คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม เวชศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ จำเลยต้องพิสูจน์สิทธิเหนือกว่าโจทก์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเพียงข้อเดียวว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงเหตุที่โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุมไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่นไม่ได้วินิจฉัยให้ โจทก์ฎีกากล่าวถึงแต่ความเป็นมาของการครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่งตกทอดมาถึงโจทก์ได้อย่างไร จำเลยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เพราะเหตุใด มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายโดยบันดาลโทสะ: ศาลฎีกาแก้ไขโทษลดลงจากเจตนาฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยเป็นพี่ชายของผู้ตาย ถูกผู้ตายซึ่งมึนเมาสุรามาหาเรื่องและทำร้ายชกต่อยจำเลย แม้จำเลยหนีลงจากบ้านไปแล้ว ผู้ตายยังติดตามจำเลยลงไปอย่างกระชั้นชิดและทำร้ายจำเลยอีก เป็นเหตุให้จำเลยเกิดบันดาลโทสะจึงได้หยิบฉวยไม้ด้ามเสียมซึ่งวางอยู่ที่พื้นดิน บริเวณหน้าบ้านนางโปยใกล้ที่เกิดเหตุตีไปที่ผู้ตาย 2 ถึง 3 ครั้ง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำอย่างกระทันหันฉุกละหุก โดยจำเลยไม่มีโอกาสเลือกอาวุธ ทั้งไม่ได้เลือกตีบริเวณส่วนใดของ ร่างกายผู้ตาย เป็นการตีโดยไม่อาจทราบว่าจะถูกอวัยวะส่วนใดของผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าและเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะเพราะถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงเหตุอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐาน ทำร้ายร่างกายผู้ตายจนถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมีโฉนด ไม่เข้าข่ายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับจากวันที่โจทก์ทราบว่าจำเลยทั้งสองเข้าปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาท ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 แต่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ มิใช่ที่ดินมือเปล่าที่มีแต่สิทธิครอบครอง จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1375 มาใช้บังคับได้ อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองไม่อาจทำให้จำเลยทั้งสองชนะคดีได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการถอนผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุตามกฎหมาย การโต้แย้งสิทธิทรัพย์มรดกไม่ใช่เหตุ
การที่โจทก์อ้างว่าเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. เจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการถอนผู้จัดการมรดก ต้องมีเหตุละเลยหน้าที่หรือเหตุอื่นสมควร การโต้แย้งสิทธิเป็นคนละเรื่อง
การที่โจทก์อ้างว่าเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. เจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็นซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้น ทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์หลังวันหยุดราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งรับอุทธรณ์
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรี วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย ศาลจังหวัดยะลาจึงปิดทำการ จำเลยจึงมิอาจยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวได้ และมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ยื่นหลังวันขยายเวลา แต่เป็นวันหยุดราชการในพื้นที่
คดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดยะลาซึ่งมีคำสั่งขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2544 แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 17 ธันวาคม 2544 แต่เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรีของผู้นับถือศาสนาอิสลามซึ่งเป็นวันหยุดทำการในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางราชการจึงประกาศให้วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาคัดค้านข้อเท็จจริงนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์หลังวันหยุดราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าชอบด้วยกฎหมาย
ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือของศาลจังหวัดยะลาที่แนบท้ายคำร้องของจำเลยทั้งสองระบุว่า วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรี วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาคัดค้าน ดังนั้น วันที่ 17 ธันวาคม 2544 ศาลชั้นต้นปิดทำการ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวได้และต้องยื่นอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก สอดคล้องกับคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรก เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 ธันวาคม 2544 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียจากการถือกรรมสิทธิ์รวม แม้ไม่เป็นทายาทโดยธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าผู้ร้องไม่เหมาะสม ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและมีเหตุสมควรที่จะตั้งเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ปัญหาที่ว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมที่แท้จริงในที่ดินอันเป็นมูลจัดการมรดกจึงเป็นเรื่องนอกประเด็น
ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ใช่บุตรของผู้ตาย ผู้ตายมิได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย แต่เนื่องจากผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ตายในที่ดินถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้ส่วนผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิคัดค้านการจัดตั้งผู้จัดการมรดก ทั้งไม่มีสิทธิขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1713 ให้มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการมรดกเฉพาะในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องในที่ดินดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินจัดสรรช่วงห้ามโอน และสิทธิจำนองของผู้รับจำนองสุจริต
จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีแทนตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจของจำเลยที่ 2 มิใช่ใบมอบอำนาจ ที่แท้จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 ศาลจึงรับฟังตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ว่า พ. มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2
โจทก์ และ ส. บิดาจำเลยที่ 1 ต่างเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยที่ 2 ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 และนำหนังสืออนุญาตให้ ส. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทประเภท กสน. 5 ไปขอออก น.ส. 3 ก. แล้วทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 ได้รับ น.ส. 3 ก. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินจัดสรรของนิคมสหกรณ์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน แม้โจทก์จะเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ก็ถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 เจ้าของที่ดินพิพาท ทั้งจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
of 5