พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความประมาทเลินเล่อและการขาดอายุความของคดีอาญา ส่งผลต่อการพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
ฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถ และไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ และขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาทพุ่งเข้าชนรถจักรยานยนต์ที่ ช. ขับ และพุ่งเข้าชนกำแพงรั้วบริษัท ท. เป็นเหตุให้นาย ช. ได้รับอันตรายสาหัส และนางสาว ต. ซึ่งนั่งโดยสารมาในรถที่จำเลยขับถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291, 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157, 160 พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 42, 66 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 7, 37 แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย บ. บิดานาย ช. ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใด แต่ก็พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย บ. เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 เท่านั้น และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ลดโทษและไม่รอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและพิพากษาจำคุกจำเลยมานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อโจทก์ร่วมต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้อน/ซ้ำ ผู้จัดการมรดก: เหตุผลต่างกัน ไม่ถือว่าเป็นการรื้อฟ้องซ้ำ
คดีก่อนผู้คัดค้านเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องที่ 5 เป็นผู้คัดค้านและขอให้เป็นผู้จัดการมรดกเช่นกัน ศาลชั้นต้นยกคำร้องและคำคัดค้าน มีเพียงผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีก่อนอุทธรณ์ ส่วนผู้ร้องที่ 5 ซึ่งเป็นผู้คัดค้านในคดีนั้นไม่อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดสำหรับผู้ร้องที่ 5 แล้ว การที่ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ในคดีนี้จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง
คดีก่อนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งศาลชั้นต้นยกคำร้องขอและคำคัดค้านโดยให้เหตุผลว่าผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการตามพินัยกรรมไว้แล้วจึงไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้จัดการมรดกอีก แต่คดีนี้ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมและตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 2 คน แต่การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องเพราะผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่กรรมและผู้จัดการอีกคนหนึ่งไม่ประสงค์จะจัดการมรดก เหตุที่อ้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนอันเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นคำร้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง สำหรับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ได้เป็นคู่ความกับผู้คัดค้านในคดีก่อน กรณีจึงมิใช่คู่ความรายเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 5 จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนและคำร้องซ้ำกับคดีดังกล่าวเช่นกัน
คดีก่อนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งศาลชั้นต้นยกคำร้องขอและคำคัดค้านโดยให้เหตุผลว่าผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการตามพินัยกรรมไว้แล้วจึงไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้จัดการมรดกอีก แต่คดีนี้ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมและตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 2 คน แต่การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องเพราะผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่กรรมและผู้จัดการอีกคนหนึ่งไม่ประสงค์จะจัดการมรดก เหตุที่อ้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนอันเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นคำร้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง สำหรับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ได้เป็นคู่ความกับผู้คัดค้านในคดีก่อน กรณีจึงมิใช่คู่ความรายเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 5 จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนและคำร้องซ้ำกับคดีดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้ำ/ซ้อน ผู้จัดการมรดก: เหตุผลต่างกัน ไม่เป็นการรื้อฟ้องเดิม
คดีก่อนมีเพียงรู้ผู้ร้องที่ 5 เท่านั้น ที่เป็นคู่ความกับผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องที่ 5 เป็นผู้คัดค้านและขอเป็นผู้จัดการมรดกเช่นกัน ปรากฏว่าคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยกคำร้องและคำคัดค้าน มีเพียงผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีก่อนอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนจึงถึงที่สุดสำหรับผู้ร้องที่ 5 แล้ว การที่ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ในคดีนี้ จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง
คดีก่อนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผู้ตายอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลชั้นต้นยกคำร้องและคำคัดค้านให้เหตุผลว่าผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้แล้ว ไม่มีเหตุจะตั้งผู้จัดการมรดกอีก คดีนี้ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 2 คน แต่การจัดการมรดกมีข้อขัดข้องเพราะผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่กรรมและอีกคนหนึ่งไม่ประสงค์จะจัดการมรดก เหตุที่อ้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนอันเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นคำร้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ได้เป็นคู่ความกับผู้คัดค้านในคดีก่อนจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ยื่นเข้ามาร่วมกับผู้ร้องที่ 5 จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนและคำร้องซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผู้ตายอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลชั้นต้นยกคำร้องและคำคัดค้านให้เหตุผลว่าผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้แล้ว ไม่มีเหตุจะตั้งผู้จัดการมรดกอีก คดีนี้ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 2 คน แต่การจัดการมรดกมีข้อขัดข้องเพราะผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่กรรมและอีกคนหนึ่งไม่ประสงค์จะจัดการมรดก เหตุที่อ้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนอันเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นคำร้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ได้เป็นคู่ความกับผู้คัดค้านในคดีก่อนจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ยื่นเข้ามาร่วมกับผู้ร้องที่ 5 จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนและคำร้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเงินกู้ ธนาคารพาณิชย์ การคิดดอกเบี้ยโมฆะ
โจทก์จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกันวันที่ 13 มกราคม 2535 ส่วนประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2535 จึงไม่ใช่ประกาศที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใดที่ให้สิทธิโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์จะเป็นธนาคารพาณิชย์มิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินโดยไม่ปรากฏว่ามีประกาศของโจทก์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงเป็นปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีในสัญญากู้ยืมเงินจึงตกเป็นโมฆะ
เงินที่จำเลยได้ชำระมาและโจทก์นำไปหักดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงเป็นต้นเงินตามรายการในการ์ดบัญชี เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุโมฆะแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแล้วไปหักดอกเบี้ยได้ จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาจึงต้องนำไปหักต้นเงินอย่างเดียว และไม่เป็นการชำระดอกเบี้ยอันไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืน
เงินที่จำเลยได้ชำระมาและโจทก์นำไปหักดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงเป็นต้นเงินตามรายการในการ์ดบัญชี เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุโมฆะแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแล้วไปหักดอกเบี้ยได้ จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาจึงต้องนำไปหักต้นเงินอย่างเดียว และไม่เป็นการชำระดอกเบี้ยอันไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การแก้ไขข้อบกพร่องในหนังสือมอบอำนาจก่อนจำเลยให้การ และผลของการแก้ไข
แม้สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่แนบมาพร้อมคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องจำเลยเรื่องตั๋วเงิน ซึ่งไม่ตรงกับที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงการชำระหนี้ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นการระบุข้อหาผิดพลาดซึ่งถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยไม่ถึงกับทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป ทั้งโจทก์ได้ขอแก้ไขคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การว่า สำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าวนั้นพิมพ์ผิดพลาด และขอส่งฉบับที่ถูกต้องแทนซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาต จึงถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจฟ้องแล้วและมีผลเสมือนสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่นี้เป็นเอกสารที่โจทก์ได้แนบมาพร้อมคำฟ้องตั้งแต่ต้น จึงถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านที่ได้รับการรับรอง และการพิสูจน์บุคคลตามชื่อในสัญญา
สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งมีนายทะเบียนอำเภอรับรองถูกต้อง ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง กรณีจึงไม่จำเป็นต้องนำพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับรองสำเนานั้นมาเป็นพยานเบิกความรับรองอีก และแม้โจทก์เพิ่งส่งต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ส่งเป็นพยานหลักฐานต่อศาล จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดบริษัทเพื่อหลอกลวงทำสัญญา และความผิดสัญญาพัฒนาที่ดิน
ในวันที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัตนาที่ดินกับจำเลย จำเลยได้จัดการให้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างรั้วกับบริษัท ค. โดยทำที่สำนักงานของจำเลย ซึ่งสัญญาทั้งหมดมี พ. ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าของจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้จะขายและผู้รับจ้างทั้งสองสัญญา นอกจากนี้จำเลยและบริษัท ค. มีกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นบุคคลชุดเดียวกัน และในการทำสัญญาจองที่ดินก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทำสัญญาก่อสร้างรั้วกับบริษัท ค. โจทก์เพิ่งรู้จักชื่อบริษัท ค. ในวันเดียวกับวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินกับจำเลย ดังนั้น โจทก์และลูกค้ารายอื่นย่อมีเหตุผลเชื่อว่า จำเลยและบริษัท ค. ได้ร่วมประกอบธุรกิจหาผลประโยชน์ในกิจการเดียวกัน ฟังได้ว่า จำเลยได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญว่าจ้างก่อสร้างรั้ว โจทก์จึงหลงผิดเข้าทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างรั้วโดยเชื่อว่าบริษัท ค. ร่วมประกอบธุรกิจกับจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
สัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ชำระค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่พัฒนาที่ดินโดยการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา ถึงแม้สัญญาจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าจำเลยจะดำเนินการให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย โจทก์ชำระค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 499,900 บาท และนับแต่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอคืนเงินมัดจำเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 เป็นเวลา 2 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จ ทั้งๆ ที่จำเลยโฆษณาไว้ว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 ถือว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ชำระค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่พัฒนาที่ดินโดยการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา ถึงแม้สัญญาจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าจำเลยจะดำเนินการให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย โจทก์ชำระค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 499,900 บาท และนับแต่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอคืนเงินมัดจำเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 เป็นเวลา 2 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จ ทั้งๆ ที่จำเลยโฆษณาไว้ว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 ถือว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์โดยปริยายจากการปล่อยให้บุตรใช้รถเป็นเวลานาน โดยศาลพิจารณาเจตนาการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
การที่ผู้ร้องมิได้ทักท้วงในกรณีที่ผู้ขายใส่ชื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง และปล่อยให้จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางจนถึงวันเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลานานถึงประมาณ 11 เดือน โดยในระหว่างนั้นจำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางขับไปเรียนหนังสือนั้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะยกรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เป็นยานพาหนะในการไปศึกษาเล่าเรียน อันถือได้ว่าเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลยกฟ้องคดีที่ประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ที่ 1 กับ ม. เป็นโจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 ม. และ ป. แต่ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับโจทก์ที่ 1 และ ม. ได้ไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นชื่อของ จ. โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าได้มาโดยการรับมรดกจากบิดามารดา เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท หากเพิกถอนไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองและเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ จ. โดย ป. ยกให้ ต่อมา จ. ขายให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนเนื่องจากจำเลยที่ 2 ชำระราคาไม่ครบถ้วน หลังจาก จ. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จ. โดย ป. ยกให้ เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทตกได้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาท จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ คดีถึงที่สุดแล้วผลของคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความคือโจทก์ที่ 1 และ ม. รวมทั้งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ในฐานะทายาทโดยธรรมมิให้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้อีกก็เพื่อต้องการให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันอีกครั้งหนึ่ง ถือว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 วรรคหนึ่ง