พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยมีเจตนาฉ้อฉลทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ สิทธิในการเพิกถอนนิติกรรม
สิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิที่ตกติดไปกับตัวทรัพย์ที่จำนอง และจะระงับสิ้นไปด้วยเหตุ 6 ประการ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทที่ซื้อจากผู้ตายไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ก.ก่อนที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลและหากฟังได้ว่าธนาคาร ก. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทไว้โดยสุจริตแล้วเช่นนี้สัญญาจำนองย่อมจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและไม่ระงับสิ้นไปแม้จะมีคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 2ก็ตาม คำขอของโจทก์ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ตายจึงไม่กระทบถึงสิทธิของธนาคาร ก. ผู้รับจำนองและมีผลบังคับได้ แม้ราคาประเมินของที่ดินและบ้านรวมเป็นเงินทั้งสิ้น450,000 บาท ผู้ตายมีกรรมสิทธิ์ 1 ใน 4 ส่วน คิดเป็นเงิน112,500 บาท ก็ตาม แต่เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินซึ่งผู้ตายมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับญาติพี่น้องของผู้ตายรวม 4 คน ดังนั้นการที่ผู้ตายจะขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่บุคคลภายนอกย่อมทำได้ยากและได้ราคาต่ำ เมื่อผู้ตายกำลังเดือดร้อนเพราะถูกธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้ ประกอบกับเป็นการขายให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายด้วยเช่นนี้ แม้จะขายในราคาเพียง 50,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริงไปบ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นที่ว่าเป็นการร่วมกันฉ้อฉลอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: นิติสัมพันธ์และสิทธิของเจ้าหนี้
ต.ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทและทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2แต่ต่อมาต.ให้จำเลยร่วมที่1โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่2และจำเลยร่วมที่2โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยรู้อยู่แล้วว่าต.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2ก็ตามแต่จำเลยร่วมที่1ไม่ใช่ลูกหนี้ของจำเลยที่2เพราะจำเลยร่วมที่1ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยที่2ฉะนั้นการที่จำเลยร่วมที่1โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่2จำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237วรรคแรกได้ ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่2จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยร่วมที่1จำเลยที่2จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่1ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่2ได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300จำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยร่วมที่2ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินและสิทธิในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม เมื่อไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างลูกหนี้กับผู้รับประโยชน์
ต.ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท และทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่ต่อมา ต.ให้จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่า ต.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ก็ตาม แต่จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ใช่ลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 2 ฉะนั้นการที่จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 วรรคแรกได้
ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่ 1 ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ได้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ได้
ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่ 1 ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ได้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยสุจริตของผู้ได้ลาภงอก และการต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับทนายความซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานที่แก้ต่างคดีให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ในคดีเดิมก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 มีอาชีพค้าขายอยู่คนละอำเภอกับสำนักงานทนายความดังกล่าวและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 3ได้เกี่ยวข้องกับสำนักงานทนายความดังกล่าวนั้นแต่อย่างใด ทั้งการซื้อขายที่ดินก็ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ซื้อจากจำเลยที่ 1 จำนวน 5 แปลงเป็นของภริยาจำเลยที่ 1 จำนวน 4 แปลง และเป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน1 แปลง เหตุผลในการที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินก็เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนองและซื้อข้าวเปลือก ยิ่งกว่านั้นในวันซื้อขายที่ดินจำเลยที่ 1ก็ได้นำจำเลยที่ 2 ไปขอกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 3 ด้วย โดยเสนอเอาที่ดินจำนองเป็นประกัน เพื่อจะนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายส่งญาติพี่น้องของจำเลยที่ 2 ไปทำงานในต่างประเทศ แต่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมรับจำนองคงรับซื้อไว้ จึงได้ทำการซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 และที่ 2พร้อมกันในวันเดียวกัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 3ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคแรก นอกจากจำเลยที่ 3 จะให้การว่า ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และที่ 2 ตามคำฟ้องของโจทก์โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนในราคาอันเป็นธรรมแล้วยังให้การด้วยว่าได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเปิดเผย และจำเลยที่ 3 ไม่เคยทราบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องคดีด้วย ตามคำให้การของจำเลยที่ 3ดังกล่าว พอสรุปได้ว่า จำเลยที่ 3 ให้การต่อสู้เป็นประเด็นว่าขณะทำนิติกรรมซื้อที่ดินพิพาทตามฟ้องกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้น มิได้รู้เท่ากับข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบซึ่งเป็นประเด็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237จึงเป็นการให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้วจำเลยที่ 3 จึงมีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นข้อนี้ได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำให้การไม่