พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอุทธรณ์เฉพาะคำสั่ง
แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ โดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอของจำเลย ก็ย่อมมีผลกระทบต่อคดีทั้งคดี เนื่องจาก ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ดังนั้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งคำร้องของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านสร้างเสร็จ: หน้าที่ของผู้ขายและการบอกเลิกสัญญาเมื่อผิดนัด
แม้สัญญาจะซื้อจะขายจะไม่มีข้อตกลงว่าจำเลยจะสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดก็ตาม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์ได้ชำระเงินค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่ปลูกสร้างบ้านและส่งมอบให้โจทก์ตามสัญญา ทั้งไม่ใช่ว่าจำเลยจะสร้างบ้านให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย คดีนี้โจทก์ชำระเงินเฉพาะค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 630,000 บาท โดยงวดหลังสุดชำระเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 แต่นับจากวันทำสัญญาคือวันที่ 15 มิถุนายน 2539 เป็นต้นมา กระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญา และจนถึงปัจจุบันจำเลยก็ยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างบ้านให้โจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ชี้แจงหรือโต้แย้งใดๆ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือว่าจำเลยผิดสัญญาและจำเลยไม่มีเจตนาชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องให้โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการอีก ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่จำเลยไม่สามารถป้องกันได้ การเดินทางไปทำธุระแล้วรถเสียไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หมายความว่ามีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่สามารถป้องกันได้และทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ แต่เมื่อทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบดีอยู่แล้วมีหน้าที่ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 18 มีนาคม 2547 ตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา หากทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำอุทธรณ์เสร็จแล้วก็น่าจะดำเนินการยื่นอุทธรณ์หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะเดินทางไปทำกิจธุระที่ต่างจังหวัด การที่ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ดำเนินการดังกล่าว แต่กลับเดินทางไปปฏิบัติภารกิจอื่นที่ต่างจังหวัดในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์และกลับมายื่นอุทธรณ์ไม่ทันเนื่องจากรถยนต์ที่ใช้เดินทางเสีย จึงเป็นความผิดหรือความบกพร่องของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 เอง กรณีถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้อุทธรณ์วางค่าธรรมเนียม ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขก่อนส่งอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นการไม่รับอุทธรณ์
การนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ที่จะต้องนำเงินมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์โดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยทั้งสองนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ จำเลยทั้งสองจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานและการวางค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ป.วิ.พ.
จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อไป ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้ เท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้สืบพยานต่อไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ โจทก์ฟ้องได้ที่ศาลในเขตนั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคลโจทก์จึงมีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์จากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ/สัญญาการใชบริการวิทยุคมนาคมดังกล่าวมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติเมื่ออนุมัติแล้วสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ จำเลยจึงจะใช้บริการตามคำขอที่ยื่นไว้ได้ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานใหญ่ถือได้ว่าเป้นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลย แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทนุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์จากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ/สัญญาการใชบริการวิทยุคมนาคมดังกล่าวมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติเมื่ออนุมัติแล้วสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ จำเลยจึงจะใช้บริการตามคำขอที่ยื่นไว้ได้ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานใหญ่ถือได้ว่าเป้นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลย แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทนุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกิดสัญญาบริการวิทยุคมนาคมจากการเปิดสัญญาณ แม้ไม่มีการบอกกล่าวสนองรับโดยตรง และเขตอำนาจศาล
สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์สนองรับคำเสนออันได้แก่คำขอใช้บริการที่จำเลยได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ด้วยการเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมให้จำเลยใช้บริการที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ การพิจารณาอนุมัติคำขอและเปิดสัญญาคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นขอใช้บริการ แม้จะเป็นการแสดงเจตนาต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมกระทำกันในลักษณะนี้โดยไม่จำต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปยังจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอบังคับชำระหนี้จากสัญญาดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ จึงถือเป็นเขตอำนาจศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการจากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ / สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยกรอกข้อความแล้วยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำคำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติคำขอและเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นขอใช้บริการ แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็เป็นตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคม การกระทำในลักษณะนี้ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก ดังนั้น สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (6) และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินริบจำกัดเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้น ผู้ใช้รถยนต์ในการกระทำผิดไม่ถือเป็นเจ้าของ
ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบ เมื่อรถยนต์กระบะซึ่งถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งริบเป็นทรัพย์สินของบิดามารดาของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินริบในคดียาเสพติดสงวนเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีสิทธิ
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบ ดังนั้น เมื่อรถยนต์กระบะซึ่งถูกเจ้าพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งริบเป็นทรัพย์สินของบิดามารดาของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านซึ่งมิใช่เจ้าของทรัพย์สินจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง