว่าการที่ ก. กับ จ. ได้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอก การกระทำของจำเลยถือว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก แล้ว
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายเพียงว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมิได้บรรยายถึงความผิดฐานยักยอกด้วย แต่ข้อเท็จจริงได้ความจากทางพิจารณาว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานยักยอกแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสามได้
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายเพียงว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมิได้บรรยายถึงความผิดฐานยักยอกด้วย แต่ข้อเท็จจริงได้ความจากทางพิจารณาว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานยักยอกแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้มีการแก้ไขเล็กน้อย ไม่กระทบสาระสำคัญ และการขีดฆ่าคำบางส่วนไม่มีผลทำให้เป็นโมฆะ
การขีดฆ่า คำว่า "ดังนี้" ในพินัยกรรมออกไปเพราะเป็นการพิมพ์ข้อความตกไปแล้วพิมพ์ใหม่เป็นว่า "ให้มีผลเมื่อข้าพเจ้าตายแล้วดังนี้" การขีดฆ่าคำว่า "ดังนี้" ไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อความในพินัยกรรม เพราะแม้ไม่มีการขีดฆ่าคำดังกล่าวและไม่พิมพ์ข้อความใหม่ข้อความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้นก็ระบุชัดเจนว่าเป็นใบมอบทรัพย์สิน (มรดก) ให้แก่จำเลยผู้รับมรดกเพียงผู้เดียว การรับมรดกย่อมจะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายอยู่แล้ว ส่วนการขีดฆ่าคำว่า "ผู้รับมอบ" แล้วพิมพ์ข้อความใหม่เป็นว่า "พยาน" ก็เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงว่า จ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำพินัยกรรมมิใช่เป็นผู้รับมอบ การแก้ไขดังกล่าวมิใช่เป็นการตก เติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมที่ต้องมีการลงลายมือชื่อกำกับ ทั้งเป็นการแก้ไขก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความประมาทเลินเล่อและการขาดอายุความของคดีอาญา ส่งผลต่อการพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225